 |
|
บทความปัจจุบัน
|
บทความย้อนหลัง
:
ตอนที่
๑ - ๒๐ |
๒๑ -
๔๐ |
๔๑ -
๖๐ |
๖๑ -
๘๐ |
๘๑ -
๑๐๐ |
๑๐๑ -
๑๒๐ |
๑๒๑ -
๑๔๐ | |
|
๑๔๐ -
๑๖๐ | ๑๖๑
- ๑๖๖ | |
| ก่อนหน้า
| ๗๑
| ๗๒
| ๗๓
| ๗๔
| ๗๕
| ๗๖
| ๗๗
| ๗๘
| ๗๙
| ๘๐
| ถัดไป | |
|
๗๕.
การประลองยุทธ์เสือป่าและลูกเสือ (๔)
ต่อมาในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภูเก็ต
"สักขี"
ก็ได้บันทึกเรื่องการซ้อมรบของเสือป่าและลูกเสือกองเสนารักษาดินแดนภูเก็ตไว้ใน
"จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้
ตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน ถึง วันที่ ๒๒ พฤษภาคม
พระพุทธศักราช ๒๔๖๐" ว่า
 |
นายหมวดเอก พระยาทวีปธุระประศาสน์ (ชุบ โอสถานนม์)
เมื่อครั้งยังเป็น นายหมู่โท พระยาราชพินิจจัย |
"วันเสาร์ที่
๒๘ เมษายน
กำหนดการซ้อมรบเสือป่าแลลูกเสือกองเสนารักษาดินแดนภูเก็ต,
มีคำสมมุติว่า ฝ่ายขาวเปนฝ่ายรุกเข้าตีเมืองภูเก็ต
เพื่อจะยึดเอาเปนที่มั่น
ตั้งฐานทัพได้แล้วจะยกข้ามไปตีเอาจังหวัดตรัง;
ฝ่ายแดงเปนฝ่ายรับให้รักษาเมืองภูเก็ตไว้ให้
มั่นคง
รอกองหลวงใหญ่จะส่งกำลังมาช่วยจากจังหวัดตรัง.
ได้เริ่มทำการตั้งแต่เวลาเช้า ๔ โมง, นายหมวดเอก
พระยาทวีปธุระประศาสน์ [๑]
เปนผู้นำทัพแดงฝ่าย ๑ นายหมวดตรี
หม่อมเจ้าถูกถวิล [๒]
เปนผู้นำทัพขาวอีกฝ่าย ๑ โปรดเกล้าฯ
ให้นายกองเอก หม่อมเจ้าคำรบ [๓]
ผู้ช่วยจเรเสือป่าเปนกรรมการชี้ขาด
แลให้นายเสือป่ากรมพรานหลวงรักษาพระองค์เปนกรรมการ |
 |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องเต็มยศนายพลเสือป่า
ผู้บังคับการพิเศษกรมเสือป่าหลวงรักษาดินแดนภูเก็ต |
เวลาบ่าย ๓ โมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,
ทรงเครื่องผู้บังคับการพิเศษกรมเสือป่าภูเก็ต,
เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งทอดพระเนตร์แนวรบ
ซึ่งเสือป่าแลลูกเสือภูเก็ตขยายแถว,
ทำการต่อสู้ซึ่งกันแลกันอยู่ณะเชิงเขาโต๊ะแซะด้านตวันตก,
แล้วเสด็จประทับพลับพลา ณ
สนามชุมพลหน้าตึกที่ว่าการตำรวจภูธร,
ทอดพระเนตร์การต่อสู้ทั้ง ๒
ฝ่ายจนถึงประจัญบานที่หน้าพลับพลา,
แล้วเป่าแตรหยุดรบประชุมนายเสือป่าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท
กรรมการชี้ขาดได้กราบบังคมทูลความเห็น.
