พระยาไพศาล |
สำหรับที่จะแก้นั้นจะรอไว้หรือจะแก้ทันที |
|
|
พระราชดำรัส |
รอไว้เสียปีหนึ่งก่อนหรือ
จะเอาเสียทีเดียวไม่ได้หรือ |
|
|
พระยาไพศาล |
จะโปรดเกล้าฯ
ให้ใครเป็นกรรมการบ้าง |
|
|
พระราชดำรัส |
อย่างเดิม
เดี๋ยวนี้เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ออกแล้ว
ขาดนายก พระองค์ธานีไม่ต้อง
เพราะเป็นอยู่ในตัวแล้ว
นอกนั้นตามเดิม
มีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์จะต้องออกจากกรรมการ
แต่ไม่ได้พูดเลย |
|
|
พระยาไพศาล |
กรรมการตามตำแหน่ง |
พระราชดำรัส |
ต้องตั้งใครแทนคนหนึ่ง
พระองค์เจ้าธานีเป็นกรรมการอยู่เดิมแล้ว
ยังขาดอยู่คนหนึ่งจะเอาใคร
จะเอาหัวฝรั่งหรือหัวไทย |
|
|
พระองค์เจ้าศุภโยค |
ฝรั่งเห็นจะดีกว่า
เพราะจะช่วยได้มากกว่า |
|
|
พระราชดำรัส |
ยังนึกไม่ออก กรมพิทยา เอาไหม
อยู่ทางราชบัณฑิตย์สภาถ้าจะเหมาะดี
ยังมีอะไรอีก |
|
|
พระยาไพศาล |
มีตำแหน่งเลขานุการ
ถ้าหาผู้บังคับการเป็นเลขานุการเป็นการสะดวก
ไม่ต้องเพิ่มคน
พระราชดำรัส น่าจะเหมาะ
หน้าที่เลขานุการเจ้าตัวจะรับรองไหวหรือ
เอาครูเข้ามาเสียคนหนึ่งเห็นจะไม่ขัดข้อง |
|
|
พระองค์เจ้าไตรทศ |
ควรจะมีเลขานุการเป็นคนนอกกรรมการ
เอาครูคนใดคนหนึ่ง |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
จะเอาครูมาอย่างไร |
|
|
พระราชดำรัส |
เลขานุการไม่ต้องพูด
ตั้งใจแต่จะจดอย่างเดียวเท่านั้น |
|
|
พระยาไพศาล |
เลขานุการต้องเป็นคนวิ่งเต้นด้วย
และจะต้องใช้เสมียนในกองบังคับการ
อาจไม่ใคร่สะดวก |
|
|
พระยามโนปกรณ์ |
ครูอยู่ในอำนาจผู้บังคับการอยู่แล้ว |
|
|
พระยาสุพรรณ |
ถ้าจะโปรดเกล้าฯ
ให้พระยาบรมบาทบำรุงเป็นกรรมการ
Ex Officio แล้ว
ก็น่าจะให้เป็นเลขานุการด้วย |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
ใช้ครูรองน่าจะไม่เหมาะ
เพราะอาจมารู้เรื่องราวที่ไม่ต้องการเปิดเผย |
|
|
พระองค์เจ้าไตรทศ |
นอกจากผู้บังคับการแล้วต้องหาคนอื่น |
|
|
พระราชดำรัส |
ที่จริงกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นเสียเองดีกว่าให้ผู้บังคับการเป็น |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
เห็นจะดีกว่า
การที่ผู้บังคับการนั่งในที่ประชุมด้วย
ไม่สะดวกแก่การประชุม |
|
|
พระยาจินดา |
เป็นเลขานุการลำบาก
เพราะเลขานุการต้องตั้งหน้าจด
ไม่ควรต้องพูดอะไร |
|
|
พระองค์เจ้าไตรทศ |
ที่จริงที่นอก
เมื่อเขาต้องการอาจารย์ใหญ่ให้มาชี้แจงอะไรก็เชิญมาเท่านั้น |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
ลองทำดู
เพราะว่าผู้บังคับการมาติดต่อเป็นประโยชน์แก่กรรมการ |
|
|
พระราชดำรัส |
ถ้าอย่างนั้นต้องมีเลขานุการอีกคนหนึ่ง |
