บทความปัจจุบัน
|
บทความย้อนหลัง
:
ตอนที่
๑ - ๒๐ |
๒๑ - ๔๐
|
๔๑ - ๖๐
|
๖๑ -
๘๐
|
๘๑ -
๑๐๐
|
๑๐๑ -
๑๒๐
| ๑๒๑
-
๑๔๐
| |
|
๑๔๑ -
๑๕๙
| |
| ๑ |
๒
| ๓
| ๔
| ๕
| ๖
| ๗
| ๘
| ๙
| ๑๐
| ถัดไป | |
|
๓.
กองลูกเสือหลวง
(รักษาพระองค์) ๑ |
|
เนื่องในโอกาสที่กองลูกเสือหลวง (รักษาพระองค์)
จะมีกำเนิดมาครบ ๑๐๑ ปีบริบูรณ์ ในวันที่ ๒ กันยายน
ศกนี้
จดหมายเหตุวชิราวุธตอนนี้จึงขอนำเสนอประวัติความเป็นมาของกองลูกเสือหลวง
(รักษาพระองค์) ซึ่งเป็นกองลูกเสือกองแรกของประเทศสยาม
ดังนี้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนากองเสือป่าขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๔๕๔ แล้ว ต่อมาอีกเพียงเดือนเศษก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศใช้ ข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือ
ซึ่งทรงยกร่างขึ้นด้วยลายพระราชหัตถ์ เมื่อวันเสาร์ที่
๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔)
จึงถือกันว่าได้พระราชทานกำเนิดกิจการลูกเสือขึ้นในแผ่นดินสยามมาตั้งแต่วันนั้น
 |
ข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือ ร.ศ. ๑๓๐
ฉบับลายพระราชหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
|
ในข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือฉบับดังกล่าว
ทรงกำหนดประเภทและคุณสมบัติของลูกเสือไว้ ดังนี้
ข้อ ๓๑ ลูกเสือมี ๓ ชั้น
นอกจากนายหมู่และผู้ช่วยนายหมู่ คือ |
(๑) |
|
ลูกเสือเอก
คือลูกเสือที่ได้สอบไล่ความรู้พอให้แลเห็นได้ว่าต่อไปจะใช้
เปนผู้ช่วยป้องกันรักษาชาติบ้านเมืองได้ |
(๒) |
|
ลูกเสือโท
คือลูกเสือที่ยังมิได้สอบไล่เปนลูกเสือเอก
แต่ได้สอบไล่ความรู้ชั้นต้นแล้ว
และเฃ้าประจำกองแล้ว |
(๓) |
|
ลูกเสือสำรอง
คือเด็กที่กองได้รับไว้ฝึกหัดสำหรับเปนลูกเสือโทต่อไป |
|
|
|
ข้อ ๓๒ ผู้ที่จะรับเฃ้าเปนลูกเสือสำรองได้ คือ:- |
(๑) |
|
เด็กชายที่มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๑ ปีเต็ม (คือย่างเฃ้าปีที่
๑๒) และ
ไม่สูงกว่า ๑๘ ปีเต็ม (คือย่างเฃ้าปีที่ ๑๙)
และร่างกายสมประกอบ |
(๒) |
|
เปนนักเรียนอยู่ในโรงเรียนซึ่งเปนที่ตั้งกอง
ฤาเปนบุตร์ผู้ที่มีหลักฐาน |
(๓) |
|
ต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาฤาผู้ปกครอง
ความยินยอมอันนี้
ต้องให้ผู้สมัคนำมาเปนลายลักษณ์อักษร
เพื่อป้องกันความเฃ้าใจผิดต่างๆ |
(๔) |
|
ต้องเฃ้าใจว่า การที่จะเปนลูกเสือนั้น
โดยความมุ่งหมายจะสนองพระเดชพระคุณ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และจะรักษาบ้านเมือง เมื่อเฃ้าใจความในข้อ ๔
นี้แล้ว
จึ่งจะรับเข้าเปนสำรองได้
[
1
] |
|
 |
นายกองโท
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
(สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) |
แต่ก่อนที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศใช้ข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือนั้น
น่าจะได้มีพระราชปรารภกับพระยาไพศาลศิลปสาตร์ (สนั่น
เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
[
๒
]
กรรมการจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงถึงพระราชประสงค์ที่จะให้จัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นตัวอย่างที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
จึงมีหลักฐานปรากฏเป็นความตอนหนึ่งในหนังสือที่พระยาไพศาลศิลปสาตร์กราบบังคมทูลพระกรุณาเมื่อวันที่
๒๕ มิถุนายน ร.ศ. ๑๓๐ ว่า
|
๓.
