เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกกรมพระตำรวจมาสังกัดกระทรวงวังนั้น
คงมีอัตรากำลังนายตำรวจในสังกัดกรมพระตำรวจตามที่ปรากฏนามในทำเนียบทั้งฝ่ายพระบรมมหาราชวังและฝ่ายพระราชวังบวร
ดังนี้
"จางวาง กรมพระตำรวจ |
พระยาอนุชิตชาญไชย (ขวา) |
|
พระยาอภัยรณฤทธิ (ซ้าย) |
พระยาอภิชิตชาญยุทธ |
|
พระยากำแหงรณฤทธิ |
|
|
|
จางวาง ทหารใน |
พระยาราชสงคราม |
|
พระยาสามภพพ่าย |
|
|
|
จางวาง พลพัน |
พระยามหานุภาพ |
|
พระยามหิมานุภาพ |
|
|
|
เจ้ากรม ๔ ตำรวจ |
พระยามหามนตรี (ขวา) |
|
พระยามหาเทพ
(ซ้าย) |
พระอินทรเทพ (ขวา) |
|
พระพิเรนทรเทพ (ซ้าย) |
|
|
|
เจ้ากรมสนมตำรวจ |
พระราชวรินทร์ (ขวา) |
|
พระอินทรเดช (ซ้าย) |
พระพรหมบริรักษ์ (ขวา) |
|
พระสุริยภักดี (ซ้าย) |
|
|
|
เจ้ากรมทหารใน |
พระวิสูตรโยธามาตย์ (ขวา) |
|
พระราชโยธาเทพ (ซ้าย) |
|
|
|
เจ้ากรมพลพัน |
พระหฤไทย (ขวา) |
|
พระอภัยสุรินทร์ (ซ้าย) |
|
|
|
ปลัดกรมพระตำรวจ |
จมื่นทิพเสนา (ขวา) |
|
จมื่นราชามาตย์ (ซ้าย) |
จมื่นไชยภูษา (ขวา) |
|
จมื่นไชยภรณ์ (ซ้าย) |
จมื่นทิพรักษา (ขวา) |
|
จมื่นราชานุบาล (ซ้าย) |
จมื่นสมุหพิมาน (ขวา) |
|
จมื่นประธานมณเฑียร (ซ้าย) |
|
|
|
ปลัดกรมทหารใน |
ขุนอินทร์รักษา (ขวา) |
|
ขุนพรหมรักษา (ซ้าย) |
|
|
|
ปลัดกรมพลพัน |
จมื่นใจสนิท (ขวา) |
|
จมื่นจิตรจำนงค์ (ซ้าย) |
|
|
|
จ่า |
จ่าห้าวยุทธการ |
|
จ่าหาญยุทธกิจ |
จ่าแผลงฤทธิรอนราญ |
|
จ่าผลาญริยพิศม์ |
จ่าแรงรับราชการ |
|
จ่าเร่งงานรัดรุด |
จ่าเขม้นสรยุทธยิ่ง |
|
จ่าเขม้นสัตริยาวุธ |
|
|
|
ปลัดจางวางทหารใน |
หลวงพลกายกรีฑา |
|
หลวงโยธาไพจิตร์ |
|
|
|
จ่าจางวาง |
จ่าชำนิทั่วด้าน |
|
จ่าชำนาญทั่วด้าว |
|
|
|
นายเส้นทหารใน |
ขุนศิลปสาตร์ |
|
ขุนชาติวิชา |
|
|
|
จ่าพลพัน |
จ่าเผ่นผยองยิ่ง |
|
จ่าโผนวิ่งชิงไชย |
|
|
|
เจ้ากรมทนายเลือก |
หลวงมลโยธานุโยค |
|
หลวงไชยโชคชกชะนะ |
|
|
|
ปลัดกรมทนายเลือก |
ขุนภักดีอาษา |
|
ขุนโยธานุรักษ์ |
|
|
|
นายสนาม |
หมื่นภูมินทร์โยธา |
|
หมื่นอาษาภูธร |
|
|
|
เจ้ากรมเรื้อตั้งคู่ชัก |
หลวงอภัยเสนา |
|
หลวงสุเรนทร์นุชิต |
|
|
|
ปลัดกรมเรือตั้งคู่ชัก |
ขุนบัญชาพล |
|
ขุนฤทธิพิไชย |
|
|
|
จางวาง ฝ่าย
[๑] |
พระยาบริรักษ์ราชา |
|
พระยาอัษฤาเรืองเดช |
|
|
|
เจ้ากรม |
พระอินทราธิบาล |
|
พระพรหมาภิบาล |
พระพรหมสุรินทร์ |
|
พระอินทร์รักษา |
พระณรงค์วิชิต |
|
พระฤทธิเดชะ |
พระศรีพิทักษ์ |
|
พระรักษาเทพ |
|
|
|
ปลัดกรม |
จมื่นอินทรเสนา |
|
จมื่นอินทรามาตย์ |
จมื่นสิทธิแสนยารักษ์ |
|
จมื่นศักดิแสนยากร |
จมื่นศรีบริรักษ์ |
|
จมื่นศักดิบริบาล |
จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ |
|
จมื่นรักษ์พิมาน |
|
|
|
จ่า |
จ่ารณวิชิต |
|
จ่าฤทธิไชย |
จ่าจิตรสรไกร |
|
จ่าใจสุรแกว่น |
จ่าไล่พลแสน |
|
จ่าแล่นผขญผลาญ |
จ่าแกว่นประกวดงาน
|
|
จ่าการประกอบกิจ |
|
|
|
จางวาง ทหารในฝ่าย
[๒] |
พระยาอร่ามมณเฑียร"
[๓] |
|
|
|
|
|
กับมีนายเวรเดิม ๓๘ นาย เพิ่มใหม่ในรัชกาลนี้อีก
๑๐ นาย รวมเป็น ๔๘ นาย
ส่วนพลพระตำรวจนั้นใช้ข้าราชการกรมมหรสพเข้าสมทบ
จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๙
จึงมีพระบรมราชานุญาตให้กระทรวงวังรับสมัครนายทหารกองหนุนและบุคคลพลเรือนเข้าประจำการในกรมพระตำรวจ
