นอกจากวงดนตรีสำหรับเด็กโตทั้ง ๔
วงดังได้กล่าวแล้ว
ในสมัยที่พระยาภะรตราชาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยนั้น
ท่านได้ริเริ่มจัดตั้งวงเครื่องสายสากลและวงดนตรีไทยขึ้นในโรงเรียนอีกด้วย
 |
วงเครื่องสายสากล |
|
แมนโดลิน (Mandolin) และแบบโจ (Banjo) |
วงเครื่องสายสากลนั้นมีเครื่องดนตรีหลักประกอบด้วยแมนโดลิน
(Mandolin) และแบนโจ (Banjo) กับกีตาร์ (Guitar)
ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องสายล้วนๆ
ส่วนวงดนตรีไทยนั้นเป็นวงดนตรีชนิดวงมโหรี
มีเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า
เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม
แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องครูผู้สอน
ประกอบกับเครื่องดนตรีเริ่มชำรุดลงตามกาลเวลา
ในที่สุดโรงเรียนจึงได้ยุบรวมวงเครื่องสายสากลเข้ากับวงหัสดนตรีมาจนถึงปัจจุบัน
 |
วงเครื่องสายไทยขณะบรรเลงเพลงแสนคำนึง ผลงานของ
ครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
บนเวทีนานาชาติ The 10th International Goodwill
Charity Joint Concert
ณ Kochi Prefectural Culture Hall ประเทศญี่ปุ่น |
 |
พาสน์ จักษุรักษ์ (ซ้าย) และ อชิรวิชญ์
สุพรรณเภสัช (ขวา) |
อนึ่ง
นอกจากวงปี่สก๊อตซึ่งเป็นวงดนตรีสำหรับเด็กโตแล้ว
พลตำรวจเอก อชิรวิชญ์ สุพรรณเภสัช ยังได้เล่าว่า
ท่านผู้บังคับการพระยาภพรตราชาได้สั่งซื้อปี่สก๊อตขนาดเล็กสำหรับเด็กมาให้ท่านผู้เล่าได้ฝึกหัดตั้งแต่ยังเรียนอยู่คณะเด็กเล็ก
จะมีดำริที่จะจัดตั้งวงปี่สก๊อตสำหรับเด็กเล็กหรือย่างไรไม่ทราบได้
แต่นอกจากจัวท่านผู้เล่าแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่า
ได้มีผู้ใดได้ฝึกหัดเป่าปี่เล็กนี้อีกเลย จนอีก ๓
ปีถัดมา คือ ใน
 |
นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หม่อมเจ้าแววจักร
จักรพันธ์ |
พ.ศ. ๒๕๐๐
หม่อมเจ้าแววจักร์ จักรพันธ์
นักเรียนมหาดเล็กหลวงเลขประจำตัว ๑
ได้เสด็จไปที่ห้างไนติงเกลโอลิมปิค
ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ของพระนครในเวลานั้น
ทรงพบเครื่องดนตรีประเภท
 |
ปี่เมโลดิกา (Melodica) |
เครื่องเป่าซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของโลก
ชื่อเมโลดิกา (Melodica)
ผู้จำหน่ายทูลแนะนำว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้เหมาะสำหรับเด็กในวัยเด็กเล็ก
(๘ - ๑๒ ปี)
จึงทรงซื้อปี่นี้มาหนึ่งเครื่องทรงนำมาประทานแก่ผู้บังคับการพระยาภะรตราชา
 |
วงเมโลดิกาเดินนำแถวเด็กเล็กไปถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า
ซ้ายสุดของภาพ คือ ครูสมใจ เทียมสมบูรณ์
ผู้ฝึกสอนวงเมโลดิกา |
เนื่องจากเมโลดิกานี้เป็นเครื่องดนตรีที่มีคีย์บอร์ดแบบเดียวกับแอคคอร์เดียน
(Accordian) ท่านผู้บังคับการจึงมอบหมายให้ครูสมใจ
เทียมสมบูรณ์ ครูผู้ช่วยประจำคณะเด็กเล็ก ๓
(คณะสราญรมย์)
ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการเล่นแอคคอร์เดียนเป็นผู้ฝึกสอนนักเรียน
จนสามารถจัดเป็นวงดนตรีสำหรับเดินนำแถวนักเรียนคณะเด็กเล็กได้สำเร็จ
และได้เป็นต้นแบบให้โรงเรียนประถมหลายแห่งจัดตั้งวงดนตรีชนิดนี้ขึ้นบ้าง
ในอดีตนอกจากวงเมโลดิกาจะเป็นวงดนตรีนำแถวนักเรียนคณะเด็กเล็กแล้ว
ได้ทำหน้าที่บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีรับและส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร กับเพลงมหาชัย
ในเวลาเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารต่างๆ
ของโรงเรียน
อทนวงโยธวาทิตที่รอรับเสด็จอยู่ที่หน้าหอประชุม
และในการถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ณ พระบรมราชานุสรณ์สวนลุมพินี
เมื่อถวายราชสดุดีเสร็จแล้ว
วงโยธวาทิตได้แยกไปรอรับเสด็จที่พระราชอุทยานสราญรมย์
ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานวชิราวุธานุสรณ์
วงเมโลดิกาก็ได้รับหน้าที่บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและรับส่งเสด็จที่พระบรมราชานุสรณ์ด้วย
 |
วงจุลดุริยางค์เด็กเล็กในงานสุนทรียดนตรีจากพี่สู่น้อง
ครั้งที่ ๒
ณ อาคารนวมภูมินทร์ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
(ขอบคุณภาพจากโพสท์ของคุณ Tong Bunnag) |
อนึ่ง
เนื่องจากท่านผู้บังคับการพระยาภะรตราชามีดำริให้นักดนตรีในวงเมโลดิกาได้เรียนรู้การอ่านน็จเพลง
เพื่อบรรเลงเพลงได้หลากหลาย
จึงจัดให้ครูดนตรีจากกองดุริยางค์ทหารบกไปสอนนักเรียนคณะเด็กเล็ก
ทำให้ในยุคผู้บังคับการ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
สามารถจัดตั้งวงดนตรีเด็กเล็กเพิ่มเติมอีก ๓ วง
คือ วงโยธวาทิต วงเครื่องสายสากล
และวงเครื่องสายไทยเด็กเล็ก