๖. พระราชนิยมเรื่องสร้างโรงเรียนแทนวัด
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นเป็นประดุจพระอารามหลวงประจำรัชกาลเนื่องในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาครั้งแรกในรัชกาลแล้ว
ต่อมาในการปลงศพ ปั้น อุปการโกษากร
ภรรยาของหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย)
ผู้เป็นธิดาของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ
สงขลา) และท่านผู้หญิงสุทธิ์ วิเชียรคีรี ณ
วัดเทพศิรินทราวาสเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
ทายาทของปั้นได้
 |
นางอุปการโกษากร (ปั้น วัชราภัย) |
...ตกลงกันเห็นว่า
สถานที่ศึกษาเปนสิ่งสำคัญอันเปนประโยชน์ให้กุลบุตร์ได้อาศรัยเล่าเรียน
ซึ่งเปนเวลาต้องการของบ้านเมืองด้วย
และเมื่อปั้นยังมีชีวิตอยู่ได้เปนมรรคนายิกาวัดสุทธิวรารามตลอดมาจนถึงแก่กรรม
จึงคิดสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดนี้ ..เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ
ได้ใช้สถานที่นี้กระทำการฌาปนกิจศพปั้น
แต่เมื่อเดือนพฤษภาคมศกนี้แล้ว
แลได้มอบตึกหลังนี้แก่กรมศึกษาธิการใช้เปนสถานศึกษาตามที่เจตนาไว้
กรมศึกษาธิการได้รับแลเปิดใช้เปนโรงเรียนชั้นมัธยม
เรียกว่า โรงเรียนมัธยมพิเศษวัดสุทธิวราราม
รับนักเรียนเข้าเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม
รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ เปนต้นไป
บรรดาผู้ที่ออกทรัพย์ก่อสร้างโรงเรียนขอพระราชทานถวายพระราชกุศล
[๑] |
เมื่อกระทรวงธรรมการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลที่ทายาทของปั้น
อุปการโกษากร ได้ร่วมกันบำเพ็ญแล้ว
ยังได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้กระทรวงธรรมการเชิญกระแสพระราชดำริและพระราชนิยมว่าด้วย
เรื่อสร้างโรงเรียนแทนวัด
ออกประกาศให้มหาชนได้ทราบทั่วกัน ดังนี้
แต่ก่อนมาผู้ใดมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็มักจะสร้างวัดขึ้น
การสร้างวัดขึ้นใหม่เช่นนั้น
โดยมากก็คงอยู่ได้ชั่วคราว คือ
ชั่วอายุแลกำลังของบุคคลที่ปกครองรักษา
ถ้าขาดความทะนุบำรุงเมื่อใดวัดที่สร้างขึ้นไว้ก็รกร้างว่างเปล่าเปนป่าพง
อันเปนที่สลดใจแห่งพุทธศาสนิกชน ใช่แต่เท่านั้น
แม้วัดซึ่งยังเปนที่อาศรัยได้อยู่บ้าง
แต่ขาดความปกครองอันดี
ปล่อยให้ทรุดโทรมรกเรื้อเลวทราม
ก็กลับจะเปนซ่องที่อาศรัยแอบแฝงของผู้ประพฤติชั่ว
สถานที่ซึ่งตกอยู่ในลักษณะเช่นนี้กลับเปนทางชั่วร้าย
มิได้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ทั้งพุทธจักร์แลอาณาจักร์เลย
การที่พวกบุตร์ของปั้นได้มีน้ำใจศรัทธาบำเพ็ญกุศลโดยวิธีสร้างโรงเรียนอันเปนสิ่งต้องการในสมัยนี้ขึ้น
ให้เปนที่ศึกษาของประชาชน
นับว่าเปนการแผ่ผลให้เปนสาธารณประโยชน์ต่อไปเช่นนี้
ทรงพระราชดำริห์เห็นมั่นในพระราชหฤทัยว่าจะมีผลดีทั้งฝ่ายพระพุทธจักร์แลอาณาจักร์
จะเปนผลานิสงษ์อันงามจริง เปนอันพอพระราชหฤทัย
แลต้องด้วยพระราชนิยมยิ่งนัก
จึงทรงสรรเสริญแลทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลอันนี้
แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศพระราชนิยมอันนี้ให้ทราบทั่วกันว่า
ถ้าผู้ใดมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ประสงค์จะบำเพญกุศลให้เปนผลานิสงษ์อันดีจริงแล้ว
ก็ควรจะถือเอาการสร้างโรงเรียนว่าเปนการกุศลที่จะพึงกระทำอันหนึ่งได้
ถ้าหากมีความประสงค์ที่จะทำการอันใดซึ่งเปนทางสร้างวัด
ก็ควรที่จะช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่แล้ว
ให้ดีงามแลสืบอายุให้มั่นคงถาวรต่อไป
ดีกว่าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แล้วไม่รักษา
ปล่อยให้ทรุดโทรมเปนที่น่าสังเวช
อันเปนทางที่จะชักพาให้คนมีใจหมิ่นประมาทในพระพุทธศาสนากอบไปด้วยโทษดังกล่าวแล้วนั้น
[๒] |
ต่อจากนั้นมาได้มีผู้เจริญรอยพระยุคลบาทจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในหัวเมืองมณฑลต่างๆ
ทั่วพระราชอาณาจักร
และบางรายได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนามโรงเรียน
ก็ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนไว้ มีอาทิ
 |
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ มณฑลนครศรีธรรมราช |
เบญจมราชูทิศ
พระราชทานให้เป็นนามโรงเรียนประจำมณฑล ปราจิณบุรี
[๓], จันทบุรี, ราชบุรี, และปัตตานี
กับเป็นนามโรงเรียนประจำจังหวัดอุทัยธานี
[๔] มณฑลนครสวรรค์
และโรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
มณฑลนครศรีธรรมราช
โรงเรียนประจำมณฑลภูเก็ต พระราชทานนามว่า
ตัณฑวณิชวิทยาคม
[๕]
โรงเรียนสตรีประจำมณฑลปราจิณ พระราชทานนามว่า
ดัดดรุณี
โรงเรียนสตรีประจำมณฑลจันทบุรี พระราชทานนามว่า
ศรียานุสรณ์
โรงเรียนสตรีประจำมณฑลอุดร พระราชทานนามว่า
ราชินูทิศ
โรงเรียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน มณฑลพายัพ
พระราชทานนามว่า ห้องสอนศึกษา
โรงเรียนประจำจังหวัดน่าน มณฑลพายัพ
พระราชทานนามว่า สุริยานุเคราะห์
[๖]
โรงเรียนประจำจังหวัดลำพูน มณฑลพายัพ
พระราชทานนามว่า จักรคำคณาธร
โรงเรียนประจำจังหวัดแพร่ มณฑลพายัพ
พระราชทานนามว่า พิริยาลัย
โรงเรียนประจำจังหวัดหล่มสัก มณฑลเพชรบูรณ์
พระราชทานนามว่า ศักดิ์วิทยาคาร
[๗]
โรงเรียนประจำจังหวัดตรัง มณฑลภูเก็ต
พระราชทานนามว่า วิเชียรมาตุ
โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเพชรบุรี มณฑลราชบุรี
พระราชทานนามว่า เบญจมเทพอุทิศ
 |
โรงเรียนมุกดาลัย จังหวัดมุกดาหาร |
โรงเรียนประจำอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
มณฑลอุดร พระราชทานนามว่า มุกดาลัย
โรงเรียนประจำอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
มณฑลอุดร พระราชทานนามว่า อุเทนวิทยาคาร
โรงเรียนเบญจมราชาลัย มณฑลกรุงเทพฯ
โรงเรียนสายปัญญา มณฑลกรุงเทพฯ
โรงเรียนมหินทรศึกษาคาร จังหวัดนครปฐม
มณฑลนครไชยศรี
 |
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนปลูกปัญญา
มณฑลภูเก็ต
เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒ |
โรงเรียนสมัคพลผดุง จังหวัดนครปฐม มณฑลนครไชยศรี
โรงเรียนปลูกปัญญา จังหวัดภูเก็ต มณฑลภูเก็ต
โรงเรียนเพาะปัญญา จังหวัดตรัง มณฑลภูเก็ต