การประจำวันตามเวลาปรกติของโรงเรียน |
ย่ำรุ่ง [๑] |
ตื่นนอน |
ย่ำรุ่ง ๑๐ นาที |
กินน้ำชาเช้าในห้องเลี้ยง |
ย่ำรุ่งครึ่งถึงโมงครึ่ง |
ตรวจชื่อ หัดทหารหรือหัดยิมนาสติกส |
โมงครึ่ง |
อาบน้ำ
แต่งตัวสำหรับเรียน |
๒
โมงเช้า |
กินอาหารเช้าในห้องเลี้ยง |
๓
โมงเช้าถึงเที่ยง |
ตรวจชื่อ เข้าห้องเรียน |
เที่ยงครึ่ง |
กินอาหารกลางวัน |
บ่าย ๑
โมงครึ่งถึงบ่าย ๓ โมงครึ่ง |
ตรวจชื่อ เข้าห้องเรียน |
บ่าย ๓
โมง ๔๕ นาทีถึง ๔ โมงครึ่ง |
ผลัดเครื่องแต่งตัวหัดทหาร หรือยิมนาสติกส |
บ่าย ๔
โมงครึ่ง |
กินน้ำชาบ่าย แล้วออกเล่นในสนาม อาบน้ำ
แต่งตัวอย่างอยู่บ้าน
สรวมกางเกงไทย มีเสื้อนอก |
ย่ำค่ำครึ่ง
[๒] |
กินอาหารเย็น |
ทุ่มครึ่ง |
ตรวจชื่อ
เข้าเรียนเปนการตระเตรียมสำหรับวันรุ่งขึ้น |
๒ ทุ่ม |
พวกเล็กเลิกเรียนไปเข้าห้องนอน |
๒
ทุ่มครึ่ง |
ดับไฟตอนห้องนอนพวกเล็ก |
ยามหนึ่ง
[๓] |
พวกใหญ่เลิกเรียนไปเข้าห้องนอน |
ยามครึ่ง
[๔] |
ดับไฟตอนห้องนอนพวกใหญ่ |
|
|
หมายเหตุ |
แต่ ๓ โมงเช้าถึงบ่าย ๓
โมงครึ่งปิดห้องนอน
นักเรียนจะเข้าห้องนอนไม่ได้
เว้นไว้แต่ได้รับอนุญาตจากครูผู้กำกับเรือน |
|
เวลาต่างๆ ที่กำหนดไว้นั้น จะมีกระดิ่งสั่นให้สัญญาเปนสำคัญ ครั้งเดียวบ้าง
สองครั้งบ้าง
ถ้าสั่นสองครั้งๆ
แรกสำหรับให้รู้ตัวและเตรียมตัวไว้ |
|
นักเรียนหลวงกับนักเรียนสมัค
นักเรียนหลวงกับนักเรียนสมัคได้รับความเสมอภาคเหมือนกันหมด ตลอดเวลาอยู่ในโรงเรียน ต่างกันแต่นักเรียนหลวงได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องแล้วแต่พระราชประสงค์ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เรียนอยู่ หรือเข้ารับราชการทางใดเมื่อไรก็ได้
แต่นักเรียนสมัคนั้นเสียค่าเล่าเรียนของตัวเอง
การที่จะเรียนได้ตลอดถึงวิชาชั้นใด และเมื่อเรียนจบแล้วจะเลือกเข้าโรงเรียนวิชาพิเศษอย่างไรต่อไปอีก หรือจะออกประกอบการงานใดๆ
ทีเดียวก็ได้ตามปรารถนาทั้งสิ้น นักเรียนสมัคเมื่อถึงเวลาสมควรจะถวายตัวเปนมหาดเล็กหลวงได้ โรงเรียนก็จะได้จัดการให้ตามปรารถนา
 |
แบบใบรับรองนักเรียนสมัคของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง |
การรับนักเรียน
และเงินค่าเล่าเรียน
การรับนักเรียน วิชาไม่กำหนด แต่อายุต้อง ๖
ปีเต็มแล้วขึ้นไป
ในส่วนนักเรียนหลวงนั้น
แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานทุนเล่าเรียนแก่ผู้ใดที่ได้ถวายตัวเปนมหาดเล็กหลวงแล้ว
โรงเรียนจึงจะรับเข้าเปนนักเรียนหลวงได้
แต่ส่วนนักเรียนสมัค
ถ้ามีผู้รับรองซึ่งกรรมการอำนวยการโรงเรียนเห็นว่ามีหลักถานสมควรเชื่อได้
โรงเรียนก็รับเข้าเปนนักเรียนประเภทสมัคได้
โดยเรียกค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่ในโรงเรียนเดือนละ
๓๐ บาท ส่วนของเดือนคิดเต็มเดือน
ค่าเครื่องเรียนและเครื่องนุ่งห่มนักเรียนต้องออกเอง
ตามที่โรงเรียนกำหนดให้ว่าต้องมีอะไรเท่าไร
การสมัคนั้น
จะไปลงชื่อในสมุดสมัคที่มีไว้สำหรับโรงเรียน
ให้ผู้รับรองเซ็นชื่อรับรองไว้เปนสำคัญก็ได้
หรือถ้าอยู่ไกลจะมีหนังสือไปขอให้อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนจดลงในสมุดสมัคให้ก็ได้
แต่ต้องทำใบรับรองที่มีไว้เปนตัวอย่างในท้ายสมุดนี้
โรงเรียนจะรับนักเรียนสมัคเข้าตามลำดับที่ได้มาขอเซ็นสมัคไว้
แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุญาตไว้ว่า บุตร์กรรมการก็ดี
หรือต่อไปหากนักเรียนเก่าของโรงเรียนนี้จะมีบุตร์ขอสมัคเข้าเปนนักเรียนก็ดี
ให้ได้เลือกรับเข้าตามลำดับก่อนผู้อื่น
 |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงฉลองพระองค์อย่างอยู่บ้าน
ประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์พร้อม
"ย่าเหล"
สุนัขทรงเลี้ยง |
เครื่องแต่งตัวนักเรียน
นักเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้เครื่องแต่งตัวอย่างนักเรียนมหาดเล็กได้ทุกคน
ตามพระราชกำหนดเครื่องตัวข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนัก
[๕]
ซึ่งออกประกาศราชกิจจาเมื่อวันที่
๑๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๙ และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานให้เปนตัว อย่างคนละสำรับ
ต่อนั้นไปถ้าเปนนักเรียนสมัคก็ให้หาใช้ของตัวเองได้
แต่เมื่อออกจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวงแล้ว
จะใช้เครื่องแต่งตัวนี้ต่อไปอีกไม่ได้
เว้นไว้แต่ได้รับพระบรมราชานุญาตพิเศษ
เวลานักเรียนอยู่ในโรงเรียนตามปรกติแต่งตัวนุ่งผ้าสรวมเสื้อตามธรรมดา [๖]
เมื่อออกจากบริเวณโรงเรียนหรือเมื่อมีงานการในโรงเรียน
จึงแต่งเครื่องแต่งตัวนักเรียนมหาดเล็ก
บาญชีสิ่งของที่นักเรียนต้องหาไปสำหรับทุกคน |
๑
เสื้อขาวชั้นนอก
[๗] |
๖ ตัว
|
๒
เสื้อผ้าสีเทาอย่างซูตติงตามตัวอย่างของโรงเรียน
[๘] |
๒ ตัว |
๓ ผ้าพื้น
|
๖ ผืน |
๔
กางเกงขาสั้นสีน้ำเงินสำหรับสนาม
[๙]
ตามตัวอย่างของโรงเรียน |
๒ ตัว |
๕
กางเกงไทย |
๖ ตัว |
๖
เสื้อชั้นใน [๑๐] |
๑๒ ตัว |
๗
ผ้าเช็ดหน้า |
๑๒ ผืน |
๘
ถุงเท้าขาวและดำอย่างละ |
๖ คู่ |
๙
รองเท้าดำ |
๑ คู่ |
๑๐
รองเท้าขาว (ถ้าเปนเด็กใหญ่ให้เปนรองเท้ายาง
๑ คู่) |
๒ คู่ |
๑๑
หมวกสักหลาด หรือหมวกแกปก็ได้
|
๑ ใบ |
๑๒
ผ้าเช็ดหน้าขน |
๒ ผืน |
๑๓
ผ้าอาบน้ำ (เด็กเล็กไม่ต้องมี)
|
๑ ผืน |
๑๔
ผ้าห่มนอน |
๑ ผืน |
๑๕ หวี
|
๑ เล่ม |
๑๖
แปรงสีฟัน |
๒ อัน |
๑๗
หีบหรือกระเป๋าหนังสำหรับบรรจุสิ่งของเหล่านี้
|
๑ ใบ |
|
(จบระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงฯ
เพียงนี้) |
อนึ่ง ระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงฉบับนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรรายละเอียดทั้งหมดแล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา
โดยมีพระยาไพศาลศิลปสาตร (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
เป็นผู้รับพระบรมราชโองการมาออกประกาศ
จึงอาจกล่าวได้ว่า
ระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงฉบับนี้เป็นกฎหมายในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชฉบับ
หนึ่งซึ่งการเปลี่ยนแปลงใดๆ
ต้องกระทำโดยพระบรมราชโองการ
และเมื่อทอดพระเนตรระเบียบการข้างต้นนั้น
ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยให้แก้ไขความบางตอนในต้นร่างที่พระยาไพศาลศิลปสาตร
กรรมการอำนวยการโรงเรียนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย คือ
ระเบียบการนั้นดีแล้ว แต่ขอแก้คำบ้าง
คือคำเรียกเทอมว่า "เทอมวิสาขบูชา" กับ
"เทอมมาฆบูชา" ทั้ง ๒ นี้ ถ้าตัด "บูชา"
ออกเสียจะกะทัดรัดกว่า และ "สาขะ" กับ "มาฆะ"
ก็เปนคำที่คนโดยมากเรียกชื่อการบูชาทั้ง ๒
อย่างนั้นอยู่แล้ว คงจะเปนที่เข้าใจกันดี
กับกางเกงชนิดที่เรียกไว้ว่า "กางเกงจีน"
นั้น อยากให้แก้เรียกว่า "กางเกงไทย"
เรื่องชื่อกางเกงนี้
ได้โจทย์กันขึ้นเมื่อไปทเลคราวที่แล้วมานี้เอง
เวลานั้นฃ้ากำลังแค้นเจ๊กด้วยเรื่องต่างๆ
จึ่งกล่าวติเตียนอยู่
มีใครก็จำไม่ได้กล่าวขึ้นว่าไทยเราควรจะฃอบใจเจ๊กอยู่อย่าง
๑
ที่เราได้เอากางเกงของเฃามาใช้นุ่งเปนของสบายนัก
ฃ้าจึ่งตอบว่าในโบราณกาลจะเปนมาแล้วอย่างไรไม่ทราบ
บางทีไทยจะได้จำอย่างกางเกงมาจากจีนจริง
แต่ไทยเราได้เคยนุ่งกางเกงมาช้านานแล้ว
เมื่อเขมรมาเปนนาย บังคับให้ไทยนุ่งผ่า
ยังนุ่งกางเกงเฃ้าไปอีกชั้น ๑
ดังปรากฏอยู่ในเครื่องต้นและเครื่องละครจนทุกวันนี้
และในปัตยุบันนี้กางเกงที่เรียกกันว่า "กางเกงจีน"
นั้น ฃ้าไม่เห็นเจ๊กใช้เลย
เห็นแต่คนไทยนุ่ง
กางเกงที่เจ๊กใช้เห็นฃาแคบๆ ทั้งนั้น
เพราะเมืองเฃาหนาวนุ่งกางเกงอย่างเราๆ
นุ่งกันทนไม่ได้
ฃ้าจึ่งเห็นว่ากางเกงที่พวกเราๆ
ใช้นุ่งกันอยู่กับบ้านควรจะเรียกว่า "กางเกงไทย"
มากกว่า "กางเกงจีน"
กรมหลวงดำรงรับรองและยังมีคำอธิบายอีกชั้น
๑ ว่า "กางเกงไทยคือกางเกงที่ถลกฃาขึ้นถ่ายปัสสาวะได้"
ซึ่งเปนเดฟินิชั่นที่ตลกๆ แต่ก็ตรงอยู่" [๑๑] |
นอกจากนั้นในระเบียบการข้างต้นยังได้กล่าวถึงถุงเท้าขาวและดำ
กับรองเท้าขาวและดำ
ซึ่งสมควรบันทึกไว้เป็นความรู้เพิ่มเติมว่า
มีธรรมเนียมในพระราชสำนักตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจนถึงปัจจุบันกำหนดไว้ว่า
เมื่อสวมถุงเท้าขาวให้ใช้รองเท้าหรือรองเท้าดำ
แต่ถ้าสวมถุงเท้าดำให้ใช้เฉพาะรองเท้าดำเท่านั้น
นอกจากนั้นเมื่อสวมถุงเท้าต้องใส่รองเท้าเสมอ
และจะไม่ถอดรองเท้าไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
แต่ถ้าไม่สวมถุงเท้าก็จะไม่ใส่รองเท้าเลย