|
|
พระยาจินดา |
จำเป็นอยู่แล้ว |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
ใครเป็นนายกก็หาเลขานุการมาเอง
ถ้าทำอย่างนั้นจะใช้เสมียนก็ได้ |
|
|
พระราชดำรัส |
ก็ดีเหมือนกัน |
|
|
พระยาไพศาล |
ใครถูกเลือกเป็นนายกเป็นอันรับผิดชอบในงานแผนกนี้ทั้งหมด |
|
|
พระราชดำรัส |
คือให้หาคนใช้เอาเอง |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
ควรหาเสร็จ คนเขียน Short hand
หามาเองด้วย (ถามพระองค์เจ้าไตรทศว่า
ที่กระทรวงต่างประเทศมีไม่ใช่หรือ) |
|
|
พระองค์เจ้าไตรทศ |
มี คือนายวงศ์ คนนี้ดีมาก จด
Short hand ได้ทั้งไทยและฝรั่ง |
|
|
พระยาไพศาล |
สำหรับดำเนินการต่อไปจะควรเลือกนายกทีเดียวหรือไม่ |
|
|
พระยามโนปกรณ์ |
เวลานี้กรรมการยังขาด กล่าวคือ
ตามกระแสพระราชดำริที่จะตั้งกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
ก็ยังไม่มีตัวกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์อยู่ในที่นี้
เห็นจะยังไม่ควรเลือกในเวลานี้ |
|
|
พระราชดำรัส |
ต้องประกาศเสียก่อน |
|
|
พระยาจินดา |
ต้องแก้ประกาศตรงที่ว่าเป็นนายกและอุปนายกโดยตำแหน่ง |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
เรื่องอายุกรรมการจะต้องคิดด้วย |
|
|
พระราชดำรัส |
ประกาศตั้งกรรมการเป็นคนละส่วนกับประกาศวางโครงการ |
|
|
พระยาจินดา |
ประกาศที่ออกไปแล้วมี ๒ ฉบับ
คือประกาศพระบรมราชโองการวางโครงการโรงเรียนวชิราวุธฉบับหนึ่ง
อีกฉบับหนึ่งเป็นประกาศตั้งสภากรรมการ
(อ่านประกาศตั้งกรรมการ)
ในประกาศตั้งสภากรรมการนั้นควรยกเลิกความตอนที่ให้เสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการเป็นนายกและอุปนายกโดยตำแหน่งนั้นเสีย
แล้วแก้เป็นว่าให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นกรรมการจัดการโดยตำแหน่ง |
|
|
พระยามโนปกรณ์ |
กับเติมชื่อกรรมการอีกสองคน คือ
กรมหมื่นพิทยา และพระยาไพศาล |
|
|
พระราชดำรัส |
ดีแล้ว
ส่วนนายกให้กรรมการเลือกกันทุกปีหรือ |
|
|
พระยาจินดา |
ข้อนี้กรรมการเลือกกันเองได้
ไม่ต้องมีกล่าวในประกาศ
ส่วนจะเลือกกันอย่างไร
กรรมการควรเป็นผู้วางระเบียบ |
|
|
พระยาไพศาล |
เกี่ยวกับการประชุมคราวหน้า
ถ้ายังไม่มีนายก
หรือเลขานุการผู้ใดจะเรียกประชุม |
|
|
พระราชดำรัส |
อุปนายกต้องทำไปก่อน
เพราะนายกที่ออกไปแล้วก็โดยตำแหน่ง |
|
|
พระยาจินดา |
กรรมการจะต้องประชุมวางระเบียบการประชุม |
|
|
พระราชดำรัส |
วิธีเลือกนายกจะไม่เอาก็ได้
ประชุมกันใหม่ก็แล้วกัน
ถ้าในพวกกรรมการมีชั้นเสนาบดีคนเดียวก็ไม่ต้องเลือก
นี่เรามีเสนาบดีหลายคนจำเป็นต้องเลือก
ถ้ามีเสนาบดีกระทรวงธรรมการคนเดียวก็ไม่ต้องเลือก |
