ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสิริราชสมบัติสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่
๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้ว ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ตรวจตัดรายจ่ายในพระราชสำนักต่อจากที่เริ่มมาแล้วในรัชกาลก่อนหน้าลงอีก
ประกอบกับในรัชกาลนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ปรับลดเงินที่รัฐบาลเคยจัดถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงปลายรัชกาลปีละ
๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท ลงเหลือปีละ ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เช่นเดียวกับที่รัฐบาลเคยจัดถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อแรกเสด็จสิริราชสมบัติใน
พ.ศ. ๒๔๕๓
ด้วยเหตุที่มีการปรับลดเงินปีที่รัฐบาลจัดถวายลงดังกล่าว
และเพื่อให้การเงินเข้าสูดุลยภาพ จึงได้โปรดเกล้าฯ
ให้ปรับลดส่วนราชการกรมมหาดเล็กจากเดิมที่มีฐานะเป็นส่วนราชการเทียบเท่ากระทรวง
ลงเป็นเพียงกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงวัง
ทำให้ส่วนราชการในสังกัดกรมมหาดเล็กเดิมต้องถูกยุบเลิกไปในคราวนั้นเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ก็ถูกยุบเลิกไปในคราวเดียวกันนั้น
ทำให้โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ที่ยังเหลืออยู่ ๓
โรง คือ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนราชวิทยาลัย
และโรงเรียนพรานหลวงพลอยถูกยุบเลิกไปในคราวเดียวกันนั้นด้วย
 |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ
อยุธยา) |
แต่เนื่องจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้น
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาสถาปนาขึ้นแทนการสร้างพระอารามหลวงประจำรัชกาลตามพระราชประเพณี
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ
อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ซึ่งเป็นผู้ที่สนองพระราชกระแสในการจัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงมาแต่เริ่มแรก
จึงได้ถวายฎีกาคัดค้านว่า หากจะโปรดเกล้าฯ
ให้ยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวงแล้ว
ก็จะเป็นการยุบพระอารามหลวงประจำรัชกาลลง
ซึ่งเป็นการขัดต่อพระราชประเพณีที่สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทรงบำเพ็ญต่อเนื่องกันมาทุกรัชกาล
ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทราบความในฎีกาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีแล้ว
ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ระงับการยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
แต่เนื่องจากในรัชสมัยพระบาท-สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
"ทรงพระราชศรัทธาที่จะบำรุงการศึกษาของชาติให้เจริญรุ่งเรืองเท่าทันกับประเทศอื่นฅ
จึงทรงสละพระราชทรัพย์เปนจำนวนมากในการใช้จ่ายของโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
เปนการประจำแลการจรต่างๆ...
โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เปนเงินเดือนอาจารย์,
ครู, แลค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น,
ตลอดจนการก่อสร้างในบริเวณโรงเรียนด้วย."
