เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองประเทศจากระบบเสนาบดีจตุสดมภ์มาเป็นระบบกระทรวงเสนาบดีเช่นเดียวกับนานาแรยประเทศเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๓๕ แล้ว ก็ทรงตระหนักแน่ในพระราชหฤทัยว่า
การบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถออกรับราชการให้ทันกับการพัฒนาประเทศนั้นเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน
ดังนั้นเมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๔๐
นั้น
นอกจากจะทรงดำเนินพระราชกรณียกิจทางการทูตเพื่อทรงแสวงหาการยอมรับเอกราชของชาติสยามขากชาติมหาอำนาจยุโรปแล้ว
ยังได้ทอดพระเนตรการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ
ที่เสด็จพระราชดำเนินเยือน
เมื่อเสด็จนิวัติพระนครแล้ว
จึงทรงอาราธนาพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส [๑]
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกา ทรงเป็นประธาน
จัดวัดเป็นโรงเรียนทั่วพระราชอาณาเขต
ยกแต่เมืองมลายู [๒]
หวังใจว่าจะเป็นการสำเร็จได้
โดยอาศัยประเพณีโบราณและความนิยมของไทย
โรงเรียนคงจะเกิดขึ้นได้ปีละหลายๆ
ร้อยโดยไม่สู้ต้องเสียอะไรมาก [๓]
เพราะระบบการศึกษาไทยแต่โบราณมา
กุลบุตรได้อาศัยเล่าเรียนอยู่กับวัดโดยมีพระภิกษุเป็นผู้สั่งสอนสืบต่อกันมา
ส่วนกุลสตรีนั้นถูกจำกัดให้อยู่กับเหย้าเรือนจึงได้เรียนรู้แต่วิชางานบ้านงานเรือนกันเป็นพื้น
จนมิชชันนารีอเมริกันเริ่มเข้ามเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเพื่อสนับสนุนการสอนศาสนา
คณะมิชชันนารีจึงได้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนสำหรับกุลบุตรและกุลสตรีขึ้นในประเทศไทยก่อน
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงสอนหนังสือไทยขึ้นในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
แต่นักเรียนในโรงเรียนนี้ก็ล้วนเป็นพระบรมวงศ์และบุตรขุนนางเป็นพื้น
กส่วนกุลบุตรชาวไทยทั่วไปก็ยังคงอาศัยเล่าเรียนอยู่ตามวัดตามขนบโบราณต่อมา
ต่อมาวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร ศก ๑๑๗
(พ.ศ. ๒๔๔๑)
ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้โปรดเกล้าฯ ให้ออก
ประกาศพระราชดำริในการจัดการศึกษา โดยประกาศฉบับดังกล่าวมีสาระที่สำคัญคือ
ทรงอาราธนาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
ให้ทรงเป็นพระธุระอำนวยการให้พระภิกษุสงฆ์จัดการเล่าเรียนในวัดตามหัวเมืองทุกพระอารามทั่วพระราชอาณาจักรยกเว้นหัวเมืองมลายูที่พลเมืองส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
กับได้โปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ [๔]
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
เป็นผู้ทำนุบำรุงอุดหนุนในกิจที่ฝ่ายฆราวาสพึงกระทำให้การเล่าเรียนในหัวเมืองให้ดำเนินไปโดยสะดวก
เมื่อทรงอาราธนาคณะสงฆ์ให้จัดโรงเรียนจัดขึ้นในวัดทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
(สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พันปีหลวง)
ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนราชินี
และในเวลาเดียวกันกระทรวงธรรมการก็ได้จัดตั้งโรงเรียนสตรีวิทยาเป็นโรงเรียนสอนหนังสือไทยสำหรับกุลสตรี
เนื่องจากค่านิยมของสังคมไทยในยุคนั้น
ที่เห็นว่าการที่ปล่อยให้นักเรียนชายหญิงเรียนในโรงเรียนเดียวกันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาชู้สาวก่อนวัยอันควร
การจัดการเรียนการสอนสำหรับกุลบุตรและกุลสตรีจึงแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด
เป็นโรงเรียนชายล้วนมีครูชายล้วนเป็นผู้สอน
ส่วนโรงเรียนสตรีสำหรับกุลสตรีก็มีเฉพาะครูสตรีเท่านั้น
ต่อมาเมื่อกระทรวงธรรมการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ
พ.ศ. ๒๔๕๖ กำหนดโครงสร้างการศึกษาไทยเป็น ประถม
มัธยม และอุดมศึกษาแล้ว
กระทรวงธรรมการจึงยินยอมให้นักเรียนสตรีเข้าเรียนในโรงเรียนประถมร่วมกับนักเรียนชาย
โดยมีครูเป็นสตรีเป็นหลัก มีครูชายมาสอนในบางวิชา
เมื่อนักเรียนนั้นเลื่อนขึ้นไปเรียนในชั้นมัธยมต้องแยกนักเรียนชายไปเรียนโรงเรียนชาย
ส่วนนักเรียนสตรีก็ให้แยกไปเรียนในโรงเรียนสตรี
แต่สำหรับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดเป็นโรงเรียนนักเรียนอยู่ประจำกินนอน
รับนักเรียนเข้าเรียนตั้งแต่ชั้นมูล (ประถม)
ไปจนถึงชั้นมัธยมนั้น
ผู้เขียนเคยเห็นภาพถ่ายภาพหนึ่งที่เจ้าพระยารามราฆพ
(ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ)
ถ่ายภาพร่วมกับคณาจารย์ของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่เชิงบันไดหอประชุม
โดยมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งนั่งอยู่ในหมู่คณาจารย์ของโรงเรียนด้วย
การที่มีสุภาพสตรีซึ่งในชั้นต้นสันนิษฐานว่า
