ทัณฑ์ทั้ง ๓
ประเภทที่จะลงแก่ข้าราชสำนักผู้ประพฤติผิดกฎมณฑียรบาลนี้
ท่านบัญญัติไว้ ดังนี้
ก. ประเภทคุรุทัณฑ์ เป็นพระราชอาญา
ซึ่งจะมีพระบรมราชโองการให้ลงแก่ข้าราชการผู้ประพฤติผิดต่อกฎนี้
โดยสถานใดสถาน ๑ ใน ๑๐ สถานซึ่งได้กล่าวแล้ว
หรือเป็นโทษซึ่งศาลรับสั่งปรึกษาวางบทลงโทษตามกฎมณเฑียรบาลนี้
ข. ประเภทมัธยมทัณฑ์
เป็นอาญาสำหรับที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดมีอำนาจจะกระทำได้แก่ผู้ที่อยู่ในบังคับบัญชาของตน
มีอยู่เป็นนานาสถาน ดังนี้
๑. ภาคทัณฑ์
๒. ติโทษ
๓. กัก ไม่เกินกว่า ๑ เดือน
๔. กักเงินเดือน ไม่เกินกว่า ๓ เดือน
๕. ทัณฑกรรม ไม่เกินกว่า ๗ วัน
๖. ขัง ไม่เกินกว่า ๑ เดือน
๗. ให้พักราชการ ไม่เกินกว่า ๖ เดือน
ถ้าผู้บังคับบัญชามีความปรารถนาจะลงโทษแก่ผู้ใดให้ยิ่งขึ้นไปกว่าที่กำหนดไว้นี้
ก็ให้ส่งคดีไปยังศาลรับสั่งเพื่อพิพากษาวางบทลงโทษต่อไป
ค. ประเภทลหุทัณฑ์
เปนอาญาสำหรับที่ผู้บังคับบัญชาโดยตรงมีอำนาจจะกระทำได้แก่ผู้ที่อยู่ในบังคับบัญชาของตน
(คือ อธิบดีกรมลงโทษแก่คนในกรมของตน)
มีเป็นนานาสถาน ดังต่อไปนี้
๑. ภาคทัณฑ์
๒. ติโทษ
๓. กัก ไม่เกินกว่า ๑๕ วัน
๔. ทัณฑกรรมไม่เกินกว่า ๓ วัน
ถ้าผู้บังคับบัญชาโดยตรงมีความปรารถนาจะลงโทษแก่ผู้ใดยิ่งขึ้นไปกว่าที่กำหนดไว้แล้วนี้
ต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ถ้าผู้รับโทษเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาโดยตรงลงโทษนั้นไม่เป็นยุติธรรม
หรือแรงเกินไปก็ดี
ท่านอนุญาตให้อุทธรณ์ถึงผู้บังคับบัญชาสูงสุดได้
การอุทธรณ์ให้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
และต้องยื่นต่อผู้บังคับบัญชาสูงสุดภายใน ๗ วัน
และในระหว่างที่อุทธรณ์นี้ให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงรอการลงโทษไว้ก่อน
ฝ่ายผู้บังคับบัญชาสูงสุดนั้นจะสั่งยกเรื่องราวเสียหรือจะสั่งแก้ไขโทษก็ได้
แต่ห้ามมิให้เพิ่มโทษให้หนักขึ้น
เว้นแต่ที่เห็นว่าผู้บังคับบัญชาโดยตรงได้จับข้อความผิดนั้นผิดประเภทหรือไม่ตรงกับบทบัญญัติแห่งกฎมณเฑียรบาลนี้
ก็สามารถสั่งแก้ไขไปตามความเห็นของตนได้
ถ้าผู้รับโทษไม่พอใจในคำวินิจฉัยแห่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดก็ให้ทำฎีกาขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวาย เพื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย
หรือจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ศาลรับสั่งกระทรวงวังพิจารณา ก็สุดแต่จะโปรด
แต่ฎีกาต้องทูลเกล้าฯ ถวายภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่คำสั่งของผู้บังคับบัญชาสูงสุดตกมานั้นเป็นต้นไป
และในระหว่างที่ยังมิได้พระราชกระแสสั่งในส่วนฎีกานั้น
ให้รอการลงโทษแก่ผู้ถวายฎีกาไว้ก่อน
อนึ่ง
