อนึ่ง
เมื่อนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หม่อมหลวงปิ่น
มาลากุล
พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการใน
พ.ศ. ๒๕๑๔ แล้ว
ได้มีดำริให้มีการพบปะกันในระหว่างนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง
ต่อมานักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง พลตรี
หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)
องคมนตรี
และกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยได้นัดหมายชุมนุมนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวงเป็นครั้งแรกที่บ้านของท่านริมถนนประดิพัทธ์
จากนั้นคณะนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวงได้ตกลงกันจัดให้มีการชุมนุมนักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ทั้งสี่โรงเรียน
คือ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนราชวิทยาลับ
โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่
และโรงเรียนพรานหลวง ที่โรงแรมราชศุภมิตร
ถนนหลานหลวง
ในระยะแรกของการชุมนุมนั้น น.ร.ม.หม่อมหลวงปิ่น
มาลากุล
ได้กรุณาออกจดหมายข่าวแจกจ่ายให้สมาชิกทราบข่าวคราวของชมรมนักเรียนเก่าฯ
หลังจากมีการออกจดหมายข่าวในรูปใบปลิวมาได้ระยะหนึ่ง
ชมรมนักเรียนเก่าฯ
จึงได้พร้มกันมีมติให้จัดทำจดหมายข่าวของชมรมฯ
ในรูปแบบวารสาร ซึ่ง น.ร.ม.ม.ล.ปิ่น มาลากุล
ประธานชมรมฯ ตลอดชีพได้ขนานนามวารสารนี้ว่า
มานวสาร
โดยได้เขียนบทกลอนแสดงที่มาของวารสารนี้ไว้ในมานวสารฉบับเดือนมกราคม
พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นฉบับแรก ดังนี้
 |
มานวสารฉบับแรกมีนักเรียนเก่าราชวิทยาลัย มานพ
เทพวัลย์ เป็นบรรณาธิการ
เมื่อนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวงบัว ศจิเสวี
เกษียณอายุจากธนาคารแห่งประทศไทยแล้วได้รับภาระเป็นบรรณาธิการต่อมาจนถึงฉบับเดือนมกราคม
พ.ศ. ๒๕๓๘
จึงหยุดการจัดพิมพ์เผยแพร่เพราะบรรณาธิการล้มป่วย
และสมาชิกชุมนุมนักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ต่างก็ทยอยเสียชีวิตไปเกือบหมด
ประกอบกับในเวลานั้นผู้เขียนซึ่งได้รับมอบหมายให้รับช่วงภารกิจต่อจากน.ร.ม.บัว
ศจิเสวี
ก็มีภารกิจในหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการและหัวหน้าสำนักงานมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และผู้ช่วยบรรณาธิการวารสารวชิราวุธานุสรณ์สารไม่มีความสามารถพอที่จะสืบต่องานของมานวสารต่อได้
จึงต้องปล่อยให้มานวสารปิดตัวลงตั้งแต่ฉบับเดือนกุมภาพีนธ์
พ.ศ. ๒๕๓๘
 |
รูปเล่มของมานวสารคล้ายคลึงกับวารสารลูกเสือหลวงลัวชิราวุธานุสาส์น
ปกหน้าเป็นภาพพระราชลัญจกรพระวชิราวุธในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิมพ์สีน้ำเงินบนพื้นขาว
เนื้อหาในวารสารนอกจากรายงานการชุมนุมของชมรมและสรุปคำบรรยายหลังอาหารของวิทยากรที่รับเชิญมาบรรยายหลังอาหารในแต่ละเดือนแล้ว
เนื้อหาอิ่นๆ
ภายในเล่มนังประกอบไปด้วยบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
งานเขียนของนักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ
ตลอดจนข้าราชบริพารและผู้มีเกียรติอื่นๆ
บทความต่างๆ
ในมานวสารนี้คงจะแป็นที่พึงพอใจของสมาชิก
จึงมีสมาชิกบางท่านส่งบทกลอนมาถึงบรรณาธิการ
ดังเช่น
แด่มานวสาร |
|
|
|
ขอคำนับ |
รับมา- |
นวสาร |
จากบรรณา |
ธิการ |
ผู้ทรงศรี |
แต่ละเรื่อง |
เรืองรอง |
ผ่องโสภี |
เหมือนกินรี |
ร่อนมาลง |
ตรงสระบัว |
เป็นโอสถ |
กล่อมใจ |
ให้เบิกบาน |
เฒ่าถึงคลาน |
ฟังเล่า |
ยังเกาหัว |
ไม่กล้าชน |
เกรงท่านปิ่น |
กินขาดตัว |
เพียงท่านกลัว |
ถ้าเป็นผม |
ลมจับเลย ฯ |
|
|
|
พระมนูกิจวิมลอรรถ |
|
๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๗ |
|
มานวสาร ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๕
พฤษภาคม ๒๕๓๔ |
ซึ่งบรรณาธิการได้ตอบกลับกำลังใจจากนักเรียนเก่าราชวิทยาลัย
พระมนูกิจวิมลอรรถ (เจียร พลจันทร) ว่า
กราบคุณพระ |
มนูกิจ |
