๓๙.
คณะ (๒)
แม้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
จะโปรดเกล้าฯ
ให้ยุบรวมโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
พร้อมกับพระราชทานนามโรงเรียนให้ใหม่ว่า
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย แล้วก็ตาม
การเรียกชื่อคณะก็ยังคงใช้ตามราชทินนามของครูกำกับคณะต่อมา
จนถึงยุตก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นาน
สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยได้ประชุมปรึกษาและเห็นพ้องกันว่า
การเรียกชื่อคณะตามราชทินนามของครูกำกับคณะนั้น
ชวนให้สับสนยิ่ง
เพราะเมื่อเปลี่ยนครูกำกับคณะเมื่อไรชื่อคณะก็ต้องเปลี่ยนตาม
ยิ่งคณะตะวันออกด้านเหนือ (ปัจจุบันคือคณะพญาไท)
 |
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
อดีตเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ
และสภานายกสภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย |
ที่มีการเปลี่ยนแปลงครูกำกับคณะแทบจะทุกปีตามนโยบายของะระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าธานีนิวัติ
[๑]
เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีพระดำริว่า
ข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการที่จะเติบโตในราชการต่อไปในนั้น
จำจะต้องหมุนเวียนให้มาเรียนรู้งานในวชิราวุธวิทยาลัยเสียก่อนแล้วจึงกลับออกไปรับราชการในกระทรวง
ฉะนั้นเพื่อป้องกันความสับสนสภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย
จึงได้มีดำริพร้อมกันนำความกราบบังคมพระกรุณาขอพระราชทานนามคณะทั้ง
๔ ให้เป็นการถาวร โดยในเมื่อโรงเรียนนี้มีนามว่า
"วชิราวุธวิทยาลัย"
ซึ่งเป็นพระบรมนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว
นามคณะทั้ง ๔ จึงควรเป็นพระนามในสมเด็จพระอนุชาทั้ง ๔
พระองค์เรียงตามลำดับพระชันษา คือ
 |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาทั้ง
๔ พระองค์ |
(จากซ้าย) |
๑. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย |
|
๒. สมเด็จพระอนุชาธิราช
เจ้าฟ้าอัษางค์เดชาวุธ
กรมหลวงนครราชสีมา |
|
๓.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
๔. สมเด็จพระอนุชาธิราช
เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ |
|
๕. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์
กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
(พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) |
|
จักรพงษ์ หมายถึง จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช
เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
อัษฎางค์ หมายถึง นายพลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช
เจ้าฟ้าอัษางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
จุฑาธุช หมายถึง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย
ประชาธิปก หมายถึง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
(พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
 |
นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หม่อมหลวงปิ่น
มาลากุล
เมื่อครั้งเป็นนักเรียนมหาดเล็กรับชั้นใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
แต่ยังมิทันที่จะทรงมีพระราชกระแสเป็นอย่างไร
ก็พอดีเกิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๔๗๕ เสียก่อน และไม่ช้าก็เสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระองค์ที่ต่างประเทศ
จนได้ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
การขอพระราชทานชื่อคณะนั้นจึงค้างมาตราบจนสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง
คณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยจึงได้มอบหมายให้นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
กรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยเป็นผู้ไปคิดชื่อคณะทั้งสี่เพื่อใช้แทนราชทินนามของครูผู้กำกับคณะ
ชื่อคณะที่นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
คิดจขึ้นในคราวนั้นประกอบด้วย
คณะผู้บังคับการ
คณะดุสิต
คณะจิตรลดา
คณะพญาไท
ชื่อคณะผู้บังคับการนั้นมีที่มาจาก School House ใน Public
School ซึ่งคณะนี้มีอาจารย์ใหญ่เป็นผู้กำกับคณะโดยอนุโลม
เมื่อนำมาใช้ที่วชิราวุธวิทยาลัยที่มีผู้บังคับการเป็นผู้บริหารสูงสุด
จึงเรียกคณะนี้ว่า คณะผู้บังคับการ ส่วนอีก ๓
คณะนั้นเป็นการขนานนามตามชื่อพระราชฐานที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จเสวยสิริราชสมบัติแล้ว
คือ
 |
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต |
คณะดุสิต มาจาก พระราชวังดุสิต
 |
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
คณะจิตรลดา มาจาก พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
 |
หมู่พระที่นั่งในพระราชวังพญาไท |
คณะพญาไท มาจาก พระราชวังพญาไท
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๘
คณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยมีดำริว่า
ในเมื่อคณะเด็กโตได้ขนานนามตามพระราชฐานที่ประทับแล้ว
สมควรที่จะได้ขนานนามคณะเด็กเล็กที่เรียกกันมาแต่เดิมว่า
คณะเด็กเล็ก ๑ เด็กเล็ก ๒ และเด็กเล็ก ๓
ให้มีนามสอดคล้องกับนามคณะเด็กโต คณะกรรมการอำนวยการฯ
จึงได้ขอให้ นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หม่อมหลวงปิ่น
มาลากุล
ซึ่งในเวลานั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
และนายกกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยเป็นผู้คิดชื่อคณะเด็กเล็กขึ้นใหม่
โดยนามคณะที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ขนานขึ้นใหม่นั้นประกอบด้วย
คณะเด็กเล็ก
๑ เป็น คณะสนามจันทร์
คณะเด็กเล็ก
๒ เป็น คณะนันทอุทยาน
คณะเด็กเล็ก
๓ เป็น คณะสราญรมย์
นามคณะเด็กเล็กทั้ง
๓ คณะนั้น
มีที่มาจากนามพระราชฐานที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่ต่างจากนามคณะเด็กโตตรงที่นามคณะเด็กเล็กนี้ล้วนเป็นพระราชฐานที่ประทับมาตั้งแต่ก่อนก่อนเสด็จเสวยสิริราชสมบัติ
คือ
 |
หมู่พระที่นั่งพิมาน
และพระที่นั่งวัชรีรมยา
ในพระราชวังสนามจันทร์ |
คณะสนามจันทร์ |
มาจาก |
พระราชวังสนามจันทร์
ซึ่งได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินและปลูกสร้างพระที่นั่งและพระตำหนักมาตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช |
|
|
|
คณะนันทอุทยาน |
มาจาก |
พระตำหนักนันทอุทยาน ใกล้พระปฐมเจดีย์
ซึ่งเป็นที่ประทับแรมในระหว่างทรงเป็นผู้อำนวยการบูรณะพระปฐมเจดีย์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
 |
พระราชวังสราญรมย์ |
คณะสราญรมย์ |
มาจาก
|
พระราชวังสราญรมย์
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานให้เป็นที่ประทับเมื่อแรกเสด็จพระราขดำเนินกลับจากทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ใช้ประโยชน์เป็นศาลาว่าการต่างประเทศ |
|