เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระมหากรุณาสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นแทนพระอารามหลวงใน
พ.ศ. ๒๔๕๓ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้หลวงวิรัชเวชกิจ (สุ่น สุนทรเวช)
[๑]
แพทย์ประจำพระองค์มา
เป็นแพทย์ประจำโรงเรียนเป็นคนแรก
ครั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างโรงเรียนชั่วคราวเป็นเรือนไม้หลังคาจากที่สวนกระจังในเดือนมิถุนายน
พ.ศ. ๒๔๕๔ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างเรือนพยาบาลนักเรียนป่วยเจ็บไว้รวมในหมู่เรือนไม้หลังคาจากนั้นด้วย
เรือนพยาบาลในหมู่เรือนไม้หลังตาจากนั้นคงจะได้ใช้เป็นสถานที่พยาบาลนักเรียนที่ป่วยเจ็บมาจนรวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวงกับราชวิทยาลัยเข้าด้วยกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เรือนพยาบาลนั้นคงจะอยู่ในสภาพทรุดโทรมเกินกว่าจะซ่อมแซม
โรงเรียนจึงได้จัด "พระตำหนักสมเด็จ"
หรือพระตำหนักเดิมในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี
พันปีหลวง เป็นสถานที่พยาบาลนักเรียนที่ป่วยเจ็บ
 |
พระตำหนักพญาไท
ตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
 |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องปกติจอมพลเรือ จอมทัพเรือสยาม
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนี พันปีหลวง
ประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์พร้อมด้วยพระราชโอรส
ณ พระตำหนักพญาไท
เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ |
(ประทับยืนจากซ้าย) ๑. นายร้อยโท
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา
(นายพลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช
เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสีมา) ๒. นายพันเอก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่
๑
มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
๓. นายพลโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ (จอมพล
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) |
(ประทับพื้น) ๑. นายร้อยตรี
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย) ๒.
นายร้อยตรี หม่อมเจ้าพงษ์จักร จักรพงษ์ (พันเอก
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์)
๓. นายร้อยตรี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์
กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) |
"พระตำหนักสมเด็จ" นั้น
เดิมเป็นพระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ
(นพ ไกรฤกษ์) เป็นแม่กองสร้างขึ้นที่ทุ่งนาพญาไท
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑
ภายหลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ ๒
สำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถในเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาสทุ่งนาพญาไทและที่ตำหนักพญาไทนั้นเสมอ
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตใน
พ.ศ. ๒๔๕๓ แล้ว สมเด็จพระศรีพัชรินทรา
บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง
ได้ย้ายมาประทับที่พระตำหนักพญาไทนี้เป็นการถาวรตราบจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่
๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒
 |
พระตำหนักสมเด็จ
ที่สนามข้างหอประชุมด้านคณะจิตรลดา |
ภายหลังจากเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวังแล้ว
ต่อมาวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพระตำหนักพญาไท
แล้วมีพระราชกระแสให้กรมศิลปากรจัดการรื้อย้ายพระตำหนักพญาไท
มาปลูกสร้างที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเรือนไม้หลังคาจากที่ใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
พระราชทานให้เป็นหอเรียนวิทยาศาสตร์และคณะเด็กเล็ก
โดยโปรดเกล้าฯ ให้ออกนามพระตำหนักนี้ว่า
"พระตำหนักสมเด็จ"
ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ได้โปรดเกล้าฯ
ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระตำหนักเมื่อวันอังคารที่
๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๓
และในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานประกาศนียบัตรและรางวัลประจำปีแก่นักเรียนโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ในบ่ายวันเดียวกันนั้น
ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระวรกัญญาปทาน
พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี
[๒]
ทรงเหยียบพระตำหนักนี้ด้วย
โรงเรียนมหาดเล็กหลวงคงจะได้ใช้พระตำหนักพญาไทเป็นหอเรียนวิทยาศาสตร์ต่อเนื่องมาจนถึงคราวยุบรวมโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อปลายปี
พ.ศ.๒๔๖๘ ต่อกับต้นปี พ.ศ. ๒๔๖๙
จึงพบความตอนหนึ่งในรายงานการประชุมกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยครั้งที่
๑๐ เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ว่า
 |
พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน)
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๖๙ -
๒๔๗๕ |
"...การที่พระยาปรีชาฯ
จะขอยกครอบครัวเข้ามาอยู่ในโรงเรียน
และพระยาปรีชาฯ มีครอบครัวใหญ่
ได้ปรารภกันว่า
ถ้าอยู่ที่สถานพยาบาลเดี๋ยวนี้ก็จะสดวกดี
แต่มีอยู่ข้อหนึ่งซึ่งรู้สึกตะขิดตะขวงใจในการที่จะให้เป็นที่อยู่
ความรู้สึกนี้มีมาตั้งแต่ครั้งวางรูปการโรงเรียนในชั้นแรก
โดยเหตุที่สถานที่นี้เป็นพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
ที่รื้อมาจากพระราชวังพญาไท
จึงตกลงจัดเป็นสถานพยาบาล,
ห้องที่เสด็จสวรรคตจัดเป็นห้องที่บูชาไว้
กรรมการเห็นว่า
ถ้าให้ผู้บังคับการอยู่ในที่นี้
และย้ายสถานพยาบาลไปไว้ที่โรงเรือ
[๓]
จะเป็นการสดวก แต่มีปัญหาต่ำสูงอยู่บ้าง
ควรนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา..."
[๔] |