เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม
ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้นแล้ว ต่อมาในเดือนธันวาคม
พ.ศ. ๒๔๕๗
ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองชายทะเลมณฑลจันทบุรีอีกครั้งหนึ่ง
ในการเสด็จพระราชดำเนินคราวนี้ นอกจากจะโปรดเกล้าฯ
ให้กระทรวงทหารเรือจัดการซ้อมรบทางเรือระหว่าง
หมู่เรือตอร์ปิโดไทย ซึ่งประกอบด้วย
เรือพิฆาตหลวงเสือทยานชล เรือตอร์ปิโด ๒
เรือตอร์ปิโด ๓ เรือตอร์ปิโด ๔
และเรือรบหลวงสุริยะ ซึ่งสมมติเป็นเรือนำฝ่ายหนึ่ง
กับกองเรือข้าศึกซึ่งประกอบ
เรือรบหลวงมกุฎราชกุมารเป็นเรือธง เรือรบหลวงพาลี
เรือรบหลวงสุครีพ และเรือหลวงบุ๊ก
ซึ่งสมมติเป็นเรือบรรทุกทหารอีกฝ่ายหนึ่ง
โดยทรงเป็นผู้อำนวยการซ้อมรบด้วยพระองค์เองแล้ว
ยังได้โปรดเกล้าฯ
ให้กระทรวงทหารเรือจัดให้เรือที่เข้าร่วมการซ้อมรบนั้นแปรกระบวนสวนสนามทางเรือถวายตัวเป็นสองกระบวนพร้อมกัน
นับเป็นครั้งแรกที่แม่ทัพเรือไทยได้อำนวยการซ้อมรบและจัดการสวนสนามทางเรือขึ้นเป็นครั้งแรกในท้องทะเลอ่าวไทย
และในการเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกคราวนี้
ยังได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศสงวนพื้นที่ชายฝั่งทะเลสัตหีบตั้งแต่เกล็ดแก้วไปจนถึงแสมสาร
ซึ่งภูมิประเทศประกอบไปด้วยภูเขา
อ่าวใหญ่และหมู่เกาะอันเร้นลับไว้เพื่อประโยชน์แก่ราชการกองทัพเรือ
ครั้นกระทรวงทหารเรือจัดให้มีการสำรวจพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวสยามเมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๖๓ แล้วพบว่า
อ่าวสัตหีบมีความเหมาะสมทางด้านยุทธศาสตร์
กล่าวคือ
๑. อยู่เป็นสถานกลางของอ่าวสยาม
๒. เป็นต้นทางของ VITAL POINT คือแม่น้ำเจ้าพระยา
๓. น้ำลึกพอที่จะเป็นอ่าวเรือใหญ่
และสามารถจัดเป็นที่ฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโดได้
๔. มีเกาะต่างๆ
เป็นที่กำบังสำหรับเล็ดลอดออกกระทำการยุทธวิธีด้วยเรือเล็กได้สะดวก
๕. ทางบก
มีทางติดต่อกับรถไฟสายปราจิณได้สะดวกไม่ต้องกลัว
Isolation
๖. อาจติดต่อกับกำลังทางทหาร
และเป็นปีกหนึ่งของกองทัพบก ฝ่ายตะวันออกได้สะดวก
๗.
เป็นที่ฝึกหัดทางทะเลได้ตลอดทั้งสองมรสุมโดยเป็นที่กำบังมิดชิด
ต่อมาวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ นายพลเรือเอก
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
เสนาธิการทหารเรือ
ได้มีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานที่ดินอ่าวสัตหีบที่ได้โปรดเกล้าฯ
ให้สงวนไว้ไปจัดสร้างเป็นฐานทัพเรือ
เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว
ได้มีพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาต
เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕
โดยมีความตอนหนึ่งว่า
 |
พระราชกระแสพระราชทานที่ดินอ่าวสัตหีบให้กระทรวงทหารเรือจัดเป็นฐานทัพเรือ |
การที่จะเอาสัตหีบเปนฐานทัพเรือนั้น
ก็ตรงตามความปรารถนาของเราอยู่แล้ว,
เพราะที่เราได้สั่งหวงพื้นที่นั้นไว้ก็ด้วยความตั้งใจจะให้เปนเช่นนั้น.
แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะใช้เปนฐานทัพเรือ
และไม่อยากให้โจทย์กันวุ่น.