ข้าพระพุทธเจ้าได้เริ่มต้นเตรียมนักเรียนไว้สำหรับการเปนลูกเสือตั้งแต่วันที่
๒๐ เดือนนี้ คือ
ได้เรียกนักเรียนประชุมพร้อมกัน
แล้วเล่าให้ฟังถึงเรื่องที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งกองลูกเสือขึ้นในไม่ช้า
โรงเรียนทั้งหลายโดยมากคงจะได้เปนที่ตั้งกองลูกเสือ
และถ้ากองไหนดียิ่งยวดก็จะโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเกียรติยศพิเศษให้เปนลูกเสือหลวง
ถ้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวงไม่ได้เปนกองที่ ๑
ในมณฑลกรุงเทพฯ และไม่ได้เปน ลูกเสือหลวง
โรงเรียนอื่นเขากลับได้เปน
นักเรียนทั้งหลายในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงจะได้ความอับอายขายหน้าเพียงไร
พวกเราจะทนความอายเช่นนั้นได้หรือ
เพราะฉะนั้นพวกเราทั้งหลายต้องรีบขวนขวายเตรียมตัวไว้
เมื่อถึงเวลาเข้าเราได้เปนก่อนเขาก็จะได้เปนกองที่
๑ ในมณฑลกรุงเทพฯ
และเมื่อเราช่วยกันรักษาชื่อเสียงของโรงเรียนไว้ให้ดี
ก็คงจะได้รับพระมหากรุณาได้เปนลูกเสือหลวงก่อนโรงเรียนอื่นๆ
การตระเตรียมนี้จะต้องตั้งต้นเสียทีเดียว
และข้าพระพุทธเจ้ารับแก่นักเรียนว่าจะเปนผู้ช่วยจัดให้
แต่จะต้องเลือกคัดขึ้นฝึกสอนแต่น้อยคนก่อน
การสอนนี้จะสอนธรรมจริยาเปนพื้น
ผู้ที่ได้เรียนแล้วจะได้ช่วยกันชักจูงเพื่อนนักเรียนอื่นๆ
เปนลำดับไป
ความตั้งใจของข้าพระพุทธเจ้าในการคัดนักเรียนเช่นนั้น
ก็เพื่อจะโดยเสด็จตามรอยฝ่าลอองธุลีพระบาทในพระราชนิยมเรื่องพันแขนเหลืองหรือขนนกปักหมวกของกองเสือป่า
ข้าพระพุทธเจ้าเชื่อด้วยเกล้าฯ
แล้วว่าได้ประโยชน์มาก
นักเรียนที่ยังไม่ได้คัดข้าพระพุทธเจ้าก็กำชับไม่ให้ท้อถอย
ให้พยายามทำดีที่จะได้ถูกคัด
นักเรียนที่ถูกคัดแล้วก็ห้ามไม่ให้ทะนง
ให้คงรักษาตัวดีอยู่เสมอ
เพื่อมิให้ต้องถอยหลังกลับลงไปได้
ในวันต้นนั้นโรงเรียนคัดได้นักเรียน ๘ คน
คือ
|
๒๘ |
|
นายเจือ [
๓
] |
บุตร์ นายชวน |
ชั้นประถม ๑ |
๔๗ |
|
หม่อมเจ้าเสรษฐพันธุ์ [
๔
] |
ในพระเจ้าวรวงษ์เธอ
กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ |
ชั้นมูล ๒ |
๔๙ |
|
นายสนิท [
๕
] |
บุตร์ พระอาทรธนพัฒน์ |
ชั้นมัธยม ๑ |
๖๐ |
|
นายสว่าง [
๖
] |
บุตร์ พระยาเพ็ชราภิบาล |
ชั้นมัธยม ๓ |
๙๐ |
|
นายเดช [
๗
] |
บุตร์ นายสุ่น |
ชั้นมัธยม ๓ |
๙๑ |
|
นายสุนทร [
๘
] |
บุตร์ พระยาศรีสุนทรโวหาร |
ชั้นมัธยม ๓ |
๙๒ |
|
นายเกื้อ [
๙
] |
