บทความปัจจุบัน
|
บทความย้อนหลัง
:
ตอนที่
๑ - ๒๐ |
๒๑ - ๔๐
|
๔๑ - ๖๐
|
๖๑ -
๘๐
|
๘๑ -
๑๐๐
|
๑๐๑ -
๑๒๐
| ๑๒๑
-
๑๔๐
| |
|
๑๔๑ -
๑๕๙
| |
| ๑ |
๒
| ๓
| ๔
| ๕
| ๖
| ๗
| ๘
| ๙
| ๑๐
| ถัดไป | |
|
๕.
กองลูกเสือหลวง
(รักษาพระองค์) ๓ |
|
ในระยะแรกตั้งกรมนักเรียนเสือป่าหลวงนั้น
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กองร้อยที่ ๑ (มหาดเล็กหลวง)
และกองร้อยที่ ๒ (ราชวิทยาลัย) เป็นเหล่าราบ
ส่วนกองร้อยที่ ๓ (พรานหลวง) นั้นเป็นเหล่าพราน
ครั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่
๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้นักเรียนเสือป่ามหาดเล็กหลวงเชียงใหม่
ซึ่งตั้งกองอยู่ที่ตำบลห้วยแก้ว เชิงดอยสุเทพ
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกองร้อยที่ ๔
ครั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้แยกนักเรียนเสือป่ากองร้อยที่ ๑ (มหาดเล็กหลวง)
ออกไปจัดเป็นกองร้อยที่ ๕ อีกกองหนึ่งแล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้นักเรียนเสือป่ากองร้อยที่ ๑, ๒, ๔ และ ๕
เปลี่ยนจากเหล่าราบมาเป็นเหล่าพราน และโปรดเกล้าฯ
ให้กรมนักเรียนเสือป่าหลวงย้ายไปขึ้นสังกัดกองเสนาน้อยราบเบา
จัดเป็นกองกำลังเคลื่อนที่เร็วร่วมกับกรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์
 |
กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ ๒ (ราชวิทยาลัย)
ณ โรงเรียนราชวิทยาลัย
ตำบลบางขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี |
|
|
อนึ่ง เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกกองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ ๑ (ลูกเสือหลวง)
และกองกรุงเทพฯ ที่ ๒ (ราชวิทยาลัย)
ขึ้นเป็นนักเรียนเสือป่าหลวง
เป็นอันขาดสถานภาพการเป็นลูกเสือแล้ว
สภากรรมการจัดการลูกเสือมณฑลกรุงเทพฯ
ก็ได้มีคำสั่งให้เลื่อนนามกองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่
๓ (สวนกุหลาบวิทยาลัย) กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ ๔ (เทพศิรินทร์)
และกองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ ๕ (ปทุมคงคา)
ขึ้นเป็นกองลูกเสือกรุงเทพฯที่ ๑, ๒, และ ๓
ตามลำดับ
กรมนักเรียนเสือป่าหลวงคงจัดอัตรากำลังเป็น
๕ กองร้อยเรื่อยมาจนถึงกลางปี พ.ศ. ๒๔๖๘
จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่
เพื่อปรับลดค่าใช้จ่ายในพระราชสำนักเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษาในเดือนมกราคม
๒๔๖๘
แต่ยังมิทันที่จะได้ยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวงและกองร้อยที่
๔ (มหาดเล็กหลวงเชียงใหม่)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระประชวรเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่
๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ กรมโรงเรียนในพระบรมราชู
ปภัมภ์ซึ่งทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
โรงเรียนราชวิทยาลัย และโรงเรียนพรานหลวง
ก็ได้ถูกยุบเลิกไปพร้อมกับการจัดระเบียบราชการในพระราชสำนักเมื่อสิ้นปี
พ.ศ. ๒๔๖๘
กรมนักเรียนเสือป่าหลวงที่มีอัตรากำลังเป็นนักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์จึงต้องถูกยุบเลิกไปในคราวเดียวกันนั้น
|
 |
ลูกเสือวชิราวุธวิทยาลัยในยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ.๒๔๗๕ |
|
|
ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกโรงเรียนราชวิทยาลัยมารวมเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
พร้อมกับพระราชทานนามให้ใหม่ว่า
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชแล้ว
ก็ได้มีพระราชดำริว่า
นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยนั้นได้เป็นนักเรียนเสือป่าและได้เคยฝึกหัดวิชาทหารต่อเนื่องกันมาโดยตลอด
หากจะละทิ้งเสียก็ทรงเสียดาย
จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยคงฝึกหัดวิชาทหารตามหลักสูตร
R.T.C. (Reserved Training Corps) ของอังกฤษ
ควบคู่ไปกับการฝึกหัดวิชาลูกเสือที่ได้จัดตั้งกองขึ้นใหม่
|
 |
นายพันโท หลวงพิบูลสงคราม (แปลก
ขีตตะสังคะ) |
|
|
ต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายพันโท หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตะสังคะ)
ผู้บังคับการกองผสมในการระงับเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๖
ได้ตระหนักถึงจิตใจที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญของลูกเสือที่ได้มีส่วนช่วยบำเพ็ญประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย
เมื่อนายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม
ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์
พหลโยธิน) แล้ว
จึงได้มีแนวคิดในที่จะสร้างอนุชนรุ่นใหม่ให้เป็นพลเมืองที่มีจิตตานุภาพในการสู้รบ
และเพื่อเตรียมพลเพื่อขยายกำลังรบในยามสงคราม
อันจำเป็นต้องมีการฝึกสอนและผลิตนายทหาร นายสิบาตามอัตราศึก
และเพื่อทดแทนกำลังพลที่สูญเสียไปในเวลามีศึกสงคราม
จึงได้ริเริ่มจัดตั้งหน่วยยุวชนทหารขึ้นตามแนวทาง ยุวชนนาซี
ของพรรคแรงงานสังคมชาตินิยมเยอรมัน (The National Socialist German Workers' Party)
โดยมอบหมายให้แผนกฝึกที่ ๖
กรมจเรทหารบกซึ่งต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกรมยุวชนทหารและเปลี่ยนชื่อเป็นกรมเตรียมการทหาร
เป็นผู้รับผิดชอบการฝึกหัดวิชาทหารซึ่งจัดแบ่งเป็น ๒ หลักสูตร คือ หลักสูตร ยุวชนนายทหาร
สำหรับนักเรียนมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมการเป็นผู้บังคับหมวด และหลักสูตร ยุวชนทหาร
สำหรับเตรียมนักเรียนชั้นมัธยมกลาง หรือชั้นมัธยมปีที่ ๔ - ๖
และนักเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งเดิมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลาย (มัธยม ๗ - ๘)
เป็นกำลังสำรองระดับนายสิบหรือผู้บังคับหมู่
ส่วนลูกเสือนั้นคงเหลือการฝึกหัดอยู่แต่ในหมู่นักเรียนชั้นมัธยมต้นและชั้นประถมศึกษา
|
|
 |
ยุวชนทหาร
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ |
|
|
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๖
ได้มีการประสานโครงการยุวชนทหารกับลูกเสือเข้าด้วยกัน
โดยการตราพระราชบัญญัติยุวชนทหารแห่งชาติ พ.ศ.
๒๔๘๖ กำหนดให้มีองค์การยุวชนแห่งชาติขึ้น
เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
กำหนดให้องค์กรยุวชนทหารเป็นทบวงการเมืองอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีในตำแหน่ง
ผู้บัญชาการยุวชนแห่งชาติ
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เป็นรองผู้บัญชาการฝ่ายยุวชนทหาร
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นรองผู้บัญชาการฝ่ายลูกเสือ
กับได้มีการจัดกำลังยุวชนทหารทุกประเภททุกเหล่าบรรจุตามอัตราสงครามเป็น
๓ กองพล (๒๗ กองพัน) พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชา
เตรียมการที่จะเข้าปฏิบัติการรบร่วมกับกองทหารประจำการได้ในทันที
แต่เนื่องมาจากการฝึกหัดยุวชนทหารตามแนวทางยุวชนนาซีของพรรคแรงงานสังคมชาตินิยมเยอรมันนั้น
นานาชาติต่างก็เห็นพ้องร่วมกันว่าเป็นแนวทางการอบรมเยาวชนที่เป็นภัยคุกคามต่อความสงบสุขของสังคมโลก
เมื่อพรรคแรงงานสังคมชาตินิยมเยอรมันต้องล่มสลายลงพร้อมกับการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่
๒
นานาชาติจึงได้เห็นพร้อมกันให้ยุบเลิกการฝึกหัดยุวชนตามแนวทางยุวชนนาซี
ซึ่งรัฐสภาของไทยก็ให้การยอมรับมติดังกล่าวและได้พร้อมกันตรา
พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ
พุทธศักราช ๒๔๘๖
อันทำให้การฝึกหัดยุวชนทหารต้องสิ้นสุดลงนับแต่วันที่
๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐
และพร้อมกันนั้นก็ได้มีการฟื้นฟูกิจการลูกเสือที่
มุ่งสอนให้คนทุกคนใช้ความคิดของตนเองเพื่อทำการโดยลำพัง
[
๑
]
ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
โดยมีการตราพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๔๙๐
ขึ้นใช้บังคับในวันเดียวกันนั้น
แต่ในทางราชการทหารยังตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดเตรียมกำลังสำรองตามแนวพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๑
สภาผู้แทนราษฎรจึงได้พร้อมกันตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๔๙๑ ขึ้นอีกฉบับหนึ่ง โดยความในมาตรา ๖
บัญญัติให้มีกรมการรักษาดินแดนเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม
และในมาตรา ๑๐
ได้บัญญัติถึงหน้าที่ของกรมการรักษาดินแดนไว้ว่า
มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการรักษาดินแดนเพื่อเป็นอุปกรณ์กองทัพในการป้องกันราชอาณาจักร
[
๒
]
ต่อจากนั้นมากรมการรักษาดินแดนก็ได้จัดการฝึกศึกษาวิชาทหารให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมปลายและนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
|
|
 |
|
|
[
๑ ]
รามจิตติ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
ประโยชน์แห่งเสือป่าและลูกเสือในเวลาสงคราม,
หน้า ๔.
[
๒ ]
พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๔๙๑, ราชกิจจานุเบกษา ๖๕ (๓ กุมภาพันธ์
๒๔๙๑), หน้า ๖๘-๗๗.
|