เมื่อกล่าวถึง "โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย" เชื่อว่าหลายท่านคงนึกถึงพระบรมนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระนามเมื่อแรกพระราชสมภพว่า
"มหาวชิราวุธ"
เหตุที่ในพระบรมนามาภิไธยมีคำว่า
"มหา" นี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานไปยังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสมมตอมรพันธุ์
ราชเลขานุการเมื่อแรกเสด็จเสวยสิริราชสมบัติ
วันที่ ๒๗ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ว่า
"ตามที่ได้พูดกันในที่ประชุมเมื่อวันที่ ๒๕
ในเรื่องอักษรพระนามย่อ จะให้ใช้เปน
ม.ป.ร.ต่อไปนั้น ได้มาตริตรองดูอีกต่อไปแล้ว
มาเกิดมีความคิดขลึกขลักในใจขึ้น คือประการ ๑
ตามที่ได้ใช้เซ็นชื่อมาตั้งแต่ปี ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙
- วรชาติ) ได้เคยใช้ว่า
"วชิราวุธ" ดังนี้ ได้งด
"มหา" มาเสียหลายปีแล้ว ได้พยายามจะเซ็น
"มหาวชิราวุธ" ใหม่ มือไปไม่คล่องเลย
เพราะเคยอย่างโน้นมาเสียมากแล้ว
|
 |
สามเณรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมาร
กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
กรมขุนเทพทวาราวดี |
การที่จะทิ้ง
"มหา" นั้น คือเมื่อจะบวช ทูลกระหม่อม
(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- วรชาติ)
ได้มีพระราชดำรัสว่า ให้ใช้ชื่อบวชว่า
"วชิราวุโธ" เพื่อจะมิให้เยิ่นเย้อ และได้ทรงอธิบายว่า
"มหา"
นั้นก็คือใหญ่ฤาโต
เพราะฉนั้นใครไม่ได้เปนองค์ใหญ่จึ่งไม่ใช้มหานำชื่อ
ยังได้ทรงยกตัวอย่างว่า ทูลกระหม่อมปู่
(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- วรชาติ)
มีพระนามว่า "มหามงกุฎ" พระองค์เองเปน
"มหาจุฬาลงกรณ" เพราะเหตุเช่นเดียว
ยังได้ทรงอธิบายด้วยว่า คือเท่ากับเรียกว่า
"ใหญ่มงกุฎ"
"ใหญ่จุฬาลงกรณ" และในชั้นรัชกาลที่ ๕
ก็มี "ใหญ่วชิรุณหิศ"
กับ
"โตวชิราวุธ" ดังนี้ |
 |
อักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร. พระมหามางกุฎ |
เพราะฉนั้นถ้าไม่เปนการขัดข้องมากมายอย่างไร
อยากจะใคร่คงใช้เซ็นชื่อว่า "วชิราวุธ" อย่างเดิม
และถ้าเช่นนั้น อักษรย่อก็คงต้องใช้เปน ว.ป.ร.
ขอให้ปฤกษากรมหลวงเทววงศ์
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
- วรชาติ)และท่านองค์อื่นๆ
ที่ได้มาประชุมวันนั้นด้วยกันว่าจะเห็นอย่างไร"
[๑] |
 |
อักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร. พระมหามงกุฎ
บนแผ่นคอนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย |
จากพระบรมราชาธิบายข้างต้น
ครูและนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยทุกคนจึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ติดอักษรพระบรมนามาภิไธย
ว.ป.ร.พระมหามงกุฎ บนแผ่นคอกันทุกคน
อนึ่ง พระบรมนามาภิไธย วชิราวุธ นั้น
เป็นคำสมาสระหว่างคำ "วชิระ" หรือ "วัชระ" กับคำว่า
"อาวุธ"
คำว่า "วัชระ" นั้น
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ใน "อภิธาน
ในหนังสือนารายณ์สิบปาง" ว่า
"วัชระ [ส.] - แก้ว;
"ก้อนฟ้าผ่า" อีกนัย ๑ เรียกว่า "อศะนี". เปนอาวุธของพระอินทร์."
[๒]
 |
พัดรองที่ระลึกงานคราวพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระอิสริยยศ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
กรมขุนเทพทวารวดี
เมื่อปีชวด สัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๒๕๐ (พ.ศ. ๒๔๓๑)
ลายกลางพัดเป็นตราประจำพระองค์รูปเพชรเปล่งรัศมี |
เพราะคำว่า "วัชระ" แปลว่า
"แก้ว" เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ผูกตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี
จึงโปรดเกล้าฯ
ให้ใช้รูปเพชรเป็นสัญลักษณ์แทนพระนาม
และเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ
พระองค์นั้นขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ แล้ว
ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เติม "อุณาโลม" เหนือรูปเพชรที่พระราชทานไว้เดิม
 |
ตราประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
รูปเพชรเปล่งรัศมี มีอุณาโลมอยู่เหนือ |
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงใช้ตราประจำพระองค์มีอุณาโลมอยู่เหนือมาจนเสด็จนิวัตพระนครใน
พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้ว ก็พบว่า
ทรงใช้พระลัญจกรจุลมงกุฎขนนกซึ่งพระราชทานเป็นตราตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร
มาแต่ครั้งทรงสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเมื่อ พ.ศ.
๒๔๓๙ แทนตรารูปเพชรเปล่งรัศมี
มีอุณาโลมอยู่เหนือในบางโอกาสด้วย
 |
พระลัญจกรจุลมงกุฎขนนก
สำหรับตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร
ด้านล่างเป็นแพรแถบมีอักษร ร.จ.ย.ต.ว.ห.จ.
ซึ่งย่อมาจาก เราจะบำรุงตระกูลวงษ์ให้เจริญ |
นอกจากนั้นในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงเจริญพระชันษาครบ ๒๔ พรรษา เมื่อวันที่ ๑
มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้จัดสร้างพัดรองที่ระลึกในงานดังกล่าว ๒ เล่ม
เล่มหนึ่งปักเป็นรูป เพชรมีจุลมงกุฎอยู่เหนือ
กับอีกเล่มเป็นอักษรพระนามาภิไธย ม.ว.
มีจุลมงกุฎอยู่เหนือ
 |
พัดรองที่ระลึกงานฉลองพระชันษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
ครบ ๒ รอบ มโรงนักษัตร (๒๔ พรรษา)
๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) |