จึงได้กล่าวว่าจะต้องการที่ไว้ทำวัง,
สำหรับเผื่อจะมีผู้ขอจับจอง
ฝ่ายเทศาภิบาลจะได้ตอบไม่อนุญาตได้โดยอ้างเหตุว่า
พระเจ้าอยู่หัวต้องพระประสงค์
เมื่อบัดนี้ทหารเรือจะต้องการที่นั้นก็ยินดีอนุญาตให้.
[๑] |
อนึ่ง เมื่อคราวที่ทรงประกาศสงครามกับเยอรมนี
และออสเตรีย - ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้กระทรวงกลาโหมเปิดรับพลอาสาสมัครไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่
๑ จัดเป็นกองทหารบกรถยนต์ ๘๐๐ คน และกองบินทหารบก
๔๐๐ คน
เมื่อกองทหารอาสาสมัครทั้งสองกองเดินทางถึงประเทศฝรั่งเศสแล้ว
กองทัพฝรั่งเศสได้ให้การอนุเคราะห์จัดการฝึกหัดแบบให้เปล่าแก่นายทหารในกองทหารบก
รถยนต์ให้สามารถขับรถยนต์และซ่อมเครื่องยนต์จนสามารถออกทำการในสมรภูมิ
และได้รับตรา ครัวเดอแกรซ์ (Croix de Guerre)
อันเป็นเหรียญกล้าหาญของฝรั่งเศสประดับที่ยอดธงไชยเฉลิมพล
ส่วนกองบินทหารบกนั้น
เนื่องจากต้องใช้เวลาฝึกบินและซ่อมบำรุงอากาศยานเป็นเวลานาน
แม้สงครามจะสงบลงแล้วกองทัพฝรั่งเศสก็ยังคงให้การอนุเคราะห์ฝึกหัดนายทหารในกองบินทหารบกจนสามารถสอบไล่ได้เป็นนักบินเกือบร้อยนาย
และเป็นช่างซ่อมบำรุง
 |
กองทหารบกรถยนต์ในบังคับนายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์
(ต๋อย หัสดิเสวี - นายพันโท พระอาสาสงคราม)
ผู้บังคับกองทหารบกรถยนต์ (ยืนขวาสุด)
รับธงไชยเฉลิมพลและตรา ครัวเดอแกรซ์ (Croix de
Guerre)
ที่สถานีรถไฟเมืองนอยสตัดต์ ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑
อนึ่ง ในคราวเดียวกันนี้นายพลตรี มอร์ดอร์เร็ล
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเมืองนอยสตัดต์
ได้เป็นผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสประดับตรา ครัวซ์ เดอ
แกรร์ (Croix de Guerre)
ที่ยอดธงไชยเฉลิมพลกองทหารบกรถยนต์
เป็นเกียรติประวัติในการที่กองทหารบกรถยนต์ได้กระทำการ
ลำเลียงกำลังทหารและกระสุนปืนใหญ่เป็นจำนวนมากมายเข้าไปส่งในย่านกระสุนปืนข้าศึกหลายครั้งหลายหน |
อากาศยานอีกจำนวนหนึ่ง
และเมื่อเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒
แล้ว
นายทหารในกองทหารบกรถยนต์นั้นก็ได้นำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนากรมพาหนะทหารบกจนเป็นกรมการขนส่งทหารบกในปัจจุบัน
ส่วนนายทหารในกองบินทหารบกนั้นก็นำความรู้ที่ได้รับนั้นมาพัฒนากรมอากาศยานทหารบกจนเจริญ
ก้าวหน้าเป็นกองทัพอากาศในเวลาต่อมา
 |
 |
นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน
(ศรี กมลนาวิน) |
พลเรือตรี พระยาหาญกลางสมุท
(บุญมี พันธุมนาวิน) |
|
นอกจากนั้นยังได้โปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้นายนาวาโท
พระประดิยัตินาวายุทธ (ศรี กมลนาวิน)
ไปฝึกปฏิบัติในกองทัพเรือเดนมาร์ค และนายนาวาตรี
หลวงหาญสมุท (บุญมี พันธุมนาวิน)
[๒]
ไปประจำการในกองทัพเรืออังกฤษ
เพื่อเรียนรู้วิธีบังคับการเรือใต้น้ำของกองทัพเรืออังกฤษในระหว่างสงครามโลกครั้งที่
๑
จนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาจัดตั้งกองเรือใต้น้ำขึ้นในราชนาวีสยามได้สำเร็จในเวลาต่อมา