เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
พระบรมราชูปถัมภกวชิราวุธวิทยาลัย
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้วชิราวุธวิทยาลัยจัดนักเรียนเข้าร่วมในกระบวนพระราชอิสริยยศในฐานะมหาดเล็กและพระตำรวจหลวงคู่แห่
ในงานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ในระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๖๐ นี้ แต่เนื่องจากเรื่องราวของกรมพระตำรวจห
พระบรมราช)ภัมภหวชิราวุธวิทยาลัย
ในโอกาสนี้จึงขอนำเสนอเรื่องราวของกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ซึ่งเตยมีบทบาทสำคัญมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง
โดยมีนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง ๒ นาย คือ
ขุนตำรวจเอก พระมหามนตรีศรีองครักษ์สมุห (ฉัตร
โชติกเสถียร) และขุนตำรวจเอก พระมหาเทพกษัตรสมุห
เนื่อง สาคริก)
ได้สนองพระเดชพระคุณเป็นเจ้ากรมพระตำรวจใน ขวา และ
ซ้าย เป็นสองท่านสุดท้าย
กรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์
หรือเดิมชื่อว่า กรมพระตำรวจ หรือกรมตำรวจ
จัดเป็นกรมใหญ่ฝ่ายทหาร แต่ มิได้เกี่ยวข้องกับกรมพระกระลาโหมเลย
แต่เดิมมามีข้อห้ามมิให้เสนาบดีผู้ใดผู้หนึ่งขอให้ตั้งผู้ใดเปนเจ้ากรมปลัดกรมพระตำรวจ
ต้องแล้วแต่พระเจ้าแผ่นดินจะทรงตั้งได้พระองค์เดียว
บันดาพระราชอาญาทั้งปวงซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะลงโทษแก่ผู้หนึ่งผู้ใดย่อมใช้กรมพระตำรวจทั้งสิ้น
จึ่งมิได้ให้กรมพระตำรวจอยู่ในบังคับผู้ใด
ฟังคำสั่งจากพระเจ้าแผ่นดินตรงแห่งเดียว
[๑]
กรมพระตำรวจที่ทำหน้าที่เป็นกรมรักษาพระองค์นั้น
เรียกกันเป็นสามัญว่า กรมพระตำรวจหน้าแปดกรม
ประกอบไปด้วย
กรมพระตำรวจใน |
ขวา
|
กรมพระตำรวจใน |
ซ้าย |
กรมพระตำรวจใหญ่ |
ขวา
|
กรมพระตำรวจใหญ่ |
ซ้าย |
กรมพระตำรวจนอก |
ขวา
|
กรมพระตำรวจนอก |
ซ้าย |
กรมสนมทหาร |
ขวา
|
กรมสนมทหาร |
ซ้าย |
ในเวลาปกติกรมพระตำรวจในขวา ซ้าย
และกรมพระตำรวจใหญ่ขวา ซ้าย
มีหน้าที่ประจำรักษาพระองค์พระมหากษัตริย์
โดยมีตำแหน่งเฝ้าทางขวาและซ้ายของที่ประทับ
ส่วนกรมพระตำรวจนอกขวา ซ้าย
มีหน้าที่ประจำรักษาพระองค์พระราชโอรส
และกรมสนมทหารขวา ซ้าย
มีหน้าที่ประจำรักษาพระองค์พระมเหสีและพระราชธิดา
ในตำแหน่งขวาซ้ายเช่นเดียวกัน
นอกจากกรมพระตำรวจหน้าทั้งแปดกรมแล้ว
จางวางกรมพระตำรวจยังได้กำกับราชการ กรมพลพัน
กรมทนายเลือก กรมคู่ชัก และกรมทหารใน
กรมรักษาพระองค์เหล่านี้เปนทหารรักษาพระองค์
ค้องนอนประจำเวรในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อมีที่เสด็จพระราชดำเนินทางบกทางเรือ
ในการสงครามหรือในการประพาศก็เปนพนักงานที่จะแห่ห้อมประจำการในที่ใกล้เคียงพระองค์
จนที่สุดเวลาเสด็จออกท้องพระโรง
กรมเหล่านี้ต้องเข้าเฝ้าก่อนขุนนางกรมอื่นๆ
เปนผู้ซึ่งจะมีอาวุธเข้ามาในท้องพระโรงได้พวกเดียว
[๒]
นอกจากหน้าที่แห่ห้อมในกระบวนเสด็จแล้ว
พระตำรวจหน้าทั้งแปดกรมยังมีหน้าที่สำคัญ คือ
เป็นศาลรับสั่งชำระความซึ่งเหมือนกับพระเจ้าแผ่นดินทรงเปนผู้พิพากษาเอง
