ในระหว่างเตรียมพระองค์ที่จะเสด็จเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ในปี
พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น นอกจากจะต้องทรงเรียนวิชาขี่ม้า
ทั้งยังต้องทรงทำความสะอาดคอกม้าด้วยพระองค์เองแล้ว
ในระหว่างที่ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไปประทับแรม ณ ปาคะเดสะโอวีฟ (Parc des Eaux -
Vivres) เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้น
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชยังได้ทรงร่วมกับพระเชษฐาและพระอนุชาพร้อมทั้งนักเรียนไทยที่กำลังทรงศึกษาและศึกษาอยู่ในยุโรปจัดการรื่นเริงรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยทรงแสดงเป็น มารี เลอรูส์ (Marie Leroux)
ในบทละครเรื่อง มาย เฟรนด์ ยาเล่ต์ (My Friend
Jarlet)
[๑]
ของ อาร์โนลด์ โกลสเวอธี (Arnold
Golsworthy) และ อี. บี. นอร์แมน (E.B. Norman)
ซึ่ง จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖
ได้กล่าวถึงการแสดงครั้งนี้ไว้ว่า
 |
คณะผู้แสดงละครเรื่อง My Friend Jarlet |
(แถวนั่งจากซ้าย) |
๑. หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร (พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร)
เป็น ปอล ลาตูร์
|
๒. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เป็น มารี
เลอรูซ์
|
๓. นายอาร์. อี. โอลิเวียร์ เป็น
เอมิล ยาร์เลต์) |
(แถวยืนจากซ้าย) |
๑. พระเจ้าลูกยาเธอ
พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์พงศ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม)
เป็นพลทหาร) |
๒. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ
กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ (สมเด็จพระอนุชาธิราช
เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ)
เป็น นายทหาร |
๓. พระเจ้าลูกยาเธอ
พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร) เป็น
พลทหาร |
|
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ ศก
๑๑๖ ประทับที่พลับพลาปาคะเดสะโอวิฟ
เวลาค่ำสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพร้อมด้วยพระราชโอรสทั้งหลายจัดตกแต่งโรงละครในบ้านริมพลับพลา
มีลครถวายทอดพระเนตร
โดยทรงรื่นเริงยินดีที่ได้เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท
เวลายามเสศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรลครซึ่งพระราชโอรสทั้งหลาย
มีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเปนต้น
ได้ทรงเล่นด้วยพระองค์เอง
โรงลครแต่งงดงามอย่างโรงลครฝรั่ง มีซอ ๗
ซอเปนดนตรี
พระราชโอรสแต่งพระองค์อย่างลครฝรั่งงามนักแล
ทรงภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วอย่างฝรั่งเล่นลคร
ยิ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
[๒]
แต่งพระองค์อย่างลครฝรั่งเหมือนจริงงามน่าเอนดู
บรรดาผู้ที่ดูยินดีรื่นเริงมากบางคนได้ฟังเจรจาเรื่องลครตอนที่สองมีความเสียวซ่านใจถึงพาให้น้ำตาตกก็มี"
[๓] |
 |
ทรงเครื่องปกตินักเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์
|
เมื่อส่งเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จนิวัติประเทศไทยที่เมืองเนเปิลส์
ประเทศอิตาลี ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๐ แล้ว
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชก็ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์
โดยทรงปฏิบัติพระองค์ตามระเบียบของโรงเรียนทั้งมิได้ถือพระองค์ว่า
ทรงเป็นเจ้านายแต่ประการใด
วิชาที่ทรงศึกษาประกอบด้วย การปกครองของทหาร
กฎหมาย ยุทธวิธี ป้อมค่าย การสำรวจ ภาษาฝรั่งเศส
พลศึกษา ห้อยโหน (ยิมนาสติก) ขี่ม้า
สำหรับวิชาขี่ม้านั้นมีการบันทึกไว้ว่า
ทรงสอบไล่ได้คะแนนยอดเยี่ยม (Excellent)
ส่วนวิชาป้อมค่ายนั้นก็ทรงพระปรีชาสามารถ
ดังมีพยานปรากฏในเวลาต่อมาว่า ได้ทรงพระราชนิพนธ์
ปาฐะกถา เรื่องการสงครามป้อมค่ายประชิด
พระราชทานให้โรงเรียนเสนาธิการทหารบกของไทย
ใช้เป็นตำราเรียนของนักเรียนนายทหารหลักสูตรเสนาธิการทหารบกมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๔๕๙
จนการสงครามแบบป้อมค่ายเสื่อมความนิยมลงในยุคหลังสงครามเดียนเบียนฟู
 |
ทรงเครื่องเต็มยศนายร้อยโททหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
ประทับฉายพระบรมฉายาลักาณ์พร้อมด้วยนายทหารในกรมทหารราบเบาเดอรัม
และนายร้อยเอก หลวงสรสิทธยานุการ (อุ่ม
อินทรโยธิน - นายพลเอก
เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน) |
เนื่องจากระบบการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์นั้น
มุ่งเน้นจัดการศึกษาแต่เฉพาะวิชาพื้นฐานทางทหาร
เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกในตอนปลายปี
พ.ศ. ๒๔๔๑ แล้ว จึงได้เสด็จไปประจำการในกองพันที่
๑ กรมทหารราบเบาเดอรัม (Duhram Light Infantry)
ที่ออลเดอร์ช็อต (Aldershot) เมื่อวันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๑
เพื่อทรงฝึกหัดการบังคับบัญชาหน่วยทหาร
 |
ภาพล้อในวารสารอังกฤษ
เมื่อครั้งวทรงอาสาไปร่วมรบในสงครามบัวร์
|
ในระหว่างที่ทรงประจำการอยู่ที่กองพันที่ ๑
กรมทหารราบเบาเดอรัมนั้น
นอกจากจะทรงอาสาสมัครไปรบในสงครามบัวร์ (Boer
Wars)
ซึ่งอังกฤษรบกับพวกดัชท์และชาวพื้นเมืองที่อาฟริกาใต้ในระหว่างปี
พ.ศ. ๒๔๔๒ - ๒๔๔๕ ร่วมกับนายทหารในกองพันที่ ๑
แต่ด้วยพระอิสริยยศซึ่งทรงดำรงอยู่ในฐานะพระรัชทายาทแห่งสยามประเทศ
รัฐบาลอังกฤษและทางราชการไทยจึงได้พร้อมกันระงับมิให้เสด็จไปในสงครามครั้งนั้น
อนึ่งในระหว่างที่ทรงประจำการในกองทัพอังกฤษนั้น
ได้เสด็จไปทรงร่วมสวนสนามกับนายทหารในกรมทหารราบเบาเดอรัมที่ไฮด์ปาร์ค
(Hyde Park) กรุงลอนดอน
ซึ่งได้ทรงเล่าถึงเหตุการณ์คราวนั้นไว้ว่า
...เมื่อทรงเป็นนายทหารใหม่ๆ
เวลามีสวนสนามที่บริเวณไฮด์ปาร์ค
ทรงแต่งพระองค์เต็มยศเครื่องสนาม
ทรงสายสพายจักรีสีเหลืองสด
ทรงเป็นหนุ่มทั้งแท่ง
ทรงคุยอวดว่าผู้หญิงฝรั่งติดกรอ
คราวหนึ่งทรงนำแถวทหารราบเบาเดอรัม
พอถึงสี่แยกแห่งหนึ่งมีสุภาพสตรีอังกฤษถลันวิ่งออกมาส่งช่อดอกไม้ให้
แล้วก็จูบพระองค์กลางสนามนั่นเอง
พระองค์ทรงอายเกือบแย่
ตั้งแต่นั้นมาต้องทรงรับแขกผู้หญิงอังกฤษมิได้ว่างเว้น
ต้องประทานเลี้ยงน้ำชาบ้าง ดินเน่อร์บ้าง
ทรงเล่าขำๆ ว่า บางวันเงินหมดต้องให้ฮื่อ
[๔]
ไปจัดการ...
[๕] |
เมื่อไม่อาจจะเสด็จไปทรงร่วมรบในสงครามบัวร์ตามพระราชประสงค์
จึงได้เสด็จไปทรงศึกษาเพิ่มเติมในวิชาการทหารปืนใหญ่
โดยได้เสด็จไปประจำการที่หน่วยภูเขาที่ ๖
ค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ ณ ดาร์ทมัว (Dartmour)
ใกล้โอคแฮมตัน (Okehampton)
และอีกเดือนหนึ่งถัดมาได้เสด็จไปทรงฝึกอบรมวิชาปืนเล็ก
ที่ School of Musketry เมืองไฮท์ (Hythe)
ทรงได้รับประกาศนียบัตรพิเศษและเหรียญแม่นปืน
ภายหลังจากที่ได้เสด็จเข้าประจำการในกรมทหารราบเบาเดอรัม
เพื่อทรงเรียนรู้ชีวิตนายทหารประจำการชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชก็ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาพลเรือนที่มหาวิทยาลัยอ๊อกสฟอร์ด
(Oxford University) เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๔๔๒
ตามหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยจัดถวายพระราชวงศ์อังกฤษ
[๖]
และได้เสด็จไปประทับที่แคนทะเบอรี่ควอด
(Canterbury Quad) วิทยาลัยไครสเชิช (Christ
Church) เป็นเวลาเกือบจะ ๒ ปี เฉกเช่นนิสสิตทั่วไป
วิชาที่ทรงศึกษานั้นประกอบไปด้วย ประวัติศาสตร์
กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์
ส่วนวิชาการปกครองนั้นได้ทรงศึกษาเน้นหนักในเรื่องการปกครองของประเทศอังกฤษและการปฏิวัติของฝรั่งเศสโดยละเอียด
ในระหว่างปิดภาคเรียนภาคฤดูร้อน พ.ศ. ๒๔๔๓
ทรงพระประชวรพระอันตะ (ไส้ติ่ง) อักเสบ
...พระอาการเข้าเขตอันตราย
การจะถวายการรักษาถึงขั้นผ่าตัดใหญ่
จำเป็นต้องกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบใต้ฝ่าละอองลีพระบาทรัชกาลที่
๕ เสียก่อน
เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว
จึงจะดำเนินการได้ การคมนาคม
สมัยนั้นอย่างดีก็โทรเลข
ระยะเวลาที่จะติดต่อกันได้ก็ต้องตกอยู่ในราว
๕ - ๗ วัน
เพราะต้องถ่ายทอดกันมาหลายประเทศ
พระอาการยิ่งน่าวิตก นายแพทย์เกือบๆ
จะไม่รับรองอยู่แล้ว
ในที่สุดเมื่อถึงระยะคับขัน
นายแพทย์ลงความเห็นว่า
ถ้ามิได้ถวายการผ่าตัดทันเวลาเป็นเสด็จทิวงคตแน่
แต่ถ้าผ่าตัดมีหวังราว ๒๕%...
[๗] |
นายพันเอก พระยาราชวัลภานุสิษฐ (อ๊อด ศุภมิตร -
เจ้าพระยาราชศุภมิตร)
ราชองครักษ์และพระอภิบาลฝ่ายทหารได้กล่าวไว้ในหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ ๑ มิถนายน ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ว่า
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
เริ่มมีพระอาการประชวรปวดพระเศียรและพระนาภีมาตั้งแต่เช้าวันที่
๒๕ พฤษภาคม นายแพทย์ Collier
แพทย์ประจำวิทยาลัยไครส์เชิชและนายแพทย์ Manson
แพทย์ประจำพระองค์ถวายการตรวจรักษาเบื้องต้น
พระอาการไม่ดีขึ้นจนวันที่ ๓๐ พฤษภาคม
นายแพทย์ผู้ถวายการรักษาทั้งสองคนได้ประชุมปรึกษากันเชิญนายแพทย์ผู้ชำนาญการบาดแผลสำคัญมาถวายการตรวจ
และมีความเห็นว่าทรงพระประชวรพระอันตะ (ไส้ติ่ง)
อักเสบ ต้องผ่าเอาหนองออก...
ถ้าทิ้งไว้ให้แตกแล้ว ก็อาจจะเปนอันตรายได้
เพราะฉนั้นหมอจะขออนุญาต ถ้าไม่ยอมให้หมอผ่าแล้ว
หมอก็จะไม่ยอมรับผิดชอบ... ครั้นหมอ Manson
กราบทูลชั้แจงพระโรคที่ประชวนและจะต้องขอผ่า
ก็ทรงอนุญาตให้ผ่าโดยดี
มิได้ทรงพระสทกสท้านประการใด
แพทย์จึงได้พร้อมกันถวายผ่าตัดในบ่ายวันเดียวกันนั้น
 |
พระบรมฉายาลักษณ์เมื่อประทับทรงศึกษาที่มหาวิทลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
|
เมื่อทรงหายจากพระประชวรครั้งนั้นแล้ว
ได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
และก่อนที่จะเสด็จออกจากมหาวิทยาลัยโดยไม่ทรงเข้าสอบไล่ตามประเพณีของพระราชวงศ์อังกฤษนั้น
คณบดีพาเจต (Dean Parget) และสาธุคุณฮัสเซล (Rev.
Hassel)
ได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้เป็นที่ระลึกสักเล่มหนึ่ง
จึงทรงค้นคว้าและพระราชนิพนธ์หนังสือทำนองวิทยานิพนธ์เรื่อง
The War of the Polish Succession
และสำนักพิมพ์แบล็คเวลลล์ (Blackwell Press)
ของมหาวิทยาลัยอ๊อกสฟอร์ดได้พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี
พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาได้มีผู้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส
และพระยาบุรีนวราษฐ (ชวน สิงหเสนี)
ราชเลขานุการในพระองค์ฝ่ายต่างประเทศได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตแปลเป็นภาษา
ไทยในชื่อ สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์
ในการแปลเป็นภาษาไทยนั้น ผู้แปลได้บันทึกไว้ว่า แปลยาก
แต่ก็ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงตรวจ
ต่อจากนั้นได้เสด็จไปทรงรับการอบรมวิชาทหารปืนใหญ่ภูเขาที่
กองทหารปืนใหญ่หลวงที่ออลเดอร์ช็อต (Battery of
the Royal Artillery, Aldershot)
ในระหว่างการอบรมนี้ทรงเล่าว่า
...ได้ทรงรับการฝึกอบรมอย่างทหารจริงๆ
...ต้องทรงกวาดขี้ม้า ทรงใส่เกือกม้า ทรงแคะกีบม้า
ทรงอาบน้ำม้า แล้วทรงฝึกขี่ม้าอย่างจริงจัง
เคยทรงเล่าว่า ทรงขี่โลดโผนพลิกแพลงทุกประการ
ฉะนั้นการทรงม้าจึงได้ทรงเชี่ยวชาญพอใช้...
[๘]