บุตร์ พระยาศรีสุนทรโวหาร |
ชั้นมัธยม ๑ |
๙๔ |
|
นายเคล้า [
๑๐
] |
บุตร์ จมื่นมานิตนเรศร์ |
ชั้นมัธยม ๑ |
|
|
|
|
|
ข้าพระพุทธเจ้าได้เรียกนักเรียนคัดทั้ง ๘
คนนี้ไปประชุมพร้อมกันในห้องครูต่อหน้าอาจารย์และครูทุกคน
แล้วถามว่าใครเปนผู้มีใจเผื่อแผ่นึกถึงประโยชน์ของหมู่คณะมากกว่าประโยชน์เฉภาะตน
และอุทิศใจมอบกายที่จะรับทำกิจธุระให้แก่โรงเรียนโดยไม่คิดแก่เหน็จเหนื่อยและความยากลำบากส่วนตนให้ยืนขึ้น
นักเรียนยืนขึ้นทั้ง ๘ คน
ข้าพระพุทธเจ้าจึงรับว่าเปนการดีแล้วที่นักเรียนแสดงตนเปนคนมีใจเผื่อแผ่ทุกคนต่อหน้าครูบาอาจารย์เช่นนั้น
ให้นักเรียนรักษาข้อความที่ได้แสดงนี้ไว้ให้มั่น
ให้สมแก่เปนผู้ที่ฟังพระราชดำรัสแล้วว่า เสียชีวิตรอย่าเสียสัตย์
[
๑๑
] |
|
|
ต่อจากนั้นนักเรียนมหาดเล็กหลวงที่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นลูกเสือสำรองก็ได้สมัครเข้ารับการฝึกหัดวิชาชั้นต้นสำหรับการเป็นลูกเสือสำรอง
ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือ ว่า
|
ข้อ ๓๓ ผู้ที่จะเปนลูกเสือโทได้
ต้องได้เปนลูกเสือสำรองมาแล้ว ๑
เดือนเปนอย่างน้อย
และต้องสอบไล่ความรู้และความสามารถชั้นต้น
ดังต่อไปนี้ :- |
(๑) |
|
ฝึกหัดชั้นต้น คือรู้จักวิธี ระวังตรง หัน
เดิน หันเวลาเดิน เรียง ๒ เรียง ๔ |
(๒) |
|
รู้สัญญาณนกหวีด สัญญาไฟ และสัญญามือ
ตามที่กำหนดไว้ในแบบสั่งสอนเสือป่าและลูกเสือ |
(๓) |
|
เดินสะกดรอยไประยะทาง ๒๐ เส้นใน ๒๕ นาที
ฤาจะใช้วิธีจำสิ่งของที่กำหนดไว้ในการเล่น
เสือป่า ในบทที่ ๑
แห่งแบบสั่งสอนเสือป่าและลูกเสือนั้นก็ได้
แต่ต้องจำได้ ๑๖ สิ่งใน ๒๔ จึ่งจะใช้ได้ |
(๔) |
|
เดินอย่าง เดินเสือ ได้ ๔๐ เส้นต่อ ๑๒ นาที |
(๕) |
|
กองไฟและจุดในที่แจ้ง
กำหนดให้ใช้ไม้ขีดไฟไม่เกิน ๒ ฤา ๓ อัน |
(๖) |
|
รู้จักทิศ ทั้งทิศใหญ่ ทิศเฉียง รวม ๘ ทิศ
ต้องเรียกชื่อและชี้ให้ถูกด้วย |
|
|
|
|
 |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการฝึกหัดลูกเสือ |
|
|
อนึ่งในระหว่างที่ทรงยกร่างข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือนั้น
คงจะทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทอยู่แล้วว่า
ได้มีการเตรียมการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
และที่โรงเรียนราชวิทยาลัย
จึงได้ทรงยกตัวอย่างการขนานนามกองลูกเสือไว้ในข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือว่า
