แม้ว่าวชิราวุธวิทยาลัยจะส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขั้นทั้งรักบี้ฟุตบอล
ยาสเกตบอล และว่ายน้ำแล้วก็ตาม
ต่หลังจากนั้นไม่นานนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวงเชียงใหม่
พลเอกประภาส จารุเสถียร (ยศในขณะนั้น)
นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
และอุปนายกคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย
ซึ่งเวลานั้นดำรงตำแหน่งประธานโอลิมปิคแห่งประเทศไทยอยู่ด้วย
ได้นำความมาเรียนให้ท่านผู้บังคับการพระยาภะรตราชาทราบว่า
มีผู้สบประมาทวชิราวุธวิทยาลัยว่า
เก่งแต่กีฬารักบี้ฟุตบอลอย่างเดียว
เล่นกีฬาอย่างอื่นไม่เป็น
เพื่อลบคำสบประมาทดังกล่าวท่านผู้บังคับการพระยาภะรตราชา
เจ้าของวลีเด็ด กีฬามีแพ้มีชนะ แต่วันนี้แพ้ไม่ได้
จึงได้มีบัญชาให้ ครูอรุณ แสนโกศิก
ผู้ช่วยผู้บังคับการและผู้กำกับคณะจิตรลดา
ซึ่งเคยเป็นทั้งอดีตนักรักบี้ฟุตบอลทีมชาติ
นักฟุตบอลทีมชาติ
และนักกรีฑาทีมชาติจัดหาผู้ฝึกสอนกรีฑามาฝึกหัดนักเรียน
 |
ครูอรุณ แสนโกศิก
ผู้ฝึกสอนกีฬารักบี้ฟุบอลวชิราวุธวิทยาลัยจนได้ชื่อว่า
"แชมป์ตลอดกาล" |
ครูอรุณในฐานะอดีตนักกรีฑาทีมชาติไทยชุดแรกที่ได้ไปแข่งกรีฑาโอลิมปิคที่กรุงเฮลซิงกิ
ประเทศฟินแลนด์ ก็ได้ขอยืมตัวนักกรีฑาทีมชาติรุ่นน้อง อาทิ
ครูชลิต กษิษฐสุต จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด มาช่วยฝึกสอน
และสามารถส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกรีฑาที่กรมพลศึกษาเป็นผู้จัด
ครบทั้ง ๔ รุ่นใน พ.ศ. ๒๕๑๓ คือ
รุ่นจิ๋ว |
ความสูงไม่เกิน ๑.๔๕ เมตร |
รุ่นเล็ก |
ความสูงไม่เกิน ๑.๕๕ เมตร |
รุ่นกลาง |
ความสูงไม่เกิน ๑.๖๕ เมตร |
รุ่นใหญ่ |
ความสูงเกินกว่า ๑.๖๕ เมตร |
 |
ท่านผู้บังคับการ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ
อยุธยา
เป็นประธานมอบเหรียญรางวัลการแข่งขันกรีฑาแก่นักกีฬาวชิราวุธวิทยาลัย
ที่ชนะเลิศได้เหรียญทองและเหรียญเงินในการแข่งขันกรีฑานักเรียนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยที่สนามศุภชลาศัย |
 |
นักกรีฑาวชิราวุธวิทยาลัยร่วมการแข่งขันกระโดดสูง
ในการแข่งขันกรีฑานักเรียนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยที่สนามศุภชลาศัย |
ปีแรกที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขัน
ทีมกรีฑาวชิราวุธวิทยาลัยก็สามารถกวาดถ้วยรางวัลชนะเลิศในรุ่นต่างๆ
เกือบทุกรุ่น
เว้นเพียงถ้วยรางวัลชนะเลิศรุ่นใหญ่ที่นักกีฬาเสียเปรียบด้านรูปร่าง
ถ้วยรางวัลรุ่นใหญ่จึงตกเป็นของทีมกีฬาโรงเรียนนานาชาติบางกอกพัฒนา
แม้กระนั้นเมื่อรวมคะแนนทุกประเภทกีฬาแล้ว
ทีมกรีฑาวชิราวุธวิทยาลัยก็ทำคะแนนรวมได้เป็นลำดับที่ ๑
ได้ครองถ้วยรางวัลคะแนนรวมอีกถ้วยหนึ่ง
และปีถัดมาทีมกรีฑาวชิราวุธวิทยาลัยซึ่งได้ปรับปรุงข้อเสียเปรียบในปีที่ผ่านมา
ก็สามารถค้าถ้วยรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกรีฑาของกรมพลศึกษามาไว้ในครอบครองได้ครบทั้ง
๔ รุ่น รวมทั้งถ้วยรางวัลคะแนนรวมต่อเนื่องกันมาอีกหลายปี
จนเลิกส่งเข้าแข่งขันเพราะกำหนดการแข่งขันที่กรมกรมพลศึกษากำหนดขึ้นในแต่ละปีไปตรงกับปฏิทินกีฬาชนิดอื่นของโรงเรียน
จากการที่วชิราวุธวิทยาลัยได้ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันกรีฑานักเรียนของรมพลศึกษานี้เอง
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระบรมราชานุมัติให้ปรับปรุงสนามหน้าตามคำกราบบังคมทูลเสนอแนะของคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย
ในการปรับปรุงสนามหน้าคราวนั้นนอกจากจะปรับพื้นผิวสนามและมีการฝั่งท่อระบายน้ำตามมาตรฐานสนามกีฬาสากลแล้ว
โรงเรียนยังได้จัดให้มีการปรับลู่วิ่งสำหรับการแข่งขันกรีฑาของโรงเรียนที่แต่เดิมเป็นลู่วิ่งขนาด
๒๐๐ เมตร เป็นลู่วิ่งมาตรฐาน ๔๐๐ เมตร
ซึ่งได้ใช้งานต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