|
|
พระองค์เจ้าศุภโยค |
ถ้าเลือกเสนาบดีทั้งหมดแล้ว
คนชั้นต่ำๆ ก็ไม่ต้องเลือก |
|
|
พระยาไพศาล |
เรื่องทำรั้วโรงเรียนมีเงินในงบประมาณแล้ว
เห็นด้วยเกล้าฯว่าเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยของถาวร
จึงนำมาเสนอที่ประชุม
เงินสำหรับรายนี้ที่ประชุมได้อนุญาตไว้แล้ว
๕,๐๐๐ บาท
แต่เมื่อเรียกประมูลแล้วได้เพียง
๔,๘๐๐ บาทเท่านั้น (ถวายแบบเพื่อทรงทอดพระเนตร
และให้กรรมการดู) |
|
|
พระราชดำรัส |
เกี่ยวด้วยพระยาบรมบาทจะลาออกจะว่าอย่างไร
ที่จริงต้องเป็นเรื่องของกรรมการทั้งนั้น
เพราะมีกรรมการแล้ว
ฉันคิดอย่างเดียวที่จะให้กรรมการดำเนินตามหลักการเป็นข้อสำคัญ |
|
|
พระองค์เจ้าไตรทศ |
ถ้าเช่นนั้นแปลว่ากรรมการเอาผู้บังคับการออกได้ |
|
|
พระราชดำรัส |
ได้ |
|
|
พระยามโนปกรณ์ |
ใบลาของพระยาบรมบาทคราวก่อนตามเหตุที่ลานั้น
เหตุนิดเดียว
เหตุอายุเด็กเท่านั้น |
|
|
พระราชดำรัส |
ที่มีเรื่องพระยาบรมบาทก็เกี่ยวด้วยอายุเด็ก
แต่สำหรับความเห็นของฉันเองนั้น
ยังเสียดายพระยาบรมบาท
แต่แล้วแต่กรรมการ
ฉันไม่อยากมัดมือกรรมการ
ถ้ากรรมการเห็นควรจะเอาออกก็ตามใจ
เพราะกรรมการต้องรับผิดชอบ
ให้ดำเนินไปตามเรื่องที่ทำกันนั้น |
|
|
พระยามโนปกรณ์ |
คือการที่จะเอาพระยาบรมบาทไว้นั้นเป็นกิจของกรรมการ
แต่ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ
ว่าการลาก็ระงับไปเองตามเรื่อง
แปลว่าพระยาบรมบาทยังไม่หลุด |
|
|
พระราชดำรัส |
ยังไม่หลุด
ตั้งแต่ผู้บังคับการลงมาถึงครูทั้งหมดอยู่ในอำนาจกรรมการ
ถ้าไม่อย่างนั้นจะบังคับบัญชากันอย่างไร
กรรมการมีอำนาจเต็มที่
จะเอาใครออกได้ทั้งหมด |
|
|
พระองค์เจ้าไตรทศ |
แต่ต้องนำความกราบบังคมทูล
แปลว่าปรึกษาแล้วก็นำความกราบบังคมทูล |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
ที่พระยาบรมบาทลาออกก็เกี่ยวด้วยเรื่องอายุนักเรียน
ถ้าจะรับเด็กใหญ่ก็เป็นการขัดกันกับที่กราบบังคมทูลไว้ |
|
|
พระยามโนปกรณ์ |
คิดด้วยเกล้าฯ
ว่าใจความที่ยังอยู่เกี่ยวด้วยที่คัดนักเรียนออก |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
พระยาบรมบาทประสงค์จะไม่รับนักเรียนรุ่นใหญ่
เมื่อกรรมการให้รับแล้วก็จะลาออก
เหตุผลคงเป็นเช่นนี้ |
|
|
พระราชดำรัส |
ฉันต้องการไม่ให้เด็กปนกันเลอะเทอะเท่านั้นเอง |
|
|
พระยามโนปกรณ์ |
อายุเท่านั้นมีความรู้เท่านั้นจึงเข้าได้ |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
แปลว่าระเบียบที่จัดการมาแล้วต้องพิจารณาใหม่ |
|
|
พระราชดำรัส |
เด็กที่จะเข้าต้องมีความรู้เท่านั้นจึงจะเข้าได้
ถ้าความรู้ต่ำกว่านั้นเข้าไม่ได้
เมื่อเด็กอายุเกินขีดตามชั้นแล้วต้องออก
