ในประเทศไทยแต่เดิมมาเคยมี "หอพระสมุด"
เป็นที่เก็บรวมรวมสรรพหนังสือของหลวง
บางครั้งจึงเรียกหอพระสมุดว่า "หอหลวง"
หนังสือที่เก็บรักษาไว้ ณ
หอพระสมุดนี้นัยว่าเป็นที่หวงแหนสำหรับใช้ในราชการ
ผู้ที่จะมีโอกาสเข้าอ่านและศึกษาค้นคว้าหนังสือในหอหลวงจึงต้องเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเท่านั้น
ในเวลาต่อมาจึงมีผู้ลักลอบคัดลอกหนังสือจากหอหลวงออกเผยแพร่
ดังเช่นรายนาย ก.ศ.ร.กุหลาบ หรือ นายกุหลาบ
ตฤษณานนท์ ที่กล่าวกันว่า
ได้ลักลอบนำหนังสือออกจากหอหลวงไปคัดลอกและตีพิมพ์จำหน่ายในนามของตนเองหลายเล่ม
 |
หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหอพระสมุด 3
แห่งเข้าด้วยกันคือ หอพุทธสาสนะสังคหะ
หอพระมณเฑียรธรรม และหอพระสมุดวชิรญาณ
แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า
หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร มีที่ตั้งอยู่ ณ
หอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง (ปัจจุบันคือ
ศาลาสหทัยสมาคม)
ซึ่งแม้จะเปิดให้ประชาชนได้เข้าไปอ่านหนังสือในหอพระสมุดพระนครนี้ได้
แต่ด้วยสถานที่ตั้งซึ่งไม่สะดวกในการเข้าถึงต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครออกไปอยู่ที่ตึกสังคหวัตถุ
(ตึกแดง) ข้างวัดมหาธาตุ
พระราชทานให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าสำหรับประชาชนทั่วไป
ในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
เมื่อประทับทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษนั้น
นอกจากจะทรงใช้ประโยชน์จากหอสมุดในสถานศึกษาที่ทรงศึกษาอยู่แล้ว
ก็ทรงซื้อและสะสมหนังสือวิชาการและบันเทิงคดีไว้เป็นจำนวนมาก
เมื่อเสด็จนิวัตพระนครใน พ.ศ. ๒๔๔๕
ก็ทรงนำหนังสือส่วนพระองค์นั้นกลับมาด้วย
จึงปรากฏมีห้องบรรณาคมหรือห้องหนังสืออยู่ในพระราชฐานที่ประทับทุกแห่ง
 |
ทรงฉายพร้อมด้วยสภากรรมการทวีปัญญาสโมสร
ในการที่สภากรรมการทวีปัญญาสโมสรจัดการรื่นเริงส่งเสด็จ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ
กรมขุนนครราชสีมา
เสด็จออกไปทรงศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ
ณ พระตำหนักจิตรลดา
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ |
(แถวนั่งจากซ้าย) ๑. นายพันเอก
พระยาราชวัลภานุสิษฐ (อ๊อด ศุภมิตร)
กรรมการพิเศษที่ปรึกษา ๒.
หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ์ ปฏิคม ๓.
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ
กรมขุนนครราชสีมา บรรณารักษ์ ๔.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร สภานายก ๕. นายหยวก
เตมียบุตร เหรัญญิก ๖. นายสอาด ชูโต
เลขานุการ ๗. หม่อมเจ้าวงศ์นิรชร เทวกุล |
(ยืนแถวหน้าจากซ้าย) ๑. ขุนวิรัชเวชกิจ (สุ่น
สุนทรเวช) ๒.นายพงษ์ สวัสดิ์ ชูโต
กรรมการผู้ช่วย ๓. พระราชวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ ๔. นายกริ่ม
สุรนันทน์ ๕. พระราชวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้ากาญโนภาสรัศมี ๖.
หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล ๗.
หม่อมเจ้ามรุพรพันธ์ เทวกุล ๘.
หม่อมเจ้าทิณทัต ศุขสวัสดิ์ ๙. นายจ่ายง (สาย
ณ มหาชัย) ๑๐. หม่อมเจ้าปิยบุตร
จักรพันธุ์ กรรมการผู้ช่วย ๑๑. นายพันโท
พระพิเรนทรเทพ (เย็น ยมาภัย) ๑๒. จางวางวร
๑๓. นายพันเอก หม่อมเจ้าชื่น กำภู ๑๔.
หม่อมเจ้าพงศ์ทินเทพ เทวกุล |
(ยืนแถวหลังจากซ้าย) ๑. หลวงบุรีนวราษฐ (จันทร์
จิตรกร) ๒. หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ๓.
หม่อมเจ้าเสพโสมนัส เทวกุล ๔.
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร
กรรมการผู้ช่วย ๕. นายฮัก บุนนาค ๖.
หม่อมเจ้าตรีพิเพทพงศ์ เทวกุล |
อนึ่ง แม้จะเสด็จนิวัตพระนครแล้ว
ก็ยังโปรดที่จะสั่งศื้อหนังสือจากต่างประเทศเข้ามาเป็นประจำ
รวมทั้งโปรดให้จัดพิมพ์บทพระราชนิพนธ์
พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส ฯลฯ
มาเป็นลำดับตลอดรัชสมัย
ฉะนั้นจึงปรากฏความในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันภายหลังจากเสด็จสวรรคตแล้วว่า
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานหนังสือส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจำนวนนับหมื่นเล่มให้แก่หอพระสมุดสำหรับพระนคร
จึงเกิดมีหอพระสมุดวชิราวุธคู่กับหอพระสมุดวชิรญาณ
ซึ่งต่อมาเมื่อรัฐบาลได้จัดสร้างหอสมุดแห่งชาติขึ้นใหม่ในพื้นที่ใหล้กับท่าวาสุกรีที่เคยเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัวแล้ว
รัฐบาลจึงได้จัดการรวมหอพระสมุดทั้งสองนั้นเข้าด้วยกันและเปลี่ยนนามเป็นหอสมุดแห่งชาติ
โดยยังคงนามหอพระสมุดวชิรญาณไว้เป็นที่เก็บรักษาสมุดไทย
ส่วนนามหอพระสมุดวชิราวุธนั้นหายไป
จนถึงคราวฉลองพระบรมราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี
เมื่ออวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔
จึงมีการจัดตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์เป็นที่เก็บรวบรวมบทพระราชนิพนธ์และหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รวมทั้งหนังสือส่วนพระองค์บางส่วนที่เหลือมาจากหอพระสมุดวชิราวุธ
นอกจากเรื่องของหอพระสมุดวชิราวุธดังได้กล่าวแล้ว
ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร
ในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
ยังได้ทรงจัดตั้งทวีปัญญาสโมสรขึ้นที่พระราชวังสราญรมย์ซึ่งเป็นที่ประทับ
โดยทรงรับเป็นสภานายกของสโมสรนี้ร่วมกับกรรมการอื่นอีกหลายพระองค์และหลายท่าน
กิจกรรมของทวีปัญญาสโมสรนั้น
นอกจากจะเป็นที่ประชุมพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิก
มีการละเล่นต่างๆ แล้ว
ทวีปัญญาสโมสรยังมีห้องสมุดไว้บริการสมาชิก
ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของห้องสมุดตลอดมา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นแล้ว
ก็คงจะโปรดเกล้าฯ
ให้โรงเรียนจัดให้มีหอสมุดไว้ให้นักเรียนได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
และได้เสด็จพระราชดำเนินหอสมุดของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อวันอาทิตย์ที่
๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗
ดังมีความปรากฏในข่าวในพระราชสำนักว่า
"เวลาบ่ายวันนี้
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิรโดยรถยนต์พระที่นั่งยังโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ในการพระราชทานประกาศนิยบัตร์แลรางวัลแก่นักเรียน
เมื่อเสด็จพระราชดำเนิรถึงโรงเรียนแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิรยังหอสมุดของโรงเรียน
ทอดพระเนตร์หนังสือแลรูปต่างๆ
ซึ่งรักเรียนวาด
แล้วเสด็จประทับพลับพลาที่สนามของโรงเรียนทอดพระเนตร์การดัดตนของนักเรียน