ไม่ได้เกี่ยวข้องแก่ลูกขุน
[๓]
เปนพนักงานซึ่งจะทำที่ประทับพลับพลา
หรือทำการที่เปนการใหญ่จะให้แล้วโดยเร็ว
เช่นทำพระที่นั่งทำพระเมรุเปนต้น
กรมพระตำรวจใหญ่ขวาได้บังคับบัญชากรมฝีพายมาแต่เดิมด้วย
เมื่อมีราชการอันใดซึ่งเปนทางใกล้ก็ดีหรือไปในหัวเมืองไกลก็ดี
เมื่อจะต้องมีข้าหลวงออกไปด้วยข้อราชการนั้นๆ
ก็ใช้กรมพระตำรวจโดยมาก
[๔] |
นอกจากกรมพระตำรวจหน้าทั้งแปดแล้ว
กรมพระตำรวจที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
ดังปรากฏในพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า
กรมรักษาพระองค์นั้นประจำรักษาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเมื่อมีที่เสด็จไปแห่งใดคล้ายกันกับตำรวจ
แต่เมื่อถึงที่ประทับหรือเมื่อประจำอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
เปนผู้รักษาชั้นในใกล้เคียงชิดพระเจ้าแผ่นดินกว่ากรมพระตำรวจอีก
เปนผู้ซึ่งใช้ราชการได้ตลอดถึงพระบรมมหาราชวังเช่นในการบางสิ่ง
นับว่าเปนผู้ใกล้ชิดชั้นที่สองรองชาวที่ซึ่งอยู่ในฝ่ายพลเรือนลงมา
แต่ไม่ได้เปนผู้พิจารณาความศาลรับสั่ง
เปนพนักงานการซึ่งจะเปนที่สำราญพระราชหฤไทยต่างๆ
มีพนักงานรักษาต้นไม้เลี้ยงสัตว์เปนต้น
เปนนายด้านทำการในพระบรม-มหาราชวังปนกันไปกับกรมวัง
กรมทหารในก็ไม่ได้เปนกรมชำระความศาลรับสั่ง
เปน กรมช่างไม้ทำการอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
แลเปนนายช่างที่สำหรับจะตรวจการงานที่มีนายด้านไปทำ
กรมทหารในเปนพนักงานสำหรับจะรักษาการในที่ใกล้ชิดข้างใน
เช่นกับ
เปนเจ้าพนักงานลงรักษาการในเรือบัลลังก์เวลาเสด็จลงลอยพระประทีปเปนต้น
กรมเรือคู่ชักนั้นเปนหมู่คนซึ่งไว้วางพระราชหฤทัยสนิทของพระเจ้าแผ่นดิน
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินทางบกเจ้ากรมปลัดกรมสมทบแห่กับกรมพระตำรวจ
แต่เมื่อเสด็จโดยทางเรือ
กรมเรือคู่ชักลงเรือสองลำซึ่งไปน่าเรือพระที่นั่งป้องกันอันตรายทั้งปวง
ตั้งแต่เรือพระที่นั่งจะล่มเปนต้นไป
แต่ไม่ได้ว่าความศาลรับสั่งเหมือนกันแลไม่ต้องประจำเวรอยู่ในพระบรมมหา-ราชวังด้วย
กรมพลพันก็เปนตำรวจที่สนิทภายในคล้ายรักษาพระองค์
แต่ต้องประจำเวรอยู่ชั้นนอกออกไปเสมอกับกรมพระตำรวจหน้า
กรมทนายเลือกเปนกรมที่เลือกคัดเอาแต่คนที่ล่ำสันมั่นคง
มีฝืมือชกมวยดี
ให้เดินแห่ตามเสด็จไปในที่ใกล้ๆ
ได้ป้องกันอันตรายอันไม่พอที่จะต้องถึงใช้อาวุธเช่นกับจับบ้าเปนต้น
ซึ่งเกิดกรมทนายเลือกขึ้นนี้ด้วยพระเจ้าแผ่นดินโปรดทรงมวย
เลือกหาคนที่มีฝีมือดีไว้เปนเพื่อนพระองค์
สำหรับจะเสด็จปลอมแปลงไปในที่แห่งใดที่ไม่ควรจะใช้ป้องกันด้วยอาวุธ
แต่เมื่อแห่เสด็จโดยปรกติก็ให้ถือหอกเหมือนกรมพระตำรวจ
มีเวรประจำการเหมือนกรมพลพัน
แลไม่มีหน้าที่ชำระความรับสั่งทั้งสองกรม
เพราะฉนั้นกรมเหล่านี้เปนกรมที่ใกล้เคียง
เปนกำลังของพระเจ้าแผ่นดินจึงมิให้มีผู้ใดบังคับบัญชาได้
[๕] |
 |
เจ้ากรม ๔
ตำรวจและสนมตำรวจฝ่ายพระราชวังบวรสะพายกระบี่
นำ กระบวนแห่นาคหลวงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