|
ข้อ ๓๐ ลักษณหมายเลขกองและหมู่
ให้ใช้เรียกตามนามมณฑล มีเลขประจำกอง
และเลขประจำหมู่ เช่น กองกรุงเทพฯ ที่ ๑
หมู่ที่ ๑ ดังนี้เปนตัวอย่าง
เลขประจำกองนั้นให้หมายเปนลำดับตามอายุของกองที่ตั้งขึ้นก่อนและหลังภายในมณฑลนั้น
และถ้าจะเพิ่มนามโรงเรียนฤานามพิเศษลงด้วยก็ได้
ให้เพิ่มเฃ้าต่อเลขประจำกอง เช่น
กองกรุงเทพฯ ที่ ๒ (ราชวิทยาลัย)
ดังนี้เปนตัวอย่าง
ส่วนการที่จะหมายเลขและเพิ่มนามโรงเรียน
ให้เปนน่าที่สภากรรมการมณฑลกำหนดแล้วบอกเฃ้ามาที่สภากรรมการกลาง
เพื่อจะได้ลงทะเบียฬไว้
แต่การเพิ่มนามพิเศษซึ่งมิใช่นามโรงเรียน
จะมีได้แต่โดยได้รับพระราชทานเปนเกียรติยศพิเศษเท่านั้น
เมื่อกองใดได้รับพระราชทานนามพิเศษเช่นนี้
ให้ใช้นามพิเศษแทนนามโรงเรียน เช่น
กองกรุงเทพฯที่ ๑ (ลูกเสือหลวง)
สำหรับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ดังนี้เปนตัวอย่าง
และถ้าได้รับพระราชทานนามพิเศษเปนเกียรติยศแล้ว
ห้ามมิให้ใช้นามโรงเรียนซ้ำเฃ้าอีกด้วยเปนอันฃาด
แต่เลขประจำกองให้คงอยู่ตามเดิม
[
๑๒
] |
|
|
 |
(ยังมีต่อ) |
|
|
[
๑ ]
หอวชิราวุธานุสรณ์.
ข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือ, หน้า ๗.
[
๒ ]
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
[
๓ ]
นายเจือ ยุวเสวี
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
ขุนวิโรจน์ประภา
[
๔ ]
หม่อมเจ้าเสรษฐพันธุ์ จักรพันธุ์
[
๕ ]
นายสนิท จารุจินดา
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
พระยาบำเรอภักดิ์
[
๖ ]
นายสว่าง ณ สงขลา
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
นายวิชัยดุรงค์ฤทธิ์
[
๗ ]
นายเดชน์ ธนสุนทร
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
จมื่นจงภักดีองค์ขวา
[
๘ ]
นายสุนทร สาลักษณ์
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรวาจนา
[
๙ ]
นายเกื้อ สาลักษณ์
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระบริหารสาราลักษณ์
[
๑๐
] นายเคล้า
คชนันทน์
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
หลวงสรรสารกิจ
[
๑๑
]
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๖ ศ.๔/๕๙
เรื่องโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (๑ มกราคม ๒๔๕๓ -
๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๗)
[
๑๒
] เรื่องเดียวกัน.
|