 |
ทีมฟุตบอลคณะบรมบาท (คณะผู้บังคับการ)
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ชุดชนะเลิศการแข่งขันเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ |
นอกจากการส่งนักกีฬาเข้าร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ
ทั้งในและต่างประเทศแล้ว
ในส่วนการแข่งขันกีฬาระหว่างคณะภายในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้น
แม้จะมีคำบอกเล่ของนักเรียนเก่าอาวุโสว่ามีการแข่งขันจริง
แต่ในชั้นนี้ยังไม่สามารถสืบหาหลักฐานได้ว่ามีการแข่งขันกีฬาประเภทใดบ้าง
คงพบหลักฐานแต่เฉพาะที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสภากรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
กับกรรมการพิเศษของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่
ได้พระราชทาน ประทาน
และให้ถ้วยและโล่เป็นรางวัลในการแข่งขันกีฬาต่างๆ
ระหว่างคณะภายในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ ดังนี้
๑)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานถ้วยสำหรับเป็นถ้วยสามารถของคณะ
ที่ได้แต้มมากที่สุด ๑ ถ้วย
 |
โล่รางวัลการแข่งขันราวน์เดอร์
ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี
กรรมการพิเศษโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ |
๒)
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
ประทานโล่สำหรับการแข่งขันราวน์เดอร์ ๑ โล่
๓)
นายพลโท หม่อมเจ้าบวรเดช [๑]
อุปราชมณฑลภาคพายัพ และกรรมการตรวจการพิเศษ
ประทานโล่สำหรับการแข่งขันกรีฑา ๑ โล่
๔)
นายพลโท พระยาประสิทธิ์ศุภการ
[๒]
(ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก
และผู้อำนวยการโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
ให้ถ้วยสำหรับการแข่งขันฟุตบอล ๑ ถ้วย
๕)
จางวางเอก พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)
ผู้ช่วยผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก
กรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ให้ถ้วยสำหรับการแข่งขั้นมวยปล้ำ ๑ ถ้วย
 |
ถ้วยรางวัลการแข่งขันดัดตน
ของ จางวางเอก พระยาวรพงษ์พิพัฒน์
(ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) |
๖)
จางวางเอก พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ [๓]
(ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) อธิบดีกรมตรวจมหาดเล็ก
กรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ให้ถ้วยสำหรับการแข่งขันดัดตน
(ยิมนาสติค) ๑ ถ้วย
นอกจากถ้วยรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาระหว่างคณะทั้ง
๖ ถ้วยแล้ว
ยังพบถ้วยรางวัลที่กรรมการพิเศษของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ได้มอบไว้อีก
๒ ถ้วย คือ ถ้วยรางวัลการแข่งขั้นวิชาเสือป่าระหว่างคณะของ
มหาอำมาตย์โท นายพลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้านครลำปาง
และถ้วยรางวัลของมหาอำมาตย์โท นายพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐฯ
เจ้านครเชียงใหม่
ซึ่งไม่ทราบว่าให้ไว้สำหรับการแข่งขันกีฬาชนิดมด
ถ้วยและโล่รางวัลของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่นี้
เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๓๑
ทกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้ว
กรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เก็บรวบรวมและส่งมาเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยุบรวมโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อวันที่
๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว
บรรดาทรัพยฺสินและถ้วยรางวัลของโรงเรียนราชวิทยาลัยก็ถูกส่งมาเก็บรักษาไว้ที่วชิราวุธวิทยาลัย
ซึ่งต่อมาวชิราวุธวิทยาลัยได้ใช้เป็นถ้วยรางวัลในการแข่งขันกีฬาระหว่างคณะต่อมา