ชนใดไม่มีดนตรีกาล |
ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก |
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ |
เขานั้นเหมาะคิดกบฎอัปลักษณ์ |
ฤๅอุบายเล่ห์ร้ายขมังนัก |
มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี |
อีกดวงใจย่อมดำสกปรก |
ราวนรกเช่นกล่าวมานี่ |
ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ |
เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ |
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เรื่อง เวนิสวานิช
|
ในประเทศไทยพบหลักฐานว่า มีการขับลำนำ และร้องเล่น
วรรณคดีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ในขณะที่ "ไตรภูมิพระร่วง"
ได้กล่าวถึงวงดนตรีไทยว่า ประกอบไปด้วย ฆ้อง กลอง
ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง
กรับ และกังสดาล
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงพบหลักฐานว่า
วงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย
แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป
นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน
ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง
ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่
เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา
รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา
ขลุ่ย และกรับพวง เป็นพื้น
 |
แตรฝรั่งในการพระราชพิธี |
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เครื่องดนตรีสากลหรือ แตรฝรั่ง
จึงได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในกรุงศริยุธยาเป็นครั้งแรก
ดังที่วิศิษฎฺ จิตรรังสรรค์
[๑]
ได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง ประวัติกำเนิดแตรเดี่ยว
และการใช้ประโยชน์ในกรุงสยาม
ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ แตรวง ว่า
แตรฝรั่งเข้ามาสู่สยามตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
.ศ. ๒๓๙๙ - ๒๒๓๑)
มีการพบบันทึกการเรียกชื่อแตรฝรั่งที่ใช้ในพระราชพิธีของราชสำนักไทยในตอนนั้นว่า
แตรวิลันดา (สุกรี เจริญสุข ๒๕๓๐)...
แตรฝรั่งในยุคนั้นจะเป็น Natural Trumpet
ในสมัยนั้นผู้เล่นทรัมเป็ตจะเป็นนักดนตรีในราชสำนัก
แบ่งออกเป็นสองพวก คือ
พวกนักดนตรีกับพวกที่ไม่ใช่นักดนตรี
พวกนักดนตรีจะเล่นเพลงที่มีโน๊ตและเข้าร่วมในวงดนตรี
|
 |
พลแตรเป่าแตรสัญญาณ |
ส่วนที่ไม่ใช่นักดนตรีจะเล่นแตรสัญญาณ
คนเป่าแตรสัญญาณในสนามรบจะอยู่ใกล้ผู้บัญชาการรบ
เพื่อรับคำสั่งให้เป่าสัญญาณให้ทหารทำตาม (Tarr
1988) [๒] |
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีบันทึกว่า ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ซื้อเครื่องดนตรีแตรวงไว้ชุดหนึ่ง
แต่ไม่มีการใช้งาน จน Frederich Albrech zu
Eullenberg ราชทูตปรัสเซียเข้ามา
เจริญทางพระราชไมตรีใน พ.ศ. ๒๔๐๕
พร้อมด้วยแตรวงทหารเรือปรัสเซียที่มาพร้อมกับเรือรบ
ซึ่งได้มีโอกาสแสดงถวายหน้าพระที่นั่งหลายครั้ง
 |
ยาคอบ ไฟฟ์ |
ในระหว่างที่กองแตรวงทหารเรือปรัสเซียคงพำนักอยู่ในกรุงสยามนั้น
นายฟริส (Feiez)
ครูแตรวงได้อาสาฝึกสอนทหารไทยให้เป่าแตรด้วยเพลงของเยอรมันได้ถึง
๓ เพลง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๐๙ นายยาคอบ ไฟท์ (Jacob
Veit)
ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมันได้เข้ามารับราชการเป็นครูแตรทหารวังหน้า
ได้ฝึกสอนนายทหารไทยให้มีความรู้ความสามารถในการเป่าแตรสัญญาณและบรรเลงแตรวงขนาดย่อม
โดยมีศิษย์ที่ปรากฏชื่อในสาส์นสมเด็จ คือ ครูตั้ง
ครูกรอบ ครูเลิงเชิง และหม่อมราชวงศ์ชิต เสนีวงศ์
เป็นศิษย์เอกที่สามารถเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี
เขียนโน๊ตสากลได้อย่างคล่องแคล่ว
และปฏิบัติงานแตรได้เป็นเลิศ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับรัชทายาทเสด็จดำรงสิริราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่
๕ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.
