"ให้กรรมการจัดการและผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ชุดเดิมพ้นจากหน้าที่
และให้ตั้ง |
๑. นายกรัฐมนตรี
๒.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
๓. อธิบดีกรมพลศึกษา
๔. อธิบดีกรมศึกษาธิการ
๕. หลวงนฤเบศร์มานิต
[๑]
๖. หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร
วรวรรณ
[๒]
๗. พระดรุณพยุหรักษ์
[๓]
๘. นายพันเอก
หลวงวิภาครัฐกิจ
[๔]
๙. พระพณิชยสารวิเทศ
[๕] |
เป็นนายก
เป็นอุปนายก
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ และเลขานุการ
กับให้เป็น
ผู้บังคับการโรงเรียนอีกตำแหน่งหนึ่ง"
[๖] |
|
 |
 |
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์
พหลโยธิน) |
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
สองนายกรัฐมนตรีผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย |
|
สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยคงมีนายกรัฐมนตรีเป็นนายกกรรมการเพียง
๒ ท่าน คือ
๑. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์
พหลโยธิน) [๗]
๒. นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก
ขีตตะสังคะ)
[๘]
ภายหลังจากที่มีการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เสร็จสิ้นแล้ว
และความพยายามที่จะยุบเลิกโรงเรียนเปลี่ยนไป
ดังที่พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศเรเสนา)
อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย
ได้เล่าถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
เป็นเพราะในเวลานั้นรัฐบาลมีความคิดที่จะแปลงทรัพย์สินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้เพื่ออุดหนุนการศึกษาของโรงเรียนไปเป็นอื่น
และนัฐบาลในยุคนั้นมีความคิดที่จะยุบเลิกวชิราวุธวิทยาลัย
ถึงขนาดมีการปรับลดงบประมาณเงินอุดหนุนจากปีละ
๑๒๐,๐๐๐ บาท ลงเหลือเพียงปีละ ๓๕,๐๐๐ บาท
แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้มีพระบรมราชโองการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
"ให้กรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ชุดเดิมพ้นจากหน้าที่
และตั้งกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยใหม่
ดังนี้ |
๑.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
๒. หลวงนฤเบศรมานิต
๓. นายพันโท ประยูร
ภมรมนตรี
๔. อธิบดีกรมพลศึกษา
๕. อธิบดีกรมสามัญศึกษา
๖. พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
๗. อธิบดีกรมวิชาการ
๘.
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย
|
เป็นนายกกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการและเลขานุการ"
[๙] |
|
|
แต่เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างสงครามโลกครั้งที่
๒ ประกอบกับ
"ทรงพระราชดำริห์เป็นการสมควรที่จะปรับปรุงกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสียใหม่
เพื่อความเหมาะสม ฉะนั้น
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงมีบัญชาให้กรรมการชุดเดิมพ้นจากหน้าที่
และตั้งกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยใหม่
ดังนี้ คือ |
๑.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
๒. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๓. อธิบดีกรมสามัญศึกษา
๔. อธิบดีกรมอาชีวะศึกษา
๕. อธิบดีกรมพละศึกษา
๖. ผู้อำนวยการพระคลังข้างที่
๗. พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ
๘. นายจรัล โชติกเสถียร
[๑๐]
๙.
ผู้บังคับการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
|
เป็นนายกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการ
เป็นกรรมการและเลขานุการ"
[๑๑] |
|
คณะกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยชุดที่ทรงแต่งตั้งเมื่อวันที่
๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ นี้
ได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณมาเป็นลำดับ
ต่อจากนั้นยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ตั้งให้นักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นกรรมการจัดการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยเพิ่มเติมอีก
ดังนี้
นักเรียนเก่าราชวิทยาลัย ทวี บุณยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙
นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ
ทวีวงศ์) เลขาธิการพระราชวัง เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๙๒