แต่ก็ยังคงมีการเรียกพลยักษ์พลลิงจากกรมมหรสพเข้าสมทบเป็นพลพระตำรวจให้ครบตามอัตราที่กำหนดไว้
 |
พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) |
ด้วยเหตุที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พลยักษ์พลลิงจากกรมมหรสพเข้าสมทบรับราชการในหน้าที่พระตำรวจหลวงนั้นเอง
จึงมีครูโขนผู้ใหญ่ในกรมมหรสพบางนายได้รับพระราชทานยศ
บรรดาศักดิ์และตำแหน่งรวมอยู่ในกรมพระตำรวจ เช่น
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระระบำภาษา (ทองใบ
สุวรรภารต)
ครูโขนสังกัดกรมโขนหลวงแต่งเครื่องยศพระตำรวจชั้นขุนตำรวจตรี
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ แล้วต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๘
ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น
พระยาพรหมาภิบาล
เจ้ากรมพระตำรวจในขวาฝ่ายพระราชวังบวร
มีตำแหน่งเป็นสำรองราชการกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์
เป็นต้น
เมื่อกระทรวงวังจัดกำลังพลที่เข้าใหม่เข้าประจำการในกรมพระตำรวจใน
พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้บรรดาข้าราชการกรมพระตำรวจทั้งที่ประจำรับราชการอยู่เดิมและที่เข้ารับราชการใหม่กระทำสัตย์สาบาลถือน้ำหน้าพระที่นั่งตามธรรมเนียม
เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
"เวลาบ่าย ๔ โมง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จประทับยังพระลานน่าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
เมื่อกรมพระตำรวจ
ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณเฉภาะพระพักตร์เสร็จแล้ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราโชวาทตามสมควรแล้ว
ทรงเศกแทงน้ำด้วยพระแสงศรกำลังราม
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมาชิกกรมพระตำรวจ
รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามลำดับเสร็จแล้ว
กรมพระตำรวจได้เดินแถวผ่านหน้าที่ประทับ"
[๔] |
ในวโรกาสเดียวกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานธงกระบี่ยุทธให้เป็นธงประจำกรมพระตำรวจ
และเนื่องด้วยมีพระราชดำริว่า ในเวลานั้น
"มีกรมที่เรียกว่าตำรวจมากหลายด้วยกัน
ซึ่งอาจจะเปนเหตุให้ขนานนามปะปนกันไปได้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เปลี่ยนขนานนามกรมพระตำรวจเสียใหม่ว่า
กรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์"
[๕]
ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
อนึ่ง เมื่อครั้งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกกรมพระตำรวจไปสังกัดกระทรวงวังใน พ.ศ. ๒๔๕๓
แล้ว ก็โปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งตำแหน่งสมุหพระตำรวจขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงวัง
มีหน้าที่บังคับบัญชาราชการในกรมพระตำรวจโดยสิทธิ์ขาด
"เทียบชั้นสมุหราชองครักษ์
สำหรับดูแลรับผิดชอบต่อราชการในน่าที่กรมพระตำรวจ"
[๖]
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลตรี
พระยาอนุชิตชาญชัย (สาย สิงหสนี)
จางวางกรมพระตำรวจขวา เป็นสมุหพระตำรวจเป็นคนแรก
 |
 |
พระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย
(สาย สิงหเสนี) |
พระตำรวจเอก นายพลตรี เจ้าพระยาราชศุภมิตร
(อ๊อด ศุภมิตร) |