เมื่อตัดเป็นตอนๆ
อายุไม่ควรผิดกันเกิน ๔ ปี อายุ
๑๓ กับ ๑๕ อยู่ด้วยกันได้ ๑๕ กับ
๑๘ อยู่ด้วยกันได้ เช่นกับอายุ ๑๕
กับ ๑๗ งดงามกว่า อายุ ๑๓
ควรจะอยู่ในชั้นไหนต้องถามพวกที่ได้ทำมามาก
ที่กระทรวงธรรมการอายุยังผิดกันอยู่มาก
บางคนเริ่มเรียน ๘ ขวบ บางคน ๑๐
ขวบ
แต่การศึกษาของเราเพิ่งเริ่มต้น
เพราะฉะนั้นความรู้ต่างกันมาก
ที่โรงเรียนกระทรวงธรรมการทำไม่ได้
โรงเรียนอย่างของเราทำได้
ในเมืองไทยทั้งหมดต่อไปคงเข้ารูปเอง
อยู่ที่เด็กเริ่มเรียนเมื่อไร
บางทีเริ่มเมื่ออายุ ๑๔ ปีก็มี
ในโรงเรียนอย่างของเราต้องระวังให้เด็กได้เรียนได้จริงๆ
ถ้าเหลวไหลให้ออกจัดเป็นไปรเวตจริงๆ
จะต้องแบ่งเป็นสองตอน
จะเป็นอะไรก็เป็นเสียอย่างหนึ่งจึงจะดี
อย่างของเราน่าจะเป็น Public
School |
|
|
พระยาจินดา |
โรงเรียนสำหรับเด็กขนาดเล็กก็พึงรับแต่เด็กเล็ก
ส่วนโรงเรียนสำหรับเด็กขนาดใหญ่ก็ควรรับแต่เด็กใหญ่
ไม่ควรให้เด็กเล็กปนกับเด็กใหญ่ |
|
|
พระราชดำรัส |
เรื่องโรงเรียน
ฉันเห็นโรงเรียนนายร้อยมา ๓ ปี
แล้วพอจะรู้ได้
ถ้าเกี่ยวด้วยสถานที่แล้วจะหาให้ได้ |
|
|
พระยาจินดา |
ให้โรงเรียนราชวิทยาลัยเป็น
Public School ก็ได้ |
|
|
พระยาไพศาล |
โรงเรียนควรพยายามตัดชั้นเด็กเล็กทุกที |
|
|
พระราชดำรัส |
ที่ Public School อายุตั้งแต่
๑๓ ปีขึ้นไปของเขาถูก
ข้อนี้ยุ่งมาก จึงเห็นว่าควรจะ
ให้ทำเป็นโรงเรียนไปรเวตเสียก่อน |
|
|
พระยาจินดา |
คิดด้วยเกล้าฯ
ว่าถ้าสามารถจะทำได้ ควรแยกเป็น
Preparatory School อีกโรงเรียน
หนึ่ง และเป็น Public School
อีกโรงเรียนหนึ่ง
กล่าวคือควรมีสองโรงเรียนเป็นคู่
กันไป เมื่อเรียนจบหลักสูตร
Preparatory School (โรงเรียนช้นเตรียม)
แล้วก็เข้า Public School
ต่อกันไป |
|
|
พระราชดำรัส |
ที่จริงที่สำหรับจะทำ Private
School
นั้นมีเกี่ยวด้วยเงินเท่านั้น |
|
|
พระองค์เจ้าศุภโยค |
เห็นจะอีกหลายปีกว่าจะจัดได้ |
|
|
พระราชดำรัส |
หัวเมืองก็มี เช่นบ้านปืน |
|
|
พระยาจินดา |
ถ้าเช่นนั้นที่นี้จะมีโรงเรียนเดียว |
|
|
พระราชดำรัส |
ปัญหาว่าโรงเรียนนี้จะจัดเป็น
Private School หรือ Public
School วางสกีมอย่างนี้ |
|
|
พระยาจินดา |
คิดด้วยเล้าฯ
ว่าโรงเรียนแห่งเดียวจะใช้เป็นทั้ง
Preparatory School และ Public
School รวมกันน่าจะไม่สำเร็จ
ควรแยกเป็นสองโรงเรียน |
|
|
พระยาไพศาล |
เวลานี้มีเงินพอทำโรงเรียนเดียว |
|
|
พระราชดำรัส |
สถานที่สำคัญมาก บ้านนอกก็มี
ในกรุงเทพฯ ก็มี
ห้างยอนแซมสันก็ได้
มีคนมาขอทำโรงเรียน
แต่ฉันนิ่งไว้ก่อน
เดี๋ยวนี้ยังไม่หมดสัญญา |
|
|
พระยาบริบูรณ์
|
จะหมดอยู่แล้ว |
|
|
***************** |
|
|
รวมความ |
|
๑.