ถ้าผู้ลงโทษเป็นเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูง
แม้ผู้รับโทษเห็นว่าการลงโทษนั้นไม่เป็นที่ยุติธรรม
หรือแรงเกินไป ก็อนุญาตให้ถวายฎีกาได้ภายใน ๑๕ วัน
ส่วนศาลรับสั่งกระทรวงวังนั้นจัดเป็นศาลสูงสุดในพระราชสำนัก
คดีใดที่ศาลรับสั่งได้วินิจฉัยเด็ดขาดไปแล้ว
ทั้งโจทย์และจำเลยจะอุทธรณ์มิได้
ถ้าจำเลยจะทูลเกล้าฯ
ถวายฎีกาขอพระราชทานลดหย่อนผ่อนโทษนั้นได้
แต่จะคัดค้านคำพิพากษาของศาลไม่ได้เป็นเด็ดขาด
ทั้งนี้คำพิพากษาศาลรับสั่งนั้นจะต้องได้รับพระบรมราชานุมัติก่อน
จึงจะบังคับบัญชาให้ลงโทษตามคำพิพากษานั้นได้
สำหรับระวางโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้น
กฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ได้กำหนดลักษณะความผิดและโทษที่จะลงไว้
ดังนี้
ผู้ซึ่งมีครอบครัวและเคหะสถานอยู่แล้ว
เมื่อประกาศใช้กฎนี้
มิได้รีบไปลงทะเบียนภายในเวลาที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดมัธยมกรรม
ต้องระวางโทษชั้นมัธยมทัณฑ์
แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีครอบครัวหรือเคหะสถานภายหลังวันที่ประกาศใช้กฎมณเฑียรบาลนี้
รวมทั้งผู้ที่มีครอบครัวหรือเคหะสถาน
อันได้จดทะเบียนแล้ว
เมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่ง
และมิได้ไปจดทะเบียนที่กรมต้นสังกัดภายในเวลา ๑๕
วัน ท่านว่าผู้นั้นมีความผิดเป็นชั้นคุรุกรรม
ต้องระวางโทษชั้นคุรุทัณฑ์
ผู้ที่ยังมิได้มีครอบครัวหรือเคหะสถานของคนเองก่อนประกาศใช้กฎมณเฑียรบาลนี้
หากไปมีภรรยาหรือเคหะสถานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกรมของตนก่อน
รมทั้งผู้ที่มีครอบครัวหรือเคหะสถานอันได้จดทะเบียนแล้ว
มีภรรยาเพิ่มเติมใหม่อีก
หรือมีเคหะสถานเพิ่มขึ้นอีก โดยมิได้รับอนุญาตก่อน
หรือมิได้ไปจดทะเบียนภายในกำหนด ๑๕ วัน
ท่านว่าผู้นั้นมีความผิดเป็นชั้นคุรุกรรม
ต้องระวางโทษชั้นคุรุทัณฑ์
ผู้ที่บังอาจมีภรรยาเป็นชาวต่างประเทศหรือคนในบังคับรัฐบาลต่างประเทศ
ก่อนที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ท่านว่าผู้นั้นมีความผิดเป็นชั้นคุรุกรรม
ต้องระวางโทษจำขังไม่ต่ำกว่า ๑๒ เดือน
คนโสดและคนไม่มีเคหะสถานหรือคนม่าย
ซึ่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดได้กำหนดให้อยู่ประจำในสถานที่ราชการแห่งใดๆ
แล้วไซร้
เลือกไปอยู่ที่แห่งอื่นโดยมิได้รับอนุญาตพิเศษจากผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ท่านว่าผู้นั้นมีความผิดเป็นมัธยมกรรม
ต้องระวางโทษชั้นมัธยมทัณฑ์
ส่วนผู้ที่ไปนอนค้างอยู่แห่งอื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยตรง
ท่านว่าผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษหนึ่งในสองสถานคือ
ถ้าไปนอนค้างที่อื่นเพียงคืนเดียวต้องระวางโทษชั้นลหุทัณฑ์
