ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 |
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงฉายพระฉายาลักษณ์พร้อมด้วยข้าราชการไทยและคณะผู้ตามเสด็จชาวสหรัฐอเมริกา
ที่นครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๕
ทรงฉายคราวเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกา
ระหว่างวันที่ ๑๐ ตุลาคม - ๒๙ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๔๔๕
ในการเสด็จนิวัติพระนครโดยวิถีรอบพิภพ
พ.ศ. ๒๔๔๕ |
(นั่งเก้าอี้จากซ้าย) |
๑. พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา
บุรณศิริ) |
๒. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร |
๓. นายพันเอก พระยาราชวัลภานุสิษฐ
(อ๊อด ศุภมิตร)
ราชองครักษ์ |
(แถวยืนจากซ้าย) |
๓. นายพันตรี หลวงสรสิทธยานุการ (อุ่ม
อินทรโยธิน) |
๕. หม่อมอนุวัตรวรพงษ์ (ม.ร.ว.จิตร
สุทัศน์) |
|
สืบเนื่องจากการที่ได้เสด็จไปประทับทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษเป็นเวลายาวนานถึง
๙ ปี
และได้ทรงใช้เวลาว่างจากการทรงศึกษาเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศต่างๆ
ในยุโรปอยู่เสมอ
และในระหว่างทางเสด็จนิวัติพระนครในปี พ.ศ. ๒๔๔๕
ก็ยังได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา
และญี่ปุ่น
จึงทำให้ทรงคุ้นเคยกับประมุขของประเทศต่างๆ
เป็นอย่างดียิ่ง
ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วก็ได้ทรงเชิญผู้แทนประมุขจากนานาประเทศมาร่วมในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชในปี
พ.ศ. ๒๔๕๔
จึงทำให้ประเทศสยามเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศมากยิ่งขึ้น
 |
ทรงฉายพระฉายาลักษณ์พร้อมด้วยคณะข้าราชการไทยและญี่ปุ่น
ณ พระราชวังชิบา (Shiba Palace) กรุงโตเกียว
เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๕
คราวเสด็จประพาสประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๑๖
ธันวาคม - ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๕
ในการเสด็จนิวัติพระนครโดยวิถีรอบพิภพ พ.ศ. ๒๔๔๕ |
(แถวนั่งจากซ้าย) |
๑. กัปตันดอร์ลิ
ผู้บังคับการเรือพระที่นั่งมหาจักรี |
|
๓. นายพันเอก พระยาราชวัลภานุสิษฐ
(อ๊อด ศุภมิตร)
ราชองครักษ์ |
๔. นายร้อยโท
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร |
|
๕. มิสเตอร์วาตานาเบ (Mr. N.
Watanabe)
เจ้าพนักงานกรมพระราชพิธี
|
๖. พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์
(ม.ร.ว.เปีย มาลากุล)
|
|
๗. หม่อมอนุวัตรวรพงษ์ (ม.ร.ว.จิตร
สุทัศน์) |
|
๘. นายนาวาเอกไซโต (M. le
Capitaine de Vaisseau Saito) |
|
(แถวยืนจากซ้าย) |
๓. หลวงศักดิ์ นายเวร (เพิ่ม
ไกรฤกษ์) |
|
๔. นายพันโท พระราชวรินทร์ (วิเชียร
บุนนาค)
|
|
๕. นายเรือโท
หลวงประดิยัตินาวายุทธ์ (ฉ่าง
แสง
- ชูโต) |
|
๖. นายพันตรี หลวงสรสิทธยานุการ (อุ่ม
อินทรโยธิน)
ราชองครักษ์ |
|
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เกิดสงครามโลกครั้งที่
๑ ขึ้นในสมรภูมิทวีปยุโรป
ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยอังกฤษ ฝรั่งเศส
และรุสเซีย
กับฝ่ายมหาอำนาจกลางซึ่งประกอบด้วยเยอรมนี
และออสเตรีย-ฮังการี
ในช่วงต้นของสงครามนั้นประเทศสยามได้ประกาศตนเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
และคงรักษาความเป็นกลางนั้นโดยเคร่งครัดมาจนถึงวันที่
๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงประกาศสงครามกับชาติมหาอำนาจกลางอันประกอบด้วยเยอรมนี
และออสเตรีย-ฮังการี
 |
ธงชาติของชาติสัมพันธมิตร
กับแผนที่แสดงประเทศที่ร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๑
(พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๖๑)
ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและมหาอำนาจกลาง |
การที่ทรงประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีนั้น
นอกจากจะส่งผลให้สนธิสัญญาต่างๆ
ที่รัฐบาลสยามทำไว้กับรัฐบาลเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีเป็นอันสิ้นสุดลง
อันทำให้สามารถยกเลิกข้อผูกมัดเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและภาษีร้อยชักสามที่ทำไว้กับประเทศเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีลงได้
นับตั้งแต่แต่วันที่ประกาศสงครามครั้งนั้น
และเมื่อภาวะสงครามสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๒๔๖๒
นอกจากประเทศยามจะได้เป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งสันนิบาตชาติ
(Nation League)
อันเป็นต้นกำเนิดขององค์การสหประชาชาติ (United
Nations)
รวมทั้งได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์
(Universal Postal Union) องค์การอนามัยโลก (World
Health Organization) สหพันธ์สภากาชาดและสภา
 |
การประชุมสันติภาพและพิจารณาจัดตั้งสันนิบาตชาติ
(League of Nations)
ที่พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส |
เสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (League of
Red Cross and Red Crescent Societies)
[๑]
และองค์กรลูกเสือโลก (World Organization
of the Scout Movement) แล้ว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศสยามเป็นผู้ชนะในสงครามครั้งที่
๑ ดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ทั้งสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิสภาพนอกอาณาเขตซึ่งมีข้อสัญญาลิดรอนอำนาจของศาลไทย
รวมทั้งสนธิสัญญาว่าด้วยภาษีร้อยชักสามที่ทำให้ประเทศสยามต้องเสียเปรียบในด้านการค้าระหว่างประเทศ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบุรีนวราษฐ (ชวน
สิงหเสนี)
ราชเลขานุการในพระองค์ฝ่ายต่างประเทศออกไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำราชสำนักเซนต์เจมส์
ณ กรุงลอนดอน
เพื่อดำเนินการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั้นกับรัฐบาลอังกฤษเป็นชาติแรก
แต่เกิดมีปัญหาบางประการทางกรุงเทพฯ
ทำให้รัฐบาลอังกฤษขาดความเชื่อมั่นในบุคคลากรทางการศาลของไทย
ทำให้การเจรจาซึ่งดำเนินมาจนถึงขั้นจะลงนามในสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่จะทำให้ไทยได้รับเอกราชทางการศาลกลับคืนมาต้องล้มเลิกลงเสียก่อน
จึงต้องโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระยาบุรีนวราษฐ
ไปเป็นอัครราชทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
 |
พระยาบุรีนวราษฐ (ชวน สิงหเสนี)
อดีตราชเลขานุการในพระองค์และกรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง |
เมื่อพระยาบุรีนวราษฐ
ย้ายไปประจำรับราชการที่สหรัฐอเมริกาแล้ว
ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจ้าง
ดร.ฟรานซิส บี แซร์ (Dr. Francis B. Sayre)
[๒]
ศาสตราจารย์วิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ผู้เป็นบุตรเขยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน
(Woodrow Wilson)
เป็นที่ปรึกษาราชการกระทรวงต่างประเทศ
จากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ดร.ฟรานซิส บี แซร์
เป็นผู้มีอำนาจเต็มไปเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับนานาประเทศ
จนรัฐบาลสหรัฐอเมริกายินยอมแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั้นเป็นชาติแรก
แล้วจึงได้ดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศต่างๆ
ที่เหลืออยู่จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่การให้สัตยาบันในสนธิสัญญาที่แก้ไขนั้นมาแล้วเสร็จสมบูรณ์ในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว