เมื่อไม่นานมานี้มีนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยปัจจุบันเขียนถึงเครื่องแบบนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยเผยแพร่ในโลกโซเชียลมีเดีย
เลยชี้แตงไปให้ทราบแล้วว่าเครื่องแบบนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยนั้นมิใช่เครื่องแบบพระราชทาน
แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดไว้ในพระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนักนิ์
ร.ศ. ๑๒๙ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๙
(พ.ศ. ๒๔๕๓)
ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องเครื่องแบบขอเท้าความเดิมก่อนว่า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครใน
พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้ว
ก็ได้มีเจ้านายและข้าราชการรวมทั้งบุคคลพลเรือนทั่วไปนำบุตรหลานมาถวายตัวเป็นมหาดเล็ก
เมื่อทรงรับเด็กๆ
เหล่านั้นไว้เป็นข้าในพระองค์แล้วก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้มหาดเล็กเด็กๆ ซึ่งทรงเรียกว่า
มหาดเล็กนักเรียนไปศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนต่างๆ
ตามความถนัดของแต่ละบุคคล
มาวันหนึ่งมีรับสั่งสอบถามความรู้มหาดเล็กที่ทีงชุบเลี้ยงไว้
ปรากฏว่า
มหาดเล็กนักเรียนผู้นั้นไม่สามารถกราบบังคมทูลตอบคำถามนั้นได้
จึงได้มีพระราชบัณฑูรย์ให้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่พระราชวังสราญรมย์ซึ่งเป็นที่ประทับในเวลานั้น
โรงรียนดังกล่าวเป็นโรงเรียนชั้วคราว
มีหลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (นกยูง วิเศษกุล
ต่อมาเป็นพระยาสุรินทราชา) ราชเลขานุการเป็นครูใหญ่
และเมื่อทรงว่างพระราชกิจในตอนเย็นก็ทรงสอนมหาดเล็กเด็กๆ
เหล่านั้นด้วยพระองคเองด้วย
ต่อมาเมื่อทรงรับสิริราชสมบัติสิบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ ๒๓
ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ แล้ว ได้เสด็จไปประทับในพระบรมมหาราชวัง
เสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชในเดือนพฤศจิกายน
และการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบุรพมหากษัตราธิราชเจ้าที่พระราชวังเดิมกรุงเก่า
(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) แล้ว
จึงทรงพระราชดำริให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับมหาดเล็กนักเรียนที่ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงไว้
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่ย
เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ซึ่งเสลานั้นยังเป็นพระยาไพศาลศิลปสาตร เจ้ากรมตรวจ
กรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ
ผู้เป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมได้รับสนองพระราชดำริจัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่โรงเรียนราชกุมารเก่า
ริมประตูพิมานไชยศรี ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพฤหัสบดีที่
๒๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓)
เป็นส่วนราชการในสังกัดกรมมหาดเล็ก
ขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อสภาจางวางมหาดเล็กซึ่งรับผิดชอบตรงต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดมาวันที่
๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศใช้เครื่องแต่งกายข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนักนิ์
รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
ซึ่งในพระราชกำหนดนี้ได้กำหนดให้ข้าราชการในพระราชสำนักมีเครื่องแบบที่แตกต่างกัน
คือ
ที่สังกัดกระทรวงวังและกรมขึ้นในกระทรวงวังใช้เครื่องแบบสีดำเครื่องทองเป็นพื้น
ส่วนที่สังกัดกรมมหาดเล็กนั้นโปรดให้ใช้เครื่องแบบสีน้ำเงินเครื่องเงินเป็นพื้น
 |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องครึ่งยศนายกองใหญ่
ผู้บังคับการกรมเสือป่าหลวงรักษาพระองค์
ทรงม้าพระที่นั่งสยามพันธุ์
นำขวนนายเสกองนายหมู่เสือป่าไปในงานสวนสนามถวายไชยมงคลของเสือป่า
ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ณ
สนามสโมสรเสือป่าพระราชวังดุสิต
วันเสาร์ที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
มีนักเรียนมหาดเล็กหลวงแต่งเครื่องแบบครึ่งยศ
(สวมกางเกงแถบ) และเครื่องแบบปกติ (สวมกางเกงขาสั้น)
รอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่ริมปะรำพิธี |
สำหรับนักเรียนมหาดเล็กหลวง หรือที่
หรือที่ในพระราชกำหนดนี้เรียกว่า "มหาดเล็กนักเรียน"
เพราะนักเรียนในโรงเรียนนี้เกือบทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กมาแต่ก่อนเสวยราชสมบัติ
และผู้ที่มาเข้าใหม่เมื่อได้เวลาอันสมควรก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กนั้น
ทรงกำหนดเครื่องแบบสำหรับมหาดเล็กนักเรียนนี้ไว้ใน "หมวดที่
๒ ว่าด้วยเครื่องแต่งตัว" ดังนี้
"มาตรา ๖ เครื่องแต่งตัวนักเรียนมหาดเล็ก
แลมหาดเล็กนักเรียน
ข้อ ๑ มีหมวกแก๊ปทรงหม้อตาลสะน้ำเงิน
กระบังน่าหนังดำ ทีสายรัดคางหนังดำ
แลมีตราวชิราวุธกับมงกุฎติดที่น่าหมวก
ข้อ ๒ มีเสื้อผ้าขาวรูปแบบราชการ
มีดุมเงินตรามงกุฎ มีแผ่นกำมะหยี่สำหรับติดคอเสื้อ
ดังกล่าวแล้วในมาตรา ๔ ข้อ ๓ [๑]
แต่มีแถบเงินกว้าง ๑ เซนติเมเตอร์พาดกลางแผ่นกำมะหยี่
ข้อ ๓ มีผ้านุ่งไหมสีน้ำเงิน
ข้อ ๔ มีกางเกง ๒ อย่าง อย่างที่หนึ่ง
กางเกงขาสั้นผ้าสีน้ำเงิน อย่างที่สอง
กางเกงขายาวสักหลาดสีน้ำเงินมีถบสีขาวกว้าง ๑
เซนติเมเตอร์ติดที่ขากางเกง
ข้อ ๕ มีถุงเท้า รองเท้าดังกล่าวแล้วในมาตรา ๔
ข้อ ๓
[๒]
นักเรียนมหาดเล็กแลมหาดเล็กนักเรียนจะแต่งตัวได้เต็มตามพระราชกำหนดนี้
หรือจะลดจากพระราชกำหนดนี้ เพียงใดในเวลาใด
แล้วแต่จางวางมหาดเล็กผู้บังคับบัญชาจะเห็นสมควร"
[๓]
|
เครื่องแบบนี้มีกำหนดให้แต่ง คือ
เต็มยศ และครึ่งยศ หมวกแก๊ป
เสื้อแบบราชการผ้าขาว ติดแผ่นกำมะหยี่ที่คอ
กางเกงสักหลาดขายาวสีน้ำเงิน รองเท้าดำ
ปกติ หมวกแก๊ป เสื้อแบบราชการผ้าขาว
ติดแผ่นกำมะหยี่ที่คอ กางเกงชาสั้นสีน้ำเงิน ถุงเท้าดำ
รองเท้าดำ
เครื่องแบบเต็มยศ ครึ่งยศ
ประดับเหรียญหรือเข็มที่ได้รับพระราชทาน
ใช้ในงานที่มีหมายกำหนดให้แต่งเต็มยศหรือครึ่งยศ เช่น
งานพระราชพิธีเฉลืมพระชนม์พรรษา พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
งานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐินประจำปี
เครื่องแบบปกติ
ใช้ในงานที่มีหมายกำหนดให้แต่งเครื่องปกติ
หรือในเวลาออกนอกโรงเรียนไปยังสถานที่ต่างๆ
 |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องสนามนายกองใหญ่เสือป่าราบหลวงรักษาพระองค์
ทรงฉายที่เชิงบันไดนาคมณฑปพระพุทธบาทขังหวัดสระบุรี
พร้อมด้วยข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายทหารและพลเรือน
กับลูกเสือหลงและนักเรียนมหาดเล็กหลวง
เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ |
ในเวลาอยู่ในโรงเรียน สวมเสื้อแบบราชการผ้าขาว
ติดแผ่นกำมะหยี่ที่คอ นุ่งผ้าไหมสีน้ำเงิน
ถุงเท้าขาวหรือดำ รองเท้าจาวหรือดำ
ต่อมาวันที่ ๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๙ ทรง
"เรียกกรรมการผู้อำนวยการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงประชุมเพื่อกำหนดระเบียบการของโรงเรียนนั้น
ตามข้อความที่ได้ปรึกษาตกลงกันแล้วนั้น
พระยาไพศาลศิลปศาตร์ (สนั่น เทพหัสดิน ณ กรุงเทพ,
ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยาธรรมศักดิ์มนตรี,
แล้วเปนเจ้าพระยาในนามเดิม)
รับมอบให้ไปเรียบเรียงเปนประกาศสำหรับลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา,"
[๔]
พระยาไพศาลศิลปะสารทได้จัดทำร่างระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงแล้วเสร็จ
และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๙
และเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่
๑ เมษายน ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔)
ฝนระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ในพระบรมราชูปถัมภ์พิเศษส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้วางระเบียบว่าด้วยเครื่องแต่งตัวนักเรียนมหาดเล็กหลวงไว้ดังนี้
"นักเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้เครื่องแต่งตัวสำหรับโรงเรียนทุกคน
ตามพระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวข้าราชการพลเรือน
ซึ่งออกประกาศราชกิจจาเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๙
แลจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานให้เปนตัวอย่างคนละสำรับ
ต่อนั้นไปถ้าเปนนักเรียนสมัคจะต้องหาของตัวเอง
แลเมื่อออกจากโรงเรียนแล้วจะใช้เครื่องแต่งตัวนี้ต่อไปอีกไม่ได้
เว้นไว้แต่ได้รับพระบรมราชานุญาตพิเศษ
เวลานักเรียนอยู่ในโรงเรียนตามปรกติแต่งตัวนุ่งผ้าสรวมเสื้อตามธรรมดา"
[๕]
|
นอกจากนั้นในระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์เผยแพร่
ยังได้กล่าวถึงเครื่องแต่งตัวนักเรียนที่นักเรียนจะต้องจัดเตรียมมาสำหรับตนเอง
ดังนี้
๑. เสื้อขาวชั้นนอก
[๖]
|
๖ ตัว |
๒.
เสื้อผ้าสีเทาอย่างซูตติงตามตัวอย่างของโรงเรียน
[๗] |
๒ ตัว |
๓.
ผ้าพื้น
|
๖
ผืน |
๔.
กางเกงขาสั้นสีน้ำเงินสำหรับสนาม
[๘]
ตามตัวอย่างของโรงเรียน
|
๒ ตัว |
๕.
กางเกงไทย
[๙] |
๖
ตัว |
๖.
เสื้อชั้นใน [๑๐] |
๑๒ ตัว |
๗.
ถุงเท้าขาวและดำอย่างละ
|
๖ คู่ |
๘.
รองเท้าดำ
|
๑ คู่ |
๙.
รองเท้าขาว (ถ้าเปนเด็กใหญ่ให้เปนรองเท้ายาง ๑ คู่)
|
๒ คู่ |
๑๐.
หมวกสักหลาด หรือหมวกแกปก็ได้
|
๑ ใบ |