ถ้าเกินกว่า ๑ คืนต้องระวางโทษชั้นมัธยมทัณฑ์
ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
เป็นการละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎมณเฑียรบาลนี้หลายบท
ท่านให้ใช้บทที่มีทัณฑ์หนักที่สุดลงโทษแก่ผู้นั้น
แต่ถ้าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
ท่านว่าผู้นั้นต้องมีโทษตามกระทงความผิดทุกกระทง
และเมื่อพ้นโทษแล้วไกระทำความผิดซ้ำอีก
ท่านว่าผู้นั้นไม่เข็ดหลาบ ให้รับโทษเป็นทวีคูณ
 |
ใบอนุญาตให้มีภรรยาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
กฎมณเฑียรบาลนี้คงใช้บังคับแก่ข้าราชการในพระราชสำนักมาตลอดจนถึงยุคเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เมื่อมีการแปลงสภาพกระทรวงวังเป็นสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อนายกรัฐมนตรี
และข้าราชการในพระราชสำนักเปลี่ยนมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเช่นเดียวกับข้าราชการกระทรวงอื่นๆ
แล้ว กฎมณเฑียรบาลนี้จึงเป็นอันพ้นสมัยบังคับใช้
ตารางแสดงอำนาจการลงทัณฑ์ |
ผู้ลงโทษ |
ผู้รับโทษ |
อำนาจการลงทัณฑ์ |
ศาลรับสั่งกระทรวงวัง |
ข้าราชการในพระราชสำนักทั่วไป |
กัก |
กัก
เงิน
เดือน |
ทัณฑ
กรรม |
ขัง |
ให้พัก
ราชการ |
ชั้นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ก. เสนาบดีกระทรวงวัง
ข. สภาจางวางกรมมหาดเล็ก
ราชเลขานุการ
อธิบดีกรมพระคลังข้างที่ |
ก. ๑.
ข้าราชการในกระทรวงวัง
และกรมพระตำรวจ
๒.
ข้าราชการในกรมศิลปากร
๓.
ข้าราชการในกรมทหารรักษาวัง
ว.ป.ร.
ข. ๑.
มหาดเล็กในกรมมหาดเล็กหลวง
๒.
มหาดเล็กในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
๓. มหาดเล็กในกรมชาวที่
๔. มหาดเล็กในกรมมหรสพ
๕.
มหาดเล็กในกรมพระอัศวราช
ค.
ข้าราชการในกรมราชเลขานุการ
ง.
ข้าราชการในกรมพระคลังข้างที่ |
๑ เดือน |
๓ เดือน |
๗ วัน |
๑ เดือน |
ไม่ได้ |
ชั้นผู้บังคับบัญชาโดยตรง
๑. อธิบดีกรมต่างๆ ใน
กระทรวงวัง
๒. สมุหพระตำรวจ
๓. ผู้บัญชาการกรมศิลปากร
๔. อธิบดีกรมมหาดเล็ก
๕. สภากรรมการ
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
๖. อธิบดีกรมชาวที่
๗. ผู้บัญชาการกรมมหรสพ
๘. อธิบดีกรมพระอัศวราช
๙. ราชเลขานุการในพระองค์ |
๑.
ข้าราชการในกรมของตนโดยเฉพาะ
๒. ข้าราชการในกรมพระตำรวจ
๓. ข้าราชการในกรมศิลปากร
๔. มหาดเล็กในกรมมหาดเล็ก
๕. ครู อาจารย์ พนักงาน
และนักเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
๖. ก.
มหาดเล็กในกรมชาวที่
ข. มหาดเล็กในกรมสวนหลวง
๗. ก.
มหาดเล็กในกรมโขนหลวง
ข. มหาดเล็กในกรมพิณพาทย์หลวง
ค. มหาดเล็กในกรมช่าง
๘.
มหาดเล็กในกรมพระอัศวราชและยานยนต์
๙.
มหาดเล็กในกรมราชเลขานุการในพระองค์ |
๑๕ วัน |
ไม่ได้ |
๓ วัน |
ไม่ได้ |
ไม่ได้ |
|