รวมใจความว่า
ฝ่ายรับที่มุ่งหมายจะรักษาเมืองภูเก็ตซึ่งเปนเมืองสมบูรณ์แลมั่งคั่งด้วยกำลังทรัพย์แลเสบียงอาหารไว้มิให้ข้าศึกตีเอาไปได้ก่อนเวลาที่กองหลวงใหญ่จะส่งกำลังกองทัพใหญ่มาช่วยนั้น,
ฝ่ายรับได้ทำการต่อสู้ข้าศึกเต็มความสามารถ
จนกองหลวงได้ส่งกำลังมาช่วยทัน,
นับว่าได้ทำการสำเร็จตามความมุ่งหมาย,
แลว่าเสือป่าลูกเสือกองเสนาภูเก็ตทุกคนได้ทำการตามน่าที่แขงแรงดี;
ทั้งนี้เพราะทุกคนมีความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท
แลมีความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาแลพระบารมีปกเกล้าฯ |
 |
นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.สิทธิ์
สุทัศน์)
เมื่อครั้งเป็น นายพลเสือป่า พระยาสุรินทราชา
ผู้บัญชาการกองเสนารักษาดินแดนภูเก็ต |
ต่อไปนายกองเอก พระยาสุรินทราชา [๔]
ผู้บัญชาการกองเสนาได้นำแถวเสือป่าแลลูกเสือ,
พร้อมด้วยแตรวงธงประจำกอง,
เดินแถวเปนตอนหมวดสวนสนามผ่านหน้าพระที่นั่ง,
แล้วไปตั้งแถวเปนวงพระจันทร์ครึ่งซีกรอบแตรวง;
ผู้บัญชาการได้นำถวายไชโยเข้าไปใกล้ที่ประทับ,
ถวายคำนับพร้อมกันแล้ว, มีพระราชดำรัสเหนือเกล้าฯ
ว่า "ขอให้ผู้บัญชาการบอกแก่เสือป่าแลลูกเสือกองเสนารักษาดินแดนภูเก็ตทุกคนว่า
ได้มาดูการซ้อมรบวันนี้ เห็นว่าทำการเรียบร้อยดี
ควรได้รับความชมเชยเปนอันมาก."
แล้วพระยาสุรินทราชานำของรางวัลของข้าราชการชั้นจางวางผู้กำกับราชการ
แลผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย,
พระราชทานรางวัลในการยิงปืนแข่งขันแก่สมาชิกเสือป่าที่ยิงได้คะแนนสูง,
แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ,
แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
เสือป่าแลลูกเสือถวายไชโยวิ่งตามรถพระที่นั่งส่งเสด็จพระราชดำเนิน."
[๕] |
 |
นายพลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช
เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็น นายพลจรี
ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๑ รักษาพระองค์ |
อนึ่ง ในคราวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้นายพลตรี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงนครราชสีมา
เสด็จแทนพระองค์ไปตรวจราชการในมณฑลภาคพายัพเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๖๓ นั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ
ก็ได้มีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลรายงานการเสด็จไปทอดพระเนตรการซ้อมรบของทหาร
เสือป่าและลูกเสือ ที่เมืองนครเชียงใหม่ไว้ว่า
"ในราชการส่วนนักรบที่นี่
ข้าพระพุทธเจ้าได้ดูการฝึกหัดซ้อมรบ
ซึ่งมีทหารในกรมทหารบกราบที่ ๘ เสือป่า ๑ กองร้อย
นักเรียนเสือป่าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ๑ กองร้อย
ลูกเสือมาจากโรงเรียนต่างๆ รวมกัน ๒ กองร้อย
กับหมวดเสือป่าม้า หมวดเสือป่าจักระยาน
ทำการร่วมกันต่อสู้กับข้าศึกที่ในบังคับนายพันตรีหลวงไกรกระบวนหัด
ผู้บังคับการกรมทหารบกราบที่ ๘
แลเห็นได้ว่านักรบต่างๆ
เหล่านี้ทำการกลมเกลียวดันดีอย่างยิ่ง
และความสามารถในน่าที่ก็ต่างคนต่างมีพอสมควรทั้งนั้น
ทหารย่อมมีอาการคล่องแคล่วมากกว่าพวกอื่นอยู่เป็นธรรมดา
เพราะเป็นผู้ที่หัดกันอยู่เสมอ
ส่วนเสือป่าที่เป็นผู้ใหญ่นั้น
ถ้าจะดูความฉลาดไหวพริบ ดีมาก
แต่กำลังกายนั้นอยู่ข้างจะอ่อน เหนื่อยง่ายเต็มที
ทั้งนี้ความจริงก็ไม่ติมากนัก