[๑] |
แต่เพราะการปรับลดเงินปีที่รัฐบาลจัดถวายลงเหลือเพียงปีละ
๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ทำให้ไม่ทรงมีเงินเหลือพอที่จะพระราชทานแก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงดังเช่นในรัชกาลก่อน
แต่ถึงแม้ว่าจะมีพระราชดำริให้ยุบเลิกโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์พร้อมกับการจัดระเบียบราชการในพระราชสำนัก
แต่ยังมีเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดถวายโรงเรียนราชวิทยาลัยปีละ
๙๐,๐๐๐
บาทมาตลอดทุกปีนั้นเป็นเงินที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีข้อผูกพันที่จะต้องจัดถวายนั้นมิได้ถูกตัดทอนไปด้วย
ฉะนั้นเพื่อให้โรงเรียนมหาดเล็กหลวงสามารถเปิดการเรียนการสอนต่อไปได้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยุบรวมโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงแล้วพระราชทานนามโรงเรียนให้ใหม่ว่า
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย" ในการนี้ได้โปรดเกล้าฯ
ให้โอนเงินรัฐบาลอุดหนุนจำนวน ๙๐,๐๐๐
บาทนั้นมาเป็นเงินอุดหนุนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยแทน
ต่อมาในการประชุมสภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย
ครั้งที่ ๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปก-เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับทรงเป็นประธานในที่ประชุม
ณ หอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๔๖๙ มีบันทึกในรายงานการประชุมตอนหนึ่งว่า
"พระราชดำรัส [๒] |
...ชั้นต้นขอเล่าพงศาวดารสาเหตุที่จะตั้งโรงเรียนวชิราวุธนั้น
ก็คือโรงเรียนที่ตั้งอย่างเดิมเปลืองเงิน
จ่ายเงินพระคลังข้างที่ตั้งแสนกว่า เปลืองเงินมากเหลือเกิน
พระคลังข้างที่ไม่สามารถจ่ายเงินนั้นได้
จำเป็นต้องแก้ไขให้ใช้เงินพระคลังข้างที่น้อยลง
แต่แรกก็เห็นว่าโรงเรียนนี้
ควรให้กระทรวงธรรมการจัดการต่อไป
จะไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนอย่างใดอย่างหนึ่ง
ชั้นต้นเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้วางสกีมเอาโรงเรียนราชวิทยาลัยกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงรวมกัน
เอาเงินรัฐบาลอุดหนุนมาเจือจาน
รายได้ของโรงเรียนไม่มีพอจ่าย ระหว่างนี้ได้รับหนังสือของพระราชธรรม
[๓]
ฉบับหนึ่ง
ร้องขอให้ตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัยอย่างเดิม
เพราะเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง
โดยที่คิดว่าจะเลิกโรงเรียนนี้เสียก็น่าเสียดาย
เพราะเป็นโรงเรียนที่พระมงกุฎเกล้าฯ ทรงตั้ง
ดูไม่เป็นที่น่าจะเลิก ครั้นไม่เลิกก็ไม่รู้ว่าโรงเรียนนี้จะเอาเงินมาจากไหน
ต่อมาฉันได้รับหนังสือเจ้าพระยาราม
[๔]
ฉบับหนึ่ง
ส่งความเห็นพระยาบรมบาท
[๕]
ขอให้จัดโรงเรียนนี้เป็น Public School
มีกรรมการอย่างเดิม ตามพระราชประสงค์ของพระมงกุฎเกล้าฯ ฉันจึงได้
เรียกพระยาบรมบาทมาถามว่าจะจัดเป็น Public School
ได้อย่างไร ได้พูดจากันอยู่นาน
พระยาบรมบาทเห็นด้วย และรับจะจัดอย่างที่ฉันว่าเหมือนกัน อย่างนั้น...
ฯ ล ฯ |
 |
พระยาราชนกูล วิบุลยภักดี (รื่น ศยามานนท์)