ให้จัดโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนพิเศษผิดจากโรงเรียนสามัญทั่วไป
พยายามกวดขันในการสั่งสอนอบรมให้ได้ผลดีที่สุด
ให้นักเรียนได้รับการสอนในทางศาสนาและเรื่องที่เป็น
Tradition ของไทย ด้วย คือให้ถือ
Quality เป็นใหญ่
ในการปกครองให้เด็กใหญ่ได้ปกครองเด็กเล็ก
เป็นการทำหน้าที่ช่วยครู
เด็กใหญ่อยู่ตามเด็กใหญ่
เด็กเล็กอยู่ตามเด็กเล็ก ให้
Privilege แก่เด็กใหญ่ การที่
จะทำเช่นนี้ ถ้าใน
ชั้นเดียวกันมีเด็กอายุผิดกันมากก็ไม่สำเร็จ
ควรพยายามให้เด็กในชั้นเดียวกัน
มีอายุพอไล่เลี่ยกัน อย่าง
มากควรไม่เกิน ๔ ปี
ต่อไปถ้าจัดให้ผิดกันเพียง ๒
ปีก็ยิ่งดี
ให้กรรมการคิดวางหลักการตามคลองกระแสพระราชดำริ
ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะกันนักเรียนเก่าไม่ให้เข้าโรงเรียน
ถ้าใครมีอายุกับความรู้ตามเกณฑ์ก็รับได้
เด็กที่จะอยู่ในโรงเรียนได้ก็ต้องมีอายุกับความรู้ตามเกณฑ์เหมือนกัน
ใครไม่ถูกต้องตามเกณฑ์ก็ต้องออก |
|
๒.
ให้กรรมการดำริวางเกณฑ์เกี่ยวด้วยอายุและความรู้ของเด็กที่จะรับ
และที่จะให้อยู่ในโรงเรียน |
|
๓.
ให้กรรมการคิดตัดเงินจากงบประมาณโรงเรียนนี้
เพื่อมอบให้กระทรวงธรรมการจัดตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้นใหม่
ขาดเหลือทางโรงเรียนนี้จะพระราชทานเจือจานตามสมควร
แต่การดำเนินการโรงเรียนนี้ในสวนหลักสำคัญจักต้องเป็นไปตามคลองกระแสพระราชดำริซึ่งปรากฏในรายงานแล้วจึงจะพระราชทาน |
|
๔.
ให้แก้ประกาศตั้งกรรมการ
คือแทนที่นายกและอุปนายก
เสนาบดีและปลัดทูลฉลอง
กระทรวงธรรมการจะเป็นตามตำแหน่งนั้น
ให้เลือกกันเองในวงกรรมการ
จะให้อยู่ประจำหน้าที่เพียงรอบปีเดียวหรือกี่ปีแล้วแต่กรรมการจะตกลงกันวางระเบียบ
ให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นกรรมการตามตำแหน่ง
ปลัดทูลฉลองคือพระยาไพศาลศิลปสาตร์
เป็นกรรมการโดยบุคคล
กับให้พระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
เป็นกรรมการด้วย |
|
๕.
ให้กรรมการขอความช่วยเหลือกระทรวงธรรมการในหน้าที่ตรวจการ
คือการเล่าเรียน การกินอยู่ของนักเรียน การเล่น
ตลอดจนการเงิน
แล้วทำรายงานยื่นต่อกรรมการเป็นคราวๆ
การวินิจฉัยอยู่ที่กรรมการ |
|
๖.
ให้ผู้บังคับการเข้านั่งในที่ประชุมได้แต่เฉพาะเมื่อกรรมการเรียกมาขอคำชี้แจงเกี่ยวด้วยกิจการของโรงเรียน |
|
๗. ตำแหน่งเลขานุการนั้น
ผู้ใดถูกเลือกเป็นนายกให้หาเอง
และรับผิดชอบในกิจการแผนกนีโดยเต็ม |
|
๘.
ในส่วนการดำเนินการของโรงเรียน
นอกจากที่จะขัดกันกับหลักสำคัญตามกระแสพระราชดำริเดิมแล้ว
กรรมการมีอำนาจที่จะดำเนินการของโรงเรียนทั้งสิ้น
ตลอดจนถึงการสับเปลี่ยนโยกย้ายและปลดเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนตั้งแต่ผู้บังคับการลงมา
เมื่อประชุมกันตกลงอย่างไร
ให้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานทุกคราวไป |
|
๙.
การเลือกนายกและอุปนายกนั้น
ให้เลือกเมื่อประกาศแก้ไขออกแล้ว
การประชุมคราวหน้าให้อุปนายกเดิมเรียก |
|
๑๐.
ให้กรรมการดำริในการที่จะแยกเด็กใหญ่กับเด็กเล็กออกเป็นคนละโรงเรียน |
|
๑๑.
พระยาบรมบาทบำรุงยังไม่หลุดจากตำแหน่งผู้บังคับการ
มอบไว้แก่กรรมการที่จะวินิจฉัย |
|
๑๒.
เรื่องทำรั้วโรงเรียนเป็นอันตกลงให้ให้ทำได้ตามราคาอย่างต่ำคือ
๔,๘๐๐ บาท ในวงเงินทีอนุญาตแล้ว |
|
เลิกประชุมเวลา ๔.๔๕ ล.ท.
|
|
 |
|
***************** |