เพราะนานๆจะได้กระทำการดังนี้ครั้งหนึ่ง
ส่วนนักเรียนเสือป่าแลลูกเสือกำลังบริบูรณแน่นแฟ้นดี
วินัยก็ดีมาก ออกจะไม่เลวกว่าทหาร
แต่ความรู้ในน่าที่ยังอ่อนอยู่บ้าง
รวมความว่าถ้าจะดูโดยทั่วไปแล้ว
เห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมว่านักรบต่างๆ
ที่จังหวัดเชียงใหม่นี้มีความพยายามในน่าที่ของตนดีพอใช้
และทำการสนิทสนมกลมเกลียวเป็นสามัคคีกันดี
ถ้ามีราชการจำเป็นแล้วอาจจะฉลองพระเดชพระคุณให้เป็นประโยชน์ได้เป็นแท้"
[๖] |
เมื่อประมวลเรื่องราวการซ้อมรบเสือป่าจากคำบอกเล่าข้างต้น
ก็น่าจะยืนยันได้ว่า
การซ้อมรบของเสือป่าและลูกเสือที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดขึ้นตลอดรัชสมัยนั้น
นอกจากจะทรงมุ่งหวังให้เสือป่าและลูกเสือที่เข้าร่วมการซ้อมรบโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกกองเสนาหลวงรักษาพระองค์ที่จะต้องทำหน้าที่เป็นกองกำลังถวายอารักขาและรักษาพระราชฐานที่ประทับแทนทหารรักษาพระองค์ที่ต้องเคลื่อนกำลังออกไปรบกับอริราชศัตรูเช่นเดียวกับกรมกองทหารอื่นๆ
ให้มีความสามารถในการลาดตระเวน การสอดแนม
และมีความสามารถในการรบแบบจรยุทธ์
อันเป็นการใช้หน่วยรบขนาดเล็กที่มีความชำนาญพื้นที่เข้าต่อตีกับกองกำลังขนาดใหญ่ของอริราชศัตรูที่ยกกำลังล่วงล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขตแล้ว
กองกำลังเสือป่ายังจะสามารถเข้าร่วมสมทบเป็นส่วนหนึ่งของกรมกองทหารจัดเป็นหน่วยรบขนาดใหญ่ในการรบเต็มรูปแบบอีกด้วย
 |
รถหุ้มเกราะ ในระหว่างการซ้อมรบเสือป่า พ.ศ. ๒๔๖๔ |
นอกจากนั้นยังทรงใช้การซ้อมรบเสือป่าเป็นสนามทดลองวิธียุทธ์อย่างใหม่ก่อนที่จะทรงนำผลที่ทรงทดลองแล้วนั้นพระราชทานให้กระทรวงกลาโหมนำไปปรับใช้ในราชการกองทัพบก
ดังเช่นเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑
อังกฤษได้สร้างรถโคมฉายเพื่อใช้ส่องหาเครื่องบินในเวลากลางคืนและจัดสร้างรถหุ้มเกราะขึ้นใช้ในการรบ
ณ สมรภูมิทวีปยุโรป ครั้นสงครามสงบลงแล้ว
ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้จัดซื้อรถโคมฉายจากประเทศอังกฤษมาเป็นต้นแบบคันหนึ่ง
ทั้งยังได้โปรดเกล้าฯ
พระราชทานรถยนต์พระประเทียบชื่อ "ภาพยนตร์" และ "กลกำบัง"
พร้อมด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อีกจำนวนหนึ่งให้หลวงกลการเจนจิต
(เภา วสุวัต)
จัดการรื้อตัวถังเดิมของรถยนต์พระประเทียบทั้งสององค์ออก
และต่อตัวถังใหม่ด้วยเหล็กหนาทำเป็น "รถโคมฉาย"
และ "รถหุ้มเกราะ"
ตามแบบรถโคมฉายและรถหุ้มเกราะที่กองทัพอังกฤษนำไปใช้ในสงครามโลกครั้งที่
๑
จากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "กองรถเกราะและรถโคมฉาย"
ขึ้นในกองเสือป่า กับได้โปรดเกล้าฯ
ให้รถโคมฉายและรถหุ้มเกราะนี้เข้าร่วมในการประลองยุทธเสือป่ามาตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๔๖๒
จนเป็นที่ทรงตระหนักแน่ในพระราชหฤทัยถึงประโยชน์ของการใช้รถหุ้มเกราะในการสงครามแล้ว
จึงได้โปรดเกล้าฯ
ให้กระทรวงกระลาโหมสั่งซื้อรถโคมฉายและรถหุ้มเกราะเข้ามาใช้ในราชการกองทัพบก
อีกทั้งในตอนปลายรัชกาลยังได้โปรดเกล้าฯ
ให้กรมพระคลังข้างที่จ่ายเงินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เข้าสมทบการจัดซื้อรถจักรยานยนต์และปืนกลจำนวน
๖ กระบอกไว้ใช้ในราชการเสือป่า
แต่เมื่อรถจักรยานยนต์และปืนจำนวนดังกล่าวเข้ามาถึงกรุงเทพฯ
ได้เพียงเดือนเศษ ก็ทรงพระประชวรเสด็จสวรรคต
