ด้วยข้อตกลงในมาตราทึ่ ๒
แห่งอนุสัญญาดังกล่าว
ฉะนั้นเพื่อแก้ไขเหตุขัดข้องดังกล่าว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดแบ่งอัตรากำลังจากกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.
ไปจัดตั้งกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.
ขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘
คงเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในกองพันนี้จากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทางกระทรวงวังเช่นเดียวกับส่วนราชการในพระราชสำนักอื่นๆ
แล้วโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหารในหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้
เพื่อเกณฑ์ชายฉกรรจ์เข้าเป็นทหารรักษาวัง
แทนการส่งกำลังจากกรุงเทพฯ
ไปประจำการในมณฑลนครศรีธรรมราชตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙
เป็นต้นมา
 |
จอมพล
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.
เสด็จประทับ ณ มุขหน้าที่ว่าการกองพันที่
๓ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.
ในการพระราชทานธงไชยเฉลิมพล กองพันที่ ๓
กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.
วันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ |
ในการจัดตั้งกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง
ว.ป.ร. ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
กับจัดให้มีส่วนแยกไปตั้งประจำอยู่ที่จังหวัดระนองและพัทลุงนั้น
ได้พระราชทานพระบรมราชกุศโลบายไว้ว่า
มีพระราชประสงค์ ...จะไปตั้งวังอยู่ในมณฑลปักษ์ใต้แห่งหนึ่ง
และอาไศรยเหตุที่จำเปนต้องมีคนถืออาวุธรักษาพระองค์ในเวลาไปประทับที่นั้น
ควรจัดตั้งกองทหารรักษาวังขึ้นกอง ๑...
[๑]
ประกอบกับโดยนิตินัยแล้วกองทหารรักษาวังมิใช่กองทหารประจำการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม
หากแต่เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงวัง
จึงทำให้การจัดตั้งกองพันทหารรักษาวังในมณฑลนครศรีธรรมราชเป็นไปโดยเรียบร้อยปราศจากการร้องคัดค้านจากทางการอังกฤษ
ในส่วนการป้องกันพระราชอาณาเขตทางทะเล
ซึ่งนับว่าเป็นพระราชกิจสำคัญในรัชกาลอีกประการหนึ่งนั้น
ก็พบหลักฐานว่าเมื่อเสด็จเสวยสิริราชสมบัติในปี
พ.ศ. ๒๔๕๓ แล้ว
ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองมณฑลชายทะเลอ่าวไทยเป็นครั้งแรก
ในระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔
การเสด็จพระราชดำเนินคราวนั้นนอกจากจะได้เสด็จประพาสเมืองมณฑลนครศรีธรรมราช
คือ เมืองสงขลา และหาดใหญ่ มณฑลชุมพร คือ เกาะพงัน
และเมืองชุมพรแล้ว
ยังได้เสด็จประพาสหมู่เกาะในบริเวณชายฝั่งทะเลมณฑลจันทบุรี
อาทิ เกาะกูด เกาะช้าง เกาะเสม็ด ช่องแสมสาร
และสัตหีบ โดยมีพระที่นั่งมหาจักรีเป็นเรือทรง
ทั้งยังได้โปรดให้เรือสุครีพ เรือพาลี
และเรือเสือทยานชล
ซึ่งเป็นเรือรบของกระทรวงทหารเรือตามเสด็จไปในกระบวนด้วย
|
เข็มตราสัญลักษณ์ราชาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม
ในพระบรมราชูปถัมภ์