ไปทรงผนวชที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ |
นอกจากกรมพระตำรวจฝ่ายพระบรมมหาราชวังดังได้กล่าวแล้ว
ในส่วนของพระบวรราชวังหรือวังหน้าก็มีพระตำรวจฝ่ายพระบวรราชวังบวร
หรือพระตำรวจวังหน้าประจำรับราชการอยู่ตลอดเวลาที่พระมหาอุปราชหรือวังหน้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่
เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าเสด็จทิวงคตแล้ว
พระตำรวจวังหน้าก็จะยกไปสมทบกับปบัติราชการร่วมกับพระตำรวจหลวงฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
เช่นเดียวกับมหาดเล็กและกรมวัง
ต่อเมื่อมีวังหน้ากลับขึ้นมาอีกครั้ง
บรรดามหาดเล็ก
กรมวังและพระตำรวจฝ่ายพระราชวังบวรนี้
ก็จะยกกลับไปประจำรับราชการตามหน้าที่ที่พระบวรราชวังเช่นเดิม
ย้ายกันไปมาเช่นนี้จนยุบเลิกตำแหน่งวังหน้าไปภายหลังจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมหาอุปราชพระองค์สุดท้ายเสด็จทิวงคตใน พ.ศ.
๒๔๒๘ แล้ว บรรดามหาดเล็ก กรมวัง
และพระตำรวจฝ่ายพระราชวังบวรจึงย้ายไปประจำรับราชการในพระบรมมหาราชวังมาจนยุบเลิกกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อนึ่ง
เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร พ.ศ.
๒๔๔๘ เพื่อเกณฑ์ชายฉกรรจ์ที่มีอายุครบ ๒๐
ปีบริบูรณ์เข้าประจำการเป็นทหารแทนการเกณฑ์เลกไพร่ตามแบบเดิมแล้ว
กรมพระตำรวจซึ่งเคยเป็นกรมใหญ่มีไพร่พลในสังกัดเป็นจำนวนมากจึงถูกลดบทบาทลงในตอนปลายรัชสมัยพระบาท-สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพราะไร้ไพร่พลในสังกัดเช่นกาลก่อน
ในขณะที่บทบาทการถวายความปลอดภัยกลับไปตกอยู่กับกรมทหารรักษาพระองค์ที่ตั้งขึ้นใหม่
ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสิริราชสมบัตืสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่
๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ แล้ว พระเจ้าพี่ยาเธอ
กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ)
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้กราบบังคมทูลขอ
ให้แยกกิจการส่วนตัวกับกิจการแผ่นดินเปนคนละแพนก
[๖]
ต่อมาวันที่ ๒๗ ธันวาคมปีเดียวกัน
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกกรมพระตำรวจไปสังกัดกระทรวงวัง
ด้วยมีพระราชดำริว่า
ข้าราชการในกรมพระตำรวจ
อันเปนข้าราชการประจำในพระราชสำนักอยู่กรมหนึ่งนั้น
ในเวลานี้ยังแยกอยู่แพนกหนึ่งลอยๆ
มิได้ขึ้นต่อกรมกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง
คงถือกันอยู่ว่า
เปนกรมที่ขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดินเสมอมา
ทรงพระราชดำริห์ว่า
ในสมัยนี้พระราชกรณียกิจใหญ่น้อย
อันเปนน่าที่พระเจ้าแผ่นดินจะพึงทรงพระราชดำริห์มีทวียิ่งขึ้นเปนอันมาก
จะทรงบังคับบัญชาการในกรมพระตำรวจ
ให้เรียบร้อยตลอดไปไม่สดวก
เพื่อจะทรงหย่อนพระราชกังวลอันนี้ให้เบาบางลง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกกรมพระตำรวจรวมเข้าอยู่ในกระทรวงวัง
[๗] |