รถจักรยานยนต์และปืนกลทั้ง ๖
กระบอกนั้นจึงยังมิทันได้ทดลองใช้ในราชการเสือป่าดังพระราชประสงค์
แต่เมื่อกิจการเสือป่าต้องสิ้นสุดลงเพราะเสด็จสวรรคตแล้ว
ยกระบัตรเสือป่าก็คงจะได้มอบรถจักรยานยนต์และอาวุธปืนนั้นให้กองทัพบกไว้ใช้ในราชการ
เช่นเดียวกับที่ได้ส่งมอบปืนพระราม ๖
อาวุธประจำกายของเสือป่าให้แก่ตำรวจภูธรไว้ใช้ในราชการปราบปรามโจรผู้ร้ายต่อมา
 |
นายนาวาตรี หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ร.น.ส. |
ในส่วนการฝึกซ้อมวิธียุทธของเสือป่านั้น
ยังได้พบความตอนหนึ่งในบทความเรื่อง "ขอให้เหลียวดูเสือป่าบ้าง"
ของนายกองเอก หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์
ซึ่งได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในดุสิตสมิต เล่ม ๑
ฉบับพิเศษ สำหรับเปนที่ระฦกในงานเฉลิมพระชนมพรรษา
พ.ศ. ๒๔๖๑ ว่า
"นอกจากนี้ยังมีข้อซึ่งควรจะเล่าสู่ท่านผู้ยังไม่เคยสังเกตอีกข้อ
๑ คือ
วันหนึ่งในการประลองยุทธ์ใหญ่ของทหารบกที่จังหวัดราชบุรีเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๖๐
รองผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กอวดข้าพเจ้าว่าจะเข้าตีข้าศึกโดยใช้วิธียุทธ์อย่างใหม่,
ซึ่งเขาได้ใช้กันในสงครามที่ยุโรปคราวนี้,
แลยังไม่มีกรมทหารใดๆ ในประเทศสยามได้ทำเลย.
เมื่อข้าพเจ้าเห็นเขาทำแล้วรู้สึกภาคภูมใจที่สุด,
ด้วยข้าพเจ้าได้เคยรับพระบรมราโชวาทถึงวิธียุทธ์อย่างนี้มาแล้ว
และได้ทดลองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙
เรื่องยุทธวิธียังมีข้อที่น่าเล่าที่สุดอีกอย่าง
๑,
ท่านผู้มีความรู้ในวิชานักรบคงรู้ดีว่าการยุทธ์ในเวลากลางคืนเปนการลำบากปานใด
เพราะความมืดทำให้การติดต่อยากที่สุด,
เหตุการณ์ฝ่ายข้าศึกเราก็เห็นได้ยาก.
ทั้งฝ่ายเราก็จวนจะจำกันไม่ได้อยู่แล้ว,
แต่ถึงแม้เช่นนั้นก็ดีเสือป่าทำการได้ดีที่สุด.
ความเร็ว, ความเงียบและความพร้อมเพรียง,
ข้อเหล่านี้รวมกันเข้ากระทำให้เราทำการสำเร็จแทบทุกครั้ง.
ข้าพเจ้าหาญกล่าวได้ว่าในเวลาสงครามเสือป่าอาจทำน่าที่ของนักรบได้ดีเสมอไหล่กับทหารบกเปนแน่แท้."
[๗] |
|
|

|
|
|
[
๑ ]
พระยาทวีปธุระประศาสน์
บรมนาถภักดี (ชุบ โอสถานนท์)
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
พระยาประชากิจกรจักร์
[
๒ ]
หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา
[
๓ ]
หม่อมเจ้าคำรบ ปราโมช
ต่อมาได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเป็น นายพลโท
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ
[
๔ ]
นามเดิม ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์
ต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น
นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร.
[
๕ ]
สักขี.
จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้
ของสักขี ตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน ถึง วันที่
๒๒ พฤษภาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๐, หน้า ๑๐๒
- ๑๐๔.
[
๖ ]
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๖ ม. ๒๗/๑๐
เรื่องสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมาเสด็จมณฑลพายัพ
(๓๑ ตุลาคม ๒๔๖๓ - ๒๙ มีนาคม ๒๔๖๗).
[
๗ ]
"ขอให้เหลียวดูเสือป่าบ้าง",
ดุสิตสมิต เล่ม ๑ ฉบับพิเศษ
สำหรับเปนที่ระฦกในงานเฉลิมพระชนมพรรษา,
หน้า ๓๖ - ๓๘.
|
|
|
|