บนแพรแถบสีธงชาติ (ธงช้างเผือก
และธงไตรรงค์)
ที่มอบเป็นที่ระลึกให้ผู้ร่วมบริจาคสมทบจัดซื้อเรือรบหลวงพระร่วงตั้งแต่
๑ บาทขึ้นไป |
ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๗
ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม
ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น
เพื่อจัดการเรี่ยไรเงินซื้อเรือรบชนิดที่เรียกว่า
เรือลาดตระเวนอย่างเบา (Light Cruiser)
ระวางขับน้ำ ๕,๐๐๐ ตันลงมา
อันเป็นเรือที่มีความคล่องตัวสูง
สามารถทำการยุทธเบ็ดเตล็ดได้มากกว่าเรือชนิดอื่นๆ
เพื่อไว้ป้องกันพระราชอาณาเขตทางทะเล
โดยได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์เป็นทุนประเดิมจำนวน
๘๐,๐๐๐ บาท แล้วได้โปรดเกล้าฯ
พระราชทานเงินรายได้จากการจัดแสดงละครพระราชนิพนธ์
การประกวดภาพ รวมทั้งเงินรายได้ต่างๆ ของดุสิตธานี
ฯลฯ สมทบกับเงินที่ราษฎรทุกหัวเมือง
 |
นายพลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอ
กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ทรงฉายที่ประเทศอังกฤษเมื่อครั้งเสด็จไปทรงจัดซื้อเรือรบหลวงพระร่วง |
 |
เรือรบหลวงพระร่วงในการสมโภชขึ้นระวางที่ท่าราชวรดิษฐ
เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ |
 |
ประทับบนเรือพระที่นั่งมหาจักรี
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองชายทะเลมณฑลจันทบุรี
ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ |
(จากซ้าย) |
๑. นายนาวาโท
หลวงประดิยัตินาวายุทธ (ศรี
กมลนาวิน - พระยาราชวังสัน)
ผู้บังคับการเรือพระที่นั่งมหาจักรี
|
|
๒. นายพลเรือโท พระยามหาโยธา (ฉ่าง
แสง - ชูโต) ผู้บัญชาการกรมชุมพล
|
|
๓. จอมพลเรือ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
มณฑลทั่วราชอาณาจักรได้บริจาคทั้งสิ้น
๒,๕๙๑,๙๔๖ บาท ๖๕ สตางค์
รวมกับเงินผลประโยชน์ที่หาได้จากเงินบริจาคจำนวดังกล่าวอีก
๙๒๒,๖๕๗ บาท ๓๖ สตางค์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
๓,๕๑๔,๖๐๔ บาท ๑ สตางค์ ให้นายพลเรือโท
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
[๒]
เสนาธิการทหารเรือและเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ
เป็นข้าหลวงพิเศษนำคณะออกไปเลือกซื้อเรือรบที่ประเทศอังกฤษ
ที่สุดทรงเลือกได้เรือพิฆาตตอร์ปิโดซื่อ เรเดียนท์
ของบริษัท ทอร์นิครอฟท์ จำกัด ในราคา ๒๐๐,๐๐๐
ปอนด์ กับมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก ๙,๐๐๐ ปอนด์ กับ
๔๗,๑๐๘ บาท ๘ สตางค์
แล้วได้ทรงบังคับการนำเรือรบที่ได้โปรดพระราชทานนามว่า
เรือพระร่วง นั้นเดินทางสู่ประเทศสยาม
โดยมีนายทหารเรือไทยทั้งหมดเป็นผู้บังคับเรือข้ามทวีปเป็นครั้งแรกแล้ว
ได้โปรดเกล้าฯ
ให้มีการพระราชพิธีสมโภชและขึ้นระวาง เรือรบหลวงพระร่วง
ซึ่งเป็นนามที่พระราชทานให้ใหม่ เมื่อวันที่ ๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ณ ท่าราชวรดิษฐ
ส่วนเงินที่เรือจากการจัดซื้อเรือพระร่วงจำนวน
๓๖,๘๕๘ ปอนด์ ๕ ชิลลิง ๒ เพนนี กับ ๒๗๑,๓๓๘ บาท ๕๗
สตางค์นั้น โปรดเกล้าฯ
พระราชทานให้กองทัพเรือไว้ใช้ในราชการต่อไป