วิมลอรรถ |
ตัวกระผม |
อ่อนหัตถ์ |
เริ่มเดียงสา |
เขาเอาหัว |
สวมให้ |
เป็นบรรณาฯ- |
ก็เหมือนวา- |
นรได้ |
แก้วไพฑูรย์ |
ที่เป็นเล่ม |
มานวสาร |
ขึ้นมาได้ |
เพราะน้ำใจ |
ผู้เขียน |
ไม่เปลี่ยนสูญ |
สมาชิก |
จ่ายทรัพย์ |
นับเพิ่มพูน |
ช่วยเกื้อกูล |
คนละมือ |
คือพลัง |
รับคำชม |
จากคุณพระ |
เหมือนสระแก้ว |
ว่าเย็นแล้ว |
ยังไม่เทียบ |
เปรียบน้ำสังข์ |
ขอถือเป็น |
น้ำทิพย์ |
จิบประทัง |
ตราบที่ยัง |
ชีพอยู่ |
มิรู้ลืม |
|
|
|
|
บัว ศจิเสวี |
|
มานวสาร ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑๑
พฤศจิกายน ๒๕๒๗ |
บางคราวมานวสารส่งถึงมือผู้อ่านล่าช้ากว่ากำหนด
สมาชิกซึ่งเป็นผู้อาวุโสก็ทวงถามมายังบรรณาธิการ
ดังเช่น
คนอ่าน มานวสาร ใจร้อน |
|
|
วันสงกรานต์ปีใหม่เลยไปแล้ว |
ใจผมแป้วร้อนกรุ่นพาฉุนเฉียว |
มานวสาร ไม่มาพาหน้าเซียว |
ลุกแลเหลียวเขม้นจ้องมองเพดาน |
เหตุไรขัดข้องไปวานได้บอก |
แยบยลยอกเทคนิคใหม่ให้กล่าวขาน |
หรือชื่อตกสำรวจชวดกิจการ |
ไม่ได้อ่าน บอกผมด้วย...ช่วยอีกคน. |
|
|
|
กมล |
ในกรณีนี้
น.ร.ม.บัว ศจิเสวี
บรรณาธิการมานวสารได้ตอบกลับเป็นบทกลอนดังนี้
บอกอ ตอบ |
|
|
อันบรรดาสมาชิก มานวสาร |
เขารออ่านวันกินข้าวที่ รอแย่ล |
พอวันจันทร์ผมจึงส่งถึงแฟน |
จำต้องแหงนชะแง้คอเพื่อรอคอย |
คนที่เขาใกล้ชิดสนิทแน่น |
ที่เป็นแฟนกับเราจึงเหงาหงอย |
ต้องอดทนกับคำว่า รอคอย |
คนทำน้อยมีผมแท้แต่เดียวดาย |
บางทีก็ไม่อยากทำมั่นช้ำจิต |
คนมักคิด ทำหนังสือคือของง่าย |
ยังเป็นห่วงถ้า บอกอ ขอลาตาย |
คนปากร้ายจะเขียนด่าว่าใครเอย ? |
|
|
|
บอกอ |
อนึ่ง
เมื่อจะมีการฉลองอายุวชิราวุธวิทยาลัยผ่าน ๖ รอบ
เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๖ นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย
ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน
ได้เชิญนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ดร.ชัยอนันต์
สมุทวณิช
และผู้เขียนหารือร่วมกันที่ห้องสมุดสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ปัจจุบันเป็นห้องพิพธภัณฑ์
ตึกอัศวพาหุ) ในตอนเย็นวันหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๒๖ แล้วตกลงกันว่า
ในเมื่อนักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ท่านมี
มานวสาร เป็นจดหมายข่าวของชมรมฯ แล้ว
จดหมายข่าวของนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยจึงควรจะใช้นามว่า
อนุมานวสาร เป็นการแสดงความเคารพต่อท่านผู้อาวุโส
อนุมานวสารฉบับแรกซึ่งมีน.ร.ว.ม.ล.ชัยนิมิตร
นวรัตน
เป็นบรรณาธิการคนแรกจึงถือกำเนิดขึ้นในเดือนธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๒๖
มีลักษณะเป็นปลิวส่งตรงถึงสมาชิกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ
ทุกคน
จากนั้นผู้เขียนจึงได้รับภาระเป็นบรรณาธิการต่อมาอีกระยะหนึ่ง
แล้วต้องหยุดไปเพราะพ้นวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการสมาคมฯ
ใน พ.ศ. ๒๕๒๘
ต่อจากนั้นได้มีการจัดพิมพ์อนุมานวสารในรูปเล่มแผ่นพับออกเผยแพร่อีกหลายฉบับ
แล้วก็หยุดไปอีกครั้ง จนน.ร.ว.ม.ล.จิรเศรษฐ
ศุขสวัสดิ์
ได้รับเลือกเป็นกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าฯ
และได้รับมอบหมายให้เป็นสาราณียกรของสมาคมฯ
จึงได้รือฟื้นการจัดทำอนุมานวสารขึ้นอีกครั้ง
โดยมี น.ร.ว.อาทิตย์ ประสาทกุล
เป็นบรรณาธิการอยูชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ก่อนที่จะส่งต่อให้ น.ร.ว.กิตติเดช ฉันทังกูล
รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการมาจนถึงปัจจุบัน
อนุมานวสารยุคสุดท้ายนี้มีการปรับรูปเล่มเป็นแบบพ๊อกเก๊ตบุ๊ค
ปกพิมพ์ที่สี
มีเนื้อหาสัมภาษณ์นักเรียนเก่าเป็นหลัก
รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับวชิราวุธวิทยาลัยในอดีต
และสรุปข่าวกิจกรรมของสมาคมฯ
อนุมานวสารในยุคหลังนี้ยังคงส่งตรงถึงสมาชิกของสมาคมฯ
ทุกคน
และได้รับความนิยมจากผู้อ่านไม่แพ้มานวสารของท่านผู้อาวุโส.