เมื่อครั้งยังเป็นพระยาไพศาลศิลปสาตร์ |
พระยาไพศาล
[๖] |
ตามสกีมที่กระทรวงธรรมการกะไว้
ต้องการเงินเพิ่มสามหมื่นบาท สำหรับจัดโรงเรียนราชวิทยาลัย
โดยยกโรงเรียนบ้านสมเด็จไปรวม |
|
|
พระราชดำรัส |
จะแบ่งให้จัดเดี๋ยวนี้จะได้ไหม |
|
|
พระยาไพศาล |
ถ้าจะแบ่งจะต้องเลิกครูฝรั่งที่โรงเรียนนี้เสียบ้าง |
|
|
พระราชดำรัส |
ฉันจะเพิ่มเงินพระคลังข้างที่ให้บ้างก็ได้ |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช
[๗] |
ครูฝรั่งที่นี่ไม่มากเกินไปหรือ |
|
|
พระยาไพศาล |
มาก แต่ก็แล้วแต่วิธีสอน
เดี๋ยวนี้ใช้ครูฝรั่งสอนวิชาเป็นภาษาฝรั่ง |
|
|
พระราชดำรัส |
ถ้าสามารถจะจัดโรงเรียนราชวิทยาลัยโดยแบ่งเงินไปจากที่นี่บ้าง ถ้าขาดเหลือทางนี้ฉันจะให้
จะสามารถจัดหรือไม่ ถ้านักเรียนเก่าเข้าที่นี่ไม่ได้ก็เข้าราชวิทยาลัย |
|
|
พระยาไพศาล |
คิดด้วยเกล้าฯ ว่า
เดี๋ยวนี้นักเรียนเก่าคงไปเข้าโรงเรียนอื่นหมดแล้ว
มีไปเข้าโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์และโรงเรียนบ้านสมเด็จ
[๘] |
|
|
พระราชดำรัส |
เดี๋ยวนี้มีคนบ่นมากที่เลิกโรงเรียนราชวิทยาลัย
ถ้าตั้งขึ้นใหม่ก็จะดี แต่คลังไม่ยอมให้เงิน
ลองคิดดูว่าในเก้าหมื่นบาทจะแบ่งคืนให้บ้างได้เท่าใด
ฯ ล ฯ |
|
|
พระราชดำรัส |
...ฉันจะยอมเพิ่มเงินให้โรงเรียนนี้อีก
ถ้าตกลงตามความเห็นของฉัน |
|
|
พระยาไพศาล |
เรื่องการแยกเงินไปตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัย
จะได้รับพระราช-ทานไว้พิจารณาจัดการ
|
|
|
พระราชดำรัส |
ถ้าตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้นใหม่
ตัดเงิน ๙๐,๐๐๐ บาท คืนให้เขาบ้างได้จะดี |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
ตามที่คิดเงินค่าเล่าเรียนเดี๋ยวนี้
ถึงนักเรียนจะมีมากขึ้น เงินก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น
ฯ ล ฯ |
|
|
พระราชดำรัส |
เดี๋ยวนี้เงินพระคลังข้างที่ให้
๑๐,๐๐๐ บาท หรือ |
|
|
พระยาบรินูรณ์ [๙] |
ให้ ๑๐,๐๐๐ บาท |
|
|
พระราชดำรัส |
ฉันจะให้ได้อีก ๑๐,๐๐๐ บาท |
|
|
พระยาไพศาล |
เช่นนั้นควรตัดได้ ๒๘,๐๐๐ บาท
คือถ้าเลิกครูฝรั่งเสียอีกคนหนึ่ง |
|
|
พระราชดำรัส |
ลองคิดดูว่าขาดเท่าไร
ฉันจะให้ได้ทางพระคลังข้างที่ บางทีจะ
ให้เงินสำหรับปีนี้ยาก ปีหน้าง่าย
เมื่อตั้งแล้วจะมีนักเรียนเก่ากลับเข้ามาไหม โรงเรียนราชวิทยาลัยที่จะตั้งขึ้น
ตั้งอย่างโรงเรียนบางขวางเดิม ถ้าจะตั้ง ตั้งศกใหม่ |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
ควรจะตั้งปลายปี |
|
|
พระยาไพศาล |
ปลายปีตั้งได้ เทอมใหม่ |
|
|
หม่อมเจ้าบวรเดช |
การสอบไล่ของกระทรวงธรรมการราวเดือนธันวาคม
เพราะฉะนั้นการตั้งต้นของโรงเรียนอย่างของเราควรตั้งต้นราวนั้น" |
แต่ภายหลังจากการประชุมสภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยคราวนั้น
กระทรวงมหาดไทยได้ขอพระราชทานใช้อาคารโรงเรียนราชวิทยาลัยที่ตำบลบางขวางเป็นศาลากลางจังหวัดนนทบุรี
แนวคิดที่จะตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้นมาใหม่จึงเป็นอันระงับไป
และวชิราวุธวิทยาลัยจึงได้รับเงินรัฐบาลอุดหนุนปีละ
๙๐,๐๐๐ บาทตลอดมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง.