เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาอักขรวืธีจนทรงอ่านออกเขียนได้แล้ว
สมเด็จพระบรมชนกนาถ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ทรงจดพระราชบันทึกในสมุดจดรายวัน (Diary)
ส่วนพระองค์มาตั้งแต่พระชนมายุได้ ๘ พรรษา
และเมื่อพระชันษามากขึ้นก็ได้ทรงเริ่มเขียนบทละครทั้งภาษาไทยและอังกฤษเป็นลำดับมา
ต่อมาในระหว่างที่เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
ก็ปรากฏว่าได้ทรงใช้เวลาว่างทรงพระราชนิพนธ์หนังสือและบทละครมาเป็นลำดับ
และเมื่อทรงจัดตั้ง สามัคคีสโมสร
ขึ้นเป็นที่ชุมนุมของนักเรียนไทยในอังกฆษเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๔๔ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้สามัคคีสมาคมจัดการออกวารสาร สามัคคีสาร
เป็นสื่อกลางของนักเรียนไทยในยุโรป
 |
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยสกุฎราชกุมาร
(พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ทรงฉายพระฉายาลักษณ์พร้อมด้วยสภากรรมการทวีปัญญาสโมสร
ในการที่สภากรรมการทวีปัญญาสโมสร
จัดการรื่นเริงส่งเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา
เสด็จออกไปทรงศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ณ
พระตำหนักจิตรลดา
เมื่อวันที่ ๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๗
|
(แถวนั่งจากซ้าย) |
๑. นายพันเอก
พระยาราชวัลภานุสิษฐ (อ๊อด ศุภมิตร)
|
กรรมการพิเศษที่ปรึกษา |
๒. หม่อมเจ้าถูกถวิล
ศุขสวัสดิ์ |
ปฏิคม |
๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา |
บรรณารักษ์ |
๔.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
|
สภานายก |
๕. นายหยวก เตมียบุตร |
เหรัญญิก |
๖. นายสอาด
ชูโต |
เลขานุการ |
๗. หม่อมเจ้าวงศ์นิรชร เทวกุล |
|
(ยืนแถวหน้าจากซ้าย) |
๑. ขุนวิรัชเวชกิจ (สุ่น
สุนทรเวช) |
|
๒.นายพงษ์ สวัสดิ์ - ชูโต
|
กรรมการผู้ช่วย |
๓. พระราชวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ |
|
๔. นายกริ่ม สุรนันทน์
|
|
๕.
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญโนภาสรัศมี |
|
๖.
หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล |
|
๗. หม่อมเจ้ามรุพรพันธ์
เทวกุล |
|
๘. หม่อมเจ้าทิณทัต ศุขสวัสดิ์ |
|
๙. นายจ่ายง
(สาย ณ มหาชัย) |
|
๑๐. หม่อมเจ้าปิยบุตร จักรพันธุ์
|
กรรมการผู้ช่วย |
๑๑. นายพันโท พระพิเรนทรเทพ (เย็น
ยมาภัย) |
|
๑๒. จางวางวร |
|
๑๓. นายพันเอก หม่อมเจ้าชื่น
กำภู |
|
๑๔. หม่อมเจ้าพงศ์ทินเทพ เทวกุล |
|
(ยืนแถวหลังจากซ้าย) |
๑. หลวงบุรีนวราษฐ (จันทร์
จิตรกร) |
|
|
๒. หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ |
|
|
๓.
หม่อมเจ้าเสพโสมนัส เทวกุล |
|
|
๔.
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร |
กรรมการผู้ช่วย |
|
๕.
นายฮัก บุนนาค |
|
|
๖. หม่อมเจ้าตรีพิเพทพงศ์ เทวกุล
|
|
|
ครั้นเสด็จนิวัติพระนครใน พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้ว
ก็ได้ทรงจัดตั้งทวีปัญญาสโมสรขึ้นเป็นสโมสรในพระราชสำนัก
มีสมาชิกประกอบไปด้วยพระราชวงศ์และข้าราชบริพารทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นเยาว์
ทวีปัญญาสโมสรนี้นอกจากจะจัดให้มีห้องหนังสือให้บริการแก่สมาชิกของสโมสรแล้ว
ยังโปรดให้มีการออกวารสาร ทวีปัญญา
โดยทรงรับเป็นบรรณาธิการและทรงพระราชนิพนธ์บทความต่างๆ
พระราชทานไปลงพิมพ์เป็นประจำพร้อมด้วยบทความจากสมาชิกอิ่นๆ
ของสโมสรเป็นลำดับมาจนเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.