น่าจะเป็นครูท่านหนึ่งของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
แต่ก็ออกจะเป็นเรื่องแปลกเพราะโรงเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งเป็นส่วนราชการฝ่ายหน้าในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งแยกข้าราชการฝ่ายหน้าคือผู้ชาย
กับข้าราชการฝ่ายในคือผู้หญิง ออกจากกันโดยเด็ดขาด
เรื่องดังกล่าวติดค้างอยู่ในใจของผู้เขียนมาตลอด
จบกระทั่งจบการศึกษาจากโรงเรียนและได้ไปร่วมรับประทานหารกลางวันในวันเสาร์ต้นเดือนร่วมกับนักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
พระบาท-สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ท่านนัดชุมนุมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันที่โรงแรมราชศุภมิตร
ถนนหลานหลวง (ปัจจุบันเป็นโรงแรมรอแยลปรินเซส)
จึงได้นำภาพภ่ายนั้นไปเรียนขอความรู้จากท่านผู้อาวุโสที่มาร่วมชุมนุม
ซึ่งนอกจากท่านจะกรุณาระบุนามคุณครูหลายท่านที่ปรากฏในภาพให้ทราบแล้ว
สำหรับสุภาพสตรีคนเดียวที่ปรากฏในภาพนั้น
ทุกท่านระบุว่าเป็นหม่อมพยอม แม่บ้านคณะเด็กเล็ก
แต่ไม่มีท่านใดทราบว่าหม่อมพยอมเป็นหม่อมของท่านผู้ใด
แม้แต่พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่องสาคริก) จมื่น อมรดรุณารักษ์
(แจ่ม สุนทรเวช) จ่าดำริงานประจง (ประจวบ
จันทนะเสวี) พลตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล (เจียม
ลิมปิชาติ) พันตรีวิลาศ โอสถานนท์
ซึ่งจัดว่าเป็นนักเรียนรุ่นโตที่จบออกจากโรงเรียนไปตั้งแต่กลางรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และบางท่านได้รับราชการในราชสำนักต่อเนื่องมาจนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ก็ไม่มีท่านใดทราบแถมท่านเหล่านั้นยังสั่งเสียให้ผู้เขียนให้ไปสืบหาแล้วนำไปเรียนให้ท่านทราบด้วย
 |
ผู้อำนวยการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงและคณะครูอาจารย์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ราว พ.ศ. ๒๔๖๑ |
แถวนั่งจากซ้าย |
๑) มร.สิเวล ครูชาวอังกฤษ
|
๒)
หลวงสรรสารกิจ (เคล้า คชนันทน์)
ปลัดกรมโรงเรียนมหาดเล็กหลวง |
๓) พระยาบรมบาทบำรุง
(พิณ ศรีวรรธนะ) ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
|
๔) พระยาบริหารราชมานพ (ศร ศรเกตุ)
เจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ |
๕)
พระยาประสิทธิ๋ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
|
๖)
พระยาไชยนันทน์นิพัทธพงศ์ (เชย ไชยนันทน์)
อาจารย์วิชามหาดเล็ก |
๗) หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์
(เพียร ไตติลานนท์ - พระราชธรรมนิเทศ)
อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
|
๘)
หม่อมพยอม |
|
ข้อมูลอีกประการที่ได้รับทราบจากท่านผู้อาวุโสนั้นคือ
โรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดเป็นโรงเรียนประจำรับนักเรียนเข้าเรียนและอยู่กินนอนในโรงเรียน
มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นมูลหรือชั้นประถมไปจนถึงมัธยมบริบูรณ์หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย
แต่เพราะนักเรียนชั้นประถมนั้นยังเล็กเกินกว่าที่จะดูแลตนเองได้
เมื่อย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนราชกุมารเก่า
ริมประตูพิมานไชยศรี ในพระบรมมหาราชวัง
ซึ่งพระราชทานให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนชั่วคราวที่สวนกระจัง
ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันของวชิราวุธวิทยาลัยในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๔
แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดแยกนักเรียนชั้นประถมออกเป็นนักเรียนเด็กเล็กออกจากนักเรียนชั้นโต
จัดให้มีเรือนที่พักเป็นเอกเทศจากนักเรียนชั้นโต
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ขอตัวหม่อมพยอมจากโรงเรียนราชแพทยาลัยมาทำหน้าที่แม่บ้านคณะเด็กเล็ก
มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของนักเรียนชั้นเล็กนี้ประดูจเป็นมารดาของนักเรียน
จึงนับว่าหม่อมพยอมเป็นครูสตรีคนแรกของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงและน่าจะเป็นครูสตรีคนแรกในโรงเรียนชายในประวัติศาสตร์การศึกษาไทย
 |
ตึกยาวริมประตูพิมานไชยศรี (ทางขวาของภาพ)
ที่ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อแรกสถาปนาใน พ.ศ.
๒๔๕๓ |
 |
คณะบรมบาทบำรุง
ซึ่งจัดเป็นคณะเด็กเล็กของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง |
เมื่อการก่อสร้างตึกครูและนักเรียนหรือปัจจุบันเรียกว่าตึกคณะที่มุมโรงเรียนทั้ง
๔ มุมแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๖๐
โรงเรียนก็ได้จัดให้คณะตะวันคกด้านเหนือ
(ปัจจุบันเป็นคณะผู้บังคับการ) เป็นคณะเด็กเล็ก
คงมีหม่อมพยอมเป็นแม่บ้านต่อมา