ส่วนคำว่า ชโย นั้น
เพิ่งจะเริ่มมีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
คราวที่ทรงนำเสือป่าและลูกเสือเดินทางไกลไปบวงสรวงสังเวยพระเจดีย์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ดอนเจดีย์
จังหวัดสุพรรณบุรี
มูลเหตุสำคัญที่ทำให้ทรงพระราชดำริคำว่า "ชโย" ขึ้นนั้น
เริ่มขึ้นเมื่อประทับแรมที่กำแพงแสนในคืนวันพุธที่ ๒๑
มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ซึ่งเป็นคืนที่ ๒
นับแต่เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระราชวังสนามจันทร์
ทรงเรียกเสือป่าและลูกเสือมาประชุมพร้อมกันที่หน้าพลับพลาที่ประทับ
แล้วเสด็จลงทรงจุดธูปเทียนบูชาระแล้วทรงนำสวดมนต์
เริ่มด้วย อรหํ สมฺมา ฯลฯ
แล้วสวดอิติปิโสกับคำนมัสการคุณานุคุณคำไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร
(น้อย อาจารยางกูร) เมื่อสวดมนต์จบแล้ว
เสือป่าร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
และเป่าแตรยาวคำนับเป็นจบการนมัสการ แล้วจึงโปรดเกล้าฯ
ให้เสือป่าและลูกเสือแยกย้ายกันไปพักผ่อน
คงจะเป็นเพราะเสือป่าและลูกเสือต่างก็มีบทร้องต่างกันตามเหล่าของตน
เมื่อมาร้องพร้อมๆ กันจึงเกิดลักลั่นกันจนฟังไม่ได้ศัพท์
ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นจึงได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องสรรเสริญพระบารมีขึ้นใหม่
ดังที่ได้ใช้กันสืบมาจนถึงทุกวันนี้
เฉพาะอย่างยิ่งในวรรคท้ายของบทร้องสรรเสริญพระบารมีที่เดิมร้องกันว่า
"ดจถวายไชย ฉะนี้" แต่ฟังไปฟังมากลับกลายเป็น "ดุจถวายไชย
ชะนี" แทนนั้น ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้เป็น "ดุจถวายไชย
ชโย" คำว่า "ชโย" และได้โปรดเกล้าฯ
ให้เสือป่าและลูกเสือที่ตามเสด็จไปในคราวนั้นร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีบทที่ที่ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขใหม่เป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่
๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงกล่าวได้ว่า คำว่า "ชโย" ได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในวันเดียวกันนั้น
 |
พระไชยนวโลหะ |
|