๒๔๑๑ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนากรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ขึ้นในปีเดียวกันนั้น
โดยทรงดำรงพระยศเป็นนายพันเอก
ผู้บังคับการกรมทหารนั้นด้วยพระองค์เอง
จนมีพระราชกิจน้อยใหญ่มากขึ้นจึงโปรดเกล้าฯ
ให้พระบรมวงศ์ดำรงจำแหน่งผู้บังคับการกรมแทนพระองค์
แต่คงทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษของกรมทหารนี้ต่อมาจนสิ้นรัชกาล
 |
นายพันโท พระวาทิตบรเทศ (ม.ร.ว.ชิต เสนีวงศ์)
นายแตรวงกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ |
ใน พ.ศ. ๒๔๑๔
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง แตรวง
[๓]
ขึ้นในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลภรักษาพระองค์
[๔]
โปรดเกล้าฯ ให้นายร้อยตรี
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
[๕]
เป็นผู้บังคับกองแตรวงเป็นพระองค์แรก
และจ่านายสิบ ม.ร.ว.ชิต เสนีวงษ์ [๖]
เป็นนายแตรวง
แตรวงทหารมหาดเล็กราชวัลลถรักษาพระองค์นี้คงมีหน้าที่บรรเลงนำแถวทหารและบรรเลงรับเสด็จในโอกาสต่างๆ
จนเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงโอนย้ายไปสังกัดจังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ
แล้วพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นกองดุริยางค์ทหารบกและกรมดุริยางค์ทหารบกในปัจจุบัน
 |
แตรวงกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
ในงานสวนสนามถวายชัยมงคลของลูกเสือและนักเรียนเนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช
ณ ท้องสนามหลวง วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ |
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนากองเสือป่าและลูกเสือเป็นกองกำลังสำรองของชาติขึ้นเมื่อวันที่
๖ พฤษภาคม และ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ แล้ว
ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้มีพลแตรประจำในกองร้อยเสือป่าและลูกเสือ
กับได้โปรดเกล้าฯ
ให้ข้าราชการกรมมหรสพซึ่งเป็นเสือป่าฝึกหัดเครื่องดนตรีสากลจนจัดเป็นแตรวงกรมเสือป่าหลวงรักษาพระองค์
ทำหน้าที่บรรเลงนำแถวเสือป่าและลูกเสือและบรรเลงเพลงเคารพในโอกาสสำคัญต่างๆ
มาเป็นลำดับ
 |
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กองลูกเสือหลวงที่หน้าท้องพระโรงวังวรดิศ
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๕๖ |
(แถวหน้า) |
๑. ครูหลวงหัดดรุณพล (จ้อย พลทา)
ครูวิชาทหารและผู้ช่วยผู้กำกับลูกเสือ
|
|
๔. พระยาโอวาทวรกิจ (ศร ศรเกตุ)
ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง |
|
สำหรับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งกองลูกเสือขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน
พ.ศ. ๒๔๕๔ และโปรดเกล้าฯ
ให้ทำพิธีเข้าประจำกองเป็นกองขึ้นสมทบในกรมเสือป่าหลวงรักษาพระองค์เมื่อวันที่
๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ
พระราชทานเกียรติยศกองลูกเสือกองแรกของประเทศสยามนี้เป็น
กองลูกเสือหลวง (รักษาพระองค์)
เฉกเช่นกรมทหารราบที่ ๑
มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเป็นกรมทหารบกกรมแรกของประเทศ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อแตรเดี่ยว
๔ คัน พระราชทานแก่กองลูกเสือหลวง
นับเป็นเครื่องดนตรีสากลชุดแรกของโรงเรียน