ระฆัง
หง่าง, หง่าง, หง่าง, หง่าง, หง่าง, หง่าง,
หง่าง, หง่าง, หง่าง)
ตื่นขึ้นเถอะพวกเราเหล่าพี่น้อง
แสงอุทัยไขส่องเรืองอร่าม
รุ่งอรุณนี้หรือคือเป็นยาม
อากาศสดงดวามแสนสบาย ... |
|
ตอนหนึ่งของบทเพลง ตื่นขึ้นเถอะ
บทประพันธ์ของท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล
ที่ยกมาข้างต้น
แสดงถึงบทบาทของเสียงระฆังกับนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
นับแต่ตื่นนอนไปจนเข้านอน
แม้วชิราวุธวิทยาลัยจะมีอายุยืนยาวมากว่า ๑๐๐ ปี
และเทคโนโลยีการให้สัญญาณจะเปลี่ยนไปอย่างไร
แต่วชิราวุธวิทยาลัยก็ยังคงใช้ระฆังเป็นเครื่องบอกเวลาตลอดมา
ไม่มีเปลี่ยนแปลง
การที่วชิราวุธวิทยาลัยใช้เสียงระฆังเป็นสัญญาณบอกเวลานั้นก็เนื่องมาจากพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงพระมหากรุณาสถาปนาสถาบันการศึกษานี้ขึ้นแทนพระอารามหลวงประจำรัชกาล
ในเมื่ออารามต่างๆ
ล้วนมีธรรมเนียมลั่นระฆังเป็นสัญญาณเรียกประชุมสงฆ์ลงอุโบสถกระทำสังฆกรรมและบอกเวลา
ในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือปัจจุบันคือวชิราวุธวิทยาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ
ให้ลั่นระฆังป็นการให้สัญญาณเรียกประชุมครูและนักเรียนกับบอกเวลาเช่นเดียวกับธรรมเนียมปฏิบัติของคณสงฆ์
 |
ระฆังเล็กบนหอประชุม |
ระฆังที่ใช้ในวชิราวุธวิทยาลัยมีอยู่ ๒ ใบๆ
หนึ่งคือระฆังใหญ่ที่หอนาฬิกา
ปกติระฆังใหญ่นี้จะลั่นเพียงวันละครั้งเวลา ๘.๓๐
น. ทุกวันจันทร์ - วันเสาร์
เป็นสัญญาณเรียกประชุมครูและนักเรียนขึ้นหอประชุมสวดมนต์ไหว้พระประจำวัน
ส่วนวันอาทิตย์ลั่นระฆัง เวลา ๙.๐๐ น.
เป็นการเรียกประชุมสวดมนต์ทำวัตรเช้าและสดับพระธรรมเทศนาหรือโอวาทแล้วแต่กรณี
และในกาสที่มีการเรียกประชุมครูและนักเรียน เช่น
ในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่
๒๕ พฤศจิกายนของทุกปี
ในงานพระราชทานประกาศนียบัตรและรางวัลประจำปี
รวมทั้งการถือใบคะแนนในวันเสาร์สิ้นเดือน ฯลฯ
ส่วนระฆังเล็กที่หอประชุมชั้นบน
เป็นระฆังให้สัญญาณบอกเวลา
ซึ่งในแต่ละวันมีการลั่นระฆังนี้ต่างกันวันละหลายเวลา
เริ่มตั้งแต่
เวลา ๖.๓๐ น. |
ระฆังปลุกตอนเช้า |
เวลา ๗.๐๐ น. |
ระฆังสัญญาณเข้าเรียนชั่วโมงหรือคาบแรก |
เวลา ๘.๐๐ น. |
เลิกเรียนชั่วโมงหนึ่งหรือคาบแรก |
เวลา ๙.๐๐ น. |
สัญญาณเข้าเรียนชั่วโมงสอง |
เวลา ๑๐.๐๐ น. |
หมดชั่วโมงเรียนที่สอง
เริ่มชั่วโมงเรียนที่สาม |
เวลา ๑๐.๕๐ น. |
เลิกเรียนชั่วโมงที่สาม
พีกรับแระทานอาหารว่าง |
เวลา ๑๑.๑๕ น. |
สัญญาณเข้าเรียนชั่วโมงที่สี่ |
เวลา ๑๒.๑๐ น. |
เลิกเรียนชั่วโมงที่สี่
เริ่มเรียนชั่วโมงที่ห้า |
เวลา ๑๓.๐๐ น. |
เลิกเรียน
กลับคณะรับประมาณอาหารกลางวัน |
เวลา ๑๔.๐๐ น. |
เริ่มเรียนดนตรี หรือศิลปะ
หรือเข้าเพรบกลางวัน |
เวลา ๑๕.๐๐ น. |
เลิกเรียนดนตรี หรือศิลปะ
หรือเลิกเพรบกลางวัน |
เวลา ๑๕.๔๕ น. |
เข้าแถวกีฬาที่หน้าตึกวชิรมงกุฎ
ตรวจนับยอดแล้วแยกย้ายกันไปเล่นกีฬา |
เวลา ๑๘.๐๐ น. |
เลิกกีฬา |
เวลา ๑๙.๐๐ น. |
เข้าเพรบกลางคืน |
เวลา ๒๐.๔๕ น. |
สวดมนต์เข้านอน |
รูปแบบสัญญาณระฆังนั้นมี ๒ รูปแบบ
แบบที่หนึ่งเป็นสัญญาณปลุกในตอนเช้าและสวดมนต์เข้านอน
กับเป็นสัญญาณเข้าห้องเรียนและเรียกประชุมครูนักเรียน
วิธีการลั่นระฆังแบบนี้
เริ่มจากลั่นระฆังครั้งละลูกแล้วเว้นระยะ
แล้วเร่งจังหวะขึ้นตามลำดับจนถึงรัวระฆังในตอนท้าย
แล้วจึงจบลงด้วยการลั่นครั้งละ ๒ ลูก รวม ๓ ครั้ง
อีกแบบหนึ่งเป็นระฆังให้สัญญาณเลิกเรียนหรือลิกเพรบ
เป็นการลั่นระฆัง ครั้งละ ๒ ลูก รวม ๓ ครั้ง
นอกจากระฆังที่หอนาฬิกาและที่หอประชุมที่ให้อาณัติสัญญาณแก่ครูและนักเรียนทั้งโรงเรียนแล้ว
คณะเด็กโตแต่ละคณะก็ยังมีระฆังเป็นเครื่องให้สัญญาณแก่นักเรียนในคณะ
เช่น ระฆังเข้าแถวเดินไปรับประทานแต่ละมื้อ
ระฆังเข้าเพรบและเลิกเพรบ ฯลฯ
โดยหัวหน้าเวรแต่ละวันเป็นผู้รับผิดชอบตีระฆังให้สัญญาณในแต่ละวัน
 |
พิมพ์เขียวระฆังสี่เหลี่ยมที่หอนาฬิกา |
เมื่อแรกตั้งโรงเรียนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นยังไม่พบหลักฐานว่า
ระฆังในยุคนั้นมีรูปแบบอย่างไรและแขวนไว้ที่ไหน
แต่เมื่อออกแบบก่อสร้างหอนาฬิกาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นพบแบบระฆังที่หอนาฬิกาเป็นรูปสี่เหลี่ยม
แต่เนื่องจากไม่มีงบประมาณจัดสร้างหรือมีอุปสรรคใดไม่ปรากฏ
จึงไม่มีการหล่อระฆังตามแบบนั้นเลย
จนเมื่อฉลองโรงเรียนครบ ๑๐๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓
คณะนักเรียนเก่าฯ รุ่น ๔๓
ได้ร่วมกันออกทุนทรัพย์หล่อระฆังสี่เหลี่ยมตามแบบรูปโดยย่อส่วนลงเล็กน้อย
เมื่อนำขึ้นไปแขวนที่หอนาฬิกาแล้วปรากฏว่า
เสียงไม่ดัง
กังวานเหมือนระฆังกลมใบเดิม
จึงได้ปลดระฆังสี่เหลี่ยมนั้นลงไปเก็บไว้ที่หอประวัติโรงเรียน
 |
ระฆังวัดที่คณะจิตรลดา |
ส่วนระฆังที่ใช้งานในโรงเรียนเป็นปกตินั้น
ชั้นเดิมนั้นไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่า
หล่อขึ้นเมื่อใดและหน่วยงานใดเป็นผู้รับผืดชอบการหล่อ
ต่อมาในสมัยที่พระยาภะรจราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา)
ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยนั้น
มีหลักฐานว่า
โรงเรียนได้ขอรับการสนับสนุนจากการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งมีความชำนาญการหล่อระฆังใช้ตามสถานีรถไฟทั่วประเทศเป็นผู้หล่อระฆังทองเหลืองให้โรงเรียนใช้แทนระฆังเดิมที่แตกชำรุด
แต่ปัจจุบันอาจจะหาระฆังกลมแบบเดิมไม่ได้
เมื่อระฆังเดิมชำรุดบางคณะจึงต้องซื้อระฆังที่ใช้ตามวัดมาใช้งานแทน