พระยาปรีชานุสาสน์จึงได้ขอให้พระสาโรชรัตนนิมานก์
(สาโรช ร. สุขยางค์) และหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ
ปัทมะจินดา)
ร่วมกันออกแบบหอนาฬิกาพร้อมระฆังรูปสี่เหลี่ยมมีลวดลายเป็นพิเศษแบบสุโขทัย
โดยตกลงกันไว้แต่แรกว่า จะสร้างหอนาฬิกานี้
 |
 |
พระสาโรชรัตนนิมานก์ (สาโรช ร. สุขยางค์) |
หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมะจินดา) |
 |
แบบพิมพ์เขียวหอนาฬิกาและระฆังรูปสี่เหลี่ยม |
 |
วงเวียนหน้าหอประชุมที่จะสร้างหอนาฬิกา |
"...ที่สนามวงเวียนหน้าหอประชุม
กรรมการ [๑]
ได้ตกลงเห็นว่า รูปร่างที่จะสร้างดีแล้ว
ส่วนสถานที่ควรให้ช่างกะให้เข้ากับแผนผังทั่วไป
ได้สั่งให้มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์
อำมาตย์โท พระสาโรชรัตนนิมมานก์
หัวหน้ากองสถาปัตยกรรมกระทรวงธรรมการ
และรองเสวกเอก หลวงสรรสารกิจ ผู้แทนของคณะไทยเขษม
ปรึกษาหารือเลือกได้แห่งหนึ่งบนเนินหลังสนามฟุตบอลใกล้กลางโรงเรียน..."
[๒] |
 |
 |
แผ่นป้ายโฆษณาของคณะไทยเขษม |
เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตในตอนปลายปี
พ.ศ.๒๔๗๒ แล้ว จึงได้เริ่มการก่อสร้างหอนาฬิกานี้
โดยยี่ห้อกวงฮ้องเส็ง
เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในวงเงินค่าจ้างเหมา ๔,๙๐๐๐
บาท
ส่วนการปรับแก้หน้าปัดนาฬิกาเป็นสี่ด้านพร้อมติดตั้งนั้นบริษัท
เอส.เอ.บี. จำกัด เป็นผู้ดำเนินการในวงเงินรวม
๑,๗๕๐ บาท รวมค่าก่อสร้างและปรับแก้นาฬิกาเป็นเงิน
๖,๖๕๐ บาท
เกินกว่าเงินรายได้จากการจัดแสดงละครพระราชนิพนธ์
เรื่อง "ล่ามดี" และ "ชิงนาง" กับเรื่อง
"งดการสมรส" และ "หาโล่"
ซึ่งคณะละครบรรดาศักดิ์ไทยเขษม ได้จัดแสดง ณ
โรงโขนหลวงสวนมิสกวัน เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.
๒๔๘๑ และ เมื่อวันที่ ๒ มกราคมพ.ศ. ๒๔๗๒
ซึ่งสามารถจัดเก็บเงินทั้งสองปีไว้ได้เพียง
๖,๔๔๔.๔๐ บาท
การที่จะหล่อระฆังใหม่มีลวดลายเป็นพิเศษแบบสุโขทัยตามความจำนงเดิม
เพื่อให้เข้าคู่กับหอนาฬิกาที่สร้างขึ้นใหม่นั้นจึงต้องระงับลง
แต่
"...ได้ตกลงดัดแปลงระฆังที่ใช้ตีบอกทุ่มโมงของนาฬิกาแก้ไขไปพลางก่อน
เมื่อมีโอกาสภายหลังจะหล่อระฆังตามความประสงค์เดิม
การเปลี่ยนแปลงต้องเสียค่าจ้างเป็นเงิน ๔๐ บาท
กับต้องซื้อระฆังใหม่สำหรับใช้ตีบอกเวลาของนาฬิกาให้เหมาะกับที่ๆ
บรรจุ ๑ ระฆัง เป็นเงิน ๒๕ บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๖,๗๕๕ บาท ยังขาดอยู่ ๓๑๐
บาท ๖๐ สตางค์..."
[๓]
ส่วนเงินจำนวนที่ขาดอยู่นั้น
คณะละครไทยเขษมได้แบ่งเงินรายได้จากการจัดแสดงละครพระราชนิพนธ์เรื่อง
"เห็นแก่ลูก" และ "ผิดวินัย"
ซึ่งได้จัดแสดงเมื่อวันที่ ๒๘ และ ๓๑
ธันวาคมพ.ศ.๒๔๗๓ มาสมทบ
 |
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอนาฬิกานี้
เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาในงานประจำปีของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๓
 |
พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) |
อนึ่ง นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง จมื่นเทพดรุณาทร
(เปรื่อง กัลยาณมิตร)
ได้กล่าวถึงการเตรียมการจัดแสดงละครพระราชนิพนธ์นิพนธ์
เพื่อเก็บเงินสมทบการก่อสร้างหอระฆังและนาฬิกาที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยไว้ใน
"วชิราวุธานุสรณ์ ๒๕๐๕" ว่า
"...พอใกล้จะถึงวันแสดงจะพิมพ์สูจิบัตร
หลวงสรรสารกิจจึงเอ่ยขึ้นในหมู่พวกพ้องที่สำนักงานว่า
สูจิบัตรจะถวายพระนามท่านว่าอย่างไร?
พระพุทธเจ้าหลวงก็ถวายพระนามแล้วว่า
พระปิยมหาราช..."
[๔]
บรรดาผู้ที่มาร่วมซ้อมละครในวันนั้น
"...ต่างพากันนิ่งอึ้งไม่รู้ว่าจะคิดว่าอย่างไร?
ขณะนั้นเองพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)
ก็เอ่ยออกมาว่าถวายพระนามท่านว่า
"พระมหาธีรราชเจ้า" เป็นอย่างไร?
บัดดลนั้นเองทุกคนที่นั่งอยู่ ณ
ที่นั้นก็สนับสนุนเห็นพ้องต้องกันป็นเอกฉันท์..."
[๕]
และเมื่อคณะละครไทยเขษมจัดพิมพ์สูจิบัตรละครซึ่งจัดแสดงในวันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ว่า
"สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" แล้ว
ปวงชนชาวไทยจึงได้พร้อมกันถวายพระราชสมัญญาภิไธยแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า
"สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" อันมีความหมายว่า
"มหาราชผู้ทรงเป็นจอมปราชญ์"
สืบมาถึงกาลปัจจุบัน