๒๔๕๓
ต่อมาเมื่อทนงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นแทนพระอารามหลวงประจำรัชกาลแล้ว
นักเรียนมหาดเล็กหลวงที่รักการขีดเขียนก็ได้ร่วมกันก่อตั้งวารสาร
ปรุงจิตต์ ขึ้นเป็นวารสารเล่มแรกของโรงเรียน
โดยมีรูปเล่มทำนองเดียวกับวารสารทวีปัญญา
ปกเป็นรูปพานในกรอบสี่เหลี่ยม
มีอักษรระบุนามวารสาร ปรุงจิตต์พิมพ์สีดำ
บนพื้นกระดาษสีส้ม
วารสารปรุงจิตต์นี้ไม่พบหลักฐานว่ามีการจัดพิมพ์เผยแพร่กี่ฉบับ
แต่เชื่อว่าไม่นานนัก เพราะต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๖
ได้พบว่า
คณะครูและนักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวงได้ร่วมกันออกวารสารมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า
ลูกเสือหลวง
วารสารลูกเสือหลวงนี้มีเนื้อหาสำคัญประจำทุกฉบับเป็นบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมำนองจดหมายเหตุรายวันของโรงเรียน
ประกอบไปด้วย ข่าวโรงเรียน ข่าวลูกเสือ
ประกาศและแจ้งความของโรงเรียน
นอกจากนั้นก็เป็นงานเขียนของตรูและนักเรียนหมุนเวียนกันไป
วารสารลูกเสือหลวงนี้มีการตีพิมพ์ออกมาหลายฉบับ
แต่จะเลิกราไปเมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด
จนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทราบจากคำบอกเล่าของนักเรียนมหาดเล็กหลวงหลายท่านว่า
คณะครูและนักเรียนมหาดเล็กหลวงได้พร้อมกันออกวารสารอีกเล่มหนึ่งชื่อ
พระมนูประสิทธิ์
 |
แต่พระมนูประสิทธิ์นั้นน่าจะมีอายุยืนนานมาเพียงสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้รวมโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงและพระราชทานนามใหม่ว่า
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน
พ.ศ. ๒๔๖๙ จึงไม่พบหลักฐานว่า
คณะครูและนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยได้จัดให้มีการออกวารสารขของโรงเรียนอีกเลย
จนหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงและโรงเรียนที่ต้องหยุดการเรียนการสอนไปเพราะภัยสงครามได้กลับมาเปิดการเรียนการสอนอีกครั้งใน
พ.ศ. ๒๔๘๙ แล้ว ท่านผู้บังคับการพระยาภะรตราชา
(ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา)
ได้จัดให้นักเรียนที่สนใจในกิจกรรมต่างๆ
ร่วมกันจัดกิจกรรมในรูปสมาคมเช่นเดียวกับสโมสรหรือ
Club ในสถาบันการศึกษาในประเทศอังกฤษ
ในชั้นนั้นท่านผู้บังคับการได้มอบหมายให้นักเรียนที่สนใจการขีดเขียนและการทำหนังสือรวมกันเป็นสมาคมหนังสือพิมพ์
โดยมีท่านผู้บังคับการเป็นนายก (ผู้แนะนำ)
และนักเรียน ๘ คนประกอบกันเป็นคณะกรรมการ คือ
เสถียร เสถียรสุต |
บรรณาธิการ (ประธานกรรมการ) |
วิเชียร บัวพิมพ์ |
เลขานุการ |
กุณฑล สุนทรเวช
|
กรรมการ |
ประสงค์ พจน์พานิช |
กรรมการ |
อำพน ศิลปี |
กรรมการ |
ไวทยะ วีระไวทยะ
|
กรรมการ |
สมศักดิ์ นฤมิตรเรขการ |
กรรมการ |
สุวัชร จันทร์ประเสริฐ
|
กรรมการ |
คณะกรรมการสมาคมหนังสือพิมพ์ชุดแรกนี้คือ
ผู้ริเริ่มลงมือจัดทำ วชิราวุธานุสาส์น
โดยมีรูปเล่มใกล้เคียงกับวารสารลูกเสือหลวง
แต่ปกของวชิราวุธานุสาส์นซึ่งเป็นแถลงการณ์ของวชิราวุธวิทยาลัยเป็นสีขาว
ปกหน้ามีรูปพระมนูแถงสารและอักษรบอกนาม
วชิราวุธานุสาส์น เล่มที่ ฉบับที่ ภาค
และปีการศึกษา พิมพ์ด้วยสีน้ำเงิน
ปกหลังมีภาพวชิราวุธ (แนวตั้ง)
พิมพ์สีน้ำเงินเป็นมาตรฐานทุกเล่ม
เนื้อหาภายในมีข่าวโรงเรียน พระธรรมเทศนา
บันทึกโอวาทของท่านผู้บังคับการและท่านที่ได้รับเชิญมาแสดงในวันอาทิตย์หลังจากทำวัตรเช้า
รายงานการแข่งขันกีฬาต่างๆ
กับงานเขียนของคุณครูและนักเรียน
วชิราวุธานุสาส์นมีการจัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ ๓ ฉบับๆ
ละภาคเรียน คือ ฉบับที่ ๑ ภาควิสาขะบูชา ฉบับที่ ๒
ภาคปวารณา และฉบับที่ ๓ ภาคมาฆะบูชา
โดยเริ่มเล่มแรกเป็นฉบับประจำภาควิสาขบูชา
ปีการศึกษา ๒๔๙๐
จากนั้นก็มีการจัดพิมพ์ต่อเนื่องกันมาทุกปีๆ ละ ๓
ฉบับ วชิราวุธานุสาสมาจนถึงสมัยผู้บังคับการ
ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
ที่มีนโยบายปรับเปลี่ยนวชิราวุธานุสาส์นเป็นแถลงการณ์ประจำปีของวชิราวุธวิทยาลัย
กับได้มอบหมายให้สมาคมหนังสือพิมพ์ออกวารสาร
พระมนูแถลงสาร นำเสนอความเคลื่อนไหวต่างๆ
ภายในโรงเรียนในรูปแบบจดหมายข่าวแทน
พระมนูแถลงสารมีรูปเล่มขนาดเดียวกับวชิราวุธานุสาส์นต่างกันที่ปกพิมพ์เป็นสี่สีทั้งปกหน้าและปกหลัง
เนื้อในแบ่งเป็นสองส่วน คือ
ส่วนรายงานของนักเรียนคณะโต
อีกส่วนหนึ่งเป็นรายงานของนักเรียนคณะเด็กเล็ก
กำหนดออกเป็นรายภาค
เริ่มเผยแพร่ฉบับแรกเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๐
และคงมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบปเป็นสี่สีมาจนถึงปัจจุบัน