เมื่อเสร็จการดัดตนแล้ว
นักเรียนมหาดเล็กหลวงมาตั้งแถวน่าพลับพลาที่ประทับ
พระอภิรักษ์ราชฤทธิ์อาจารย์ใหญ่อ่านคำกราบบังคมทูลพระกรุณา
อัญเชิญเสด็จพระราชทานประกาศนียบัตร์แลรางวัลแก่นักเรียนแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบพระราชทานพระบรมราโชวาทตามสมควรแล้ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานประกาศนียบัตร์แลรางวัลอก่นักเรียน
เสร็จแล้วเสด็จประทับเสวยเคนื่องว่างพร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์
ผู้ตรวจการแลกรรมการจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ผู้ปกครองนักเรียนและผู้ที่ได้รับเชิญ
พอได้เวลาสมควรแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับยังพระบรมมหาราชวัง"
[๑] |
หอสมุดของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรคราวนั้นคงจะอยู่ในหมู่เรือนไม้หลังคาจากซึ่งเป็นโรงเรียนชั่วคราวที่ด้านหลังคณะจิตรลดาในปัจจุบัน
และคงอยู่คู่กับห้องเรียนที่เรือนไม้นั้นมาจนสร้างตึกวชิรมงกุฎแล้วเสร็จในตอนปลาย
พ.ศ. ๒๔๗๕ ซคางต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๖
นักเรียนได้ย้ายขึ้นไปเรียนที่ตึกวชิรมงกุฎแล้ว
โงเรียนจึงได้รื้อเรือนไม้หลังคามุงจากที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมนั้นลง
และย้ายสรรพหนังสือในหอสมุดไปไว้บนระเบียงหอประชุมชั้นบน
 |
พระยาภะรตราชา
วางศิลาฤกษ์อาคารหอสมุดภะรตราชา เมื่อ
พ.ศ. ๒๕๐๓ |
หอสมุดของวชิราวุธวิทยาลัยคงอยู่บนหอประชุมมาจนการก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งใหม่ซึ่งพระยาภะรตราชา
(ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา)
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยบริจาคเงินจำนวน
๒๐๐,๐๐๐ บาท
จัดสร้างไว้ในโอกาสที่เจริญอายุวัฒนะมงคลครบ ๖
รอบปีนักษัตร (๗๒ ปี) โดยขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ
ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วเสร็จในตอนต้นปีการศึกษา
๒๕๐๕
หอสมุดจึงย้ายจากหอประชุมมาเปิดให้บริการที่อาคารใหม่ซึ่งเป็นตึกชั้นเดียวยกพื้นสูง
ในพื้นที่ว่างฝั่งตรงข้ามสนามบาสเกตบอลข้างคณะผู้บังคับการ
โดยมีสวนญี่ปุ่นฝีมือการจัดสวนของท่านผู้หญิงภะรตราชา
(ขจร อิศรเสนา) แวดล้อม
ต่อมาในโอกาสฉลองชาตกาลพระยาภะรตราชาครบ ๑๐๐ ปี
เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
คณะศิษยานุศิษย์นำโดยนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย
พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์
ได้พร้อมกันบริจาคทุนทรัพย์จัดสร้างอาคารหอสมุดเพิ่มเติมอีก
๑
หลังเป็นอาคารแฝดในขนาดและรูปลักษณ์เหมือนอาคารเดิม
โดยอาคารที่สร้างใหม่นั้นอยู่ถัดไปทางทิศตะวันออกของอาคารเดิม
ทั้งนี้เพื่อขยายพื้นที่จัดเก็บหนังสิที่ทวีจำนวนมากขึ้น
อีกทั้งเพื่อรองรับการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาแผนใหม่
อนึ่ง ในโอกาสเดียวกันนั้น
คณะศิษยานุศิษย์ยังได้มอบหมายให้นักเรียนเก่สวชิราวุธวิทยาลัยจักรพันธ์
โปษยกฤต
ออกแบบปั้นหล่อรูปหล่อลอยตัวของพระยาภะรตราชาขนาดเท่าจริงตั้งไว้
ณ หอสมุดซึ่งท่านได้บริจาคเงินจัดสร้าง
และดะร้อมกันขออนุญาตขนานนามหอสมุดนี้ให้เป็นเกียรติแด่ท่านผู้บังคับการพระยาภะรตราชาว่า